ธานินทร์ ใจสมุทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธานินทร์ ใจสมุทร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองชาติไทยพัฒนา

นายธานินทร์ ใจสมุทร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล 5 สมัย และ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล

ประวัติ[แก้]

ธานินทร์ ใจสมุทร เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2503 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนการไปรษณีย์และโทรคมนาคม

การทำงาน[แก้]

ธานิทร์ เริ่มต้นทำงานไปรษณีย์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในตำแหน่งนายไปรษณีย์ กระทั่งเลื่อนเป็นหัวหน้าแผนก ก่อนจะย้ายเข้าไปปฏบัติหน้าที่ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2535 นายธานินทร์ ได้เข้าร่วมต่อสู้ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในฐานะเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจภาคใต้ หลังจากนั้นจึงได้ลาออกจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสตูล สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกตั้งหลายสมัยเรื่อยมา จากนั้นจึงได้ลาออกไปสมัครเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 นายธานินทร์ ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปี เนื่องจากการใช้เทปบันทึกภาพเหตุการณ์ตากใบ หาเสียงในการเลือกตั้งและเป็นการโจมตีฝ่ายตรงกันข้าม ต่อมาหลังได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ถูก กกต. ตัดสิทธิทางการเมืองอีกครั้ง จากกรณีนโยบาย 1 ตำบล 1 ฮัจย์

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[1] โดยการชักชวนของนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคในพื้นที่ภาคใต้

ปัจจุบัน ธานินทร์ วางมือทางการเมืองแล้ว จากกรณีที่ศาลจังหวัดตรัง ได้มีการอ่านคำพิพาษาตัดสินคดีกระทำความผิด พระราชบัญญัติการเลือกตั้งท้องถิ่น มาตรา 57 เมื่อพ.ศ. 2558 โดยมีโทษจำคุก 8 เดือน ปรับแปดหมื่นบาท แต่เจ้าตัวรับสารภาพ จึงให้รอลงอาญา 1 ปี และสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยมีกำหนดสิบปี [2]

ในปี 2563 เขามีชื่อเสียงอีกครั้งเนื่องจากเป็นผู้ประสานงานให้เกิดเที่ยวบิน SL117 ซึ่งเดินทางมาจากจารุกาตามาลงที่หาดใหญ่พร้อมผู้โดยสารติดเชื้อโควิด19

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ชทพ.เปิดตัว "ธานินทร์ ใจสมุทร" อดีต ส.ส. สตูล พรรคประชาธิปัตย์
  2. ศาลตัดสิทธิทางการเมือง'สมชาย-ธานินทร์'สส.ปชป.10ปี
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕