การรถไฟมาลายา
ภาพรวม | |
---|---|
สํานักงานใหญ่ | กัวลาลัมเปอร์ |
สัญลักษณ์ | KTMB |
ที่ตั้ง | มาเลเซียตะวันตก |
วันที่ให้บริการ | 1885–ปัจจุบัน |
ข้อมูลเทคนิค | |
ช่วงกว้างราง | 1,000 mm (3 ft 3 3⁄8 in) มีเตอร์เกจ |
ระบบการจ่ายไฟฟ้า | ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว 25 kV 50 Hz |
ความยาว | 2,783 km (1,729 mi) |
ประเภท | รัฐวิสาหกิจผ่านกระทรวงการคลัง (ประเทศมาเลเซีย) |
---|---|
ก่อตั้ง | 1992 |
สำนักงานใหญ่ | Jalan Sultan Hishamuddin, 50621 กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย |
บุคลากรหลัก | Musa Sheikh Fadzir, ประธาน Mohd Rani Hisham Samsudin, ซีอีโอ |
บริการ |
|
เว็บไซต์ | www |
การรถไฟมาลายา หรือ เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู (ยาวี: كريتاڤي تانه ملايو برحد; มลายู: Keretapi Tanah Melayu; ตัวย่อ: KTMB) เป็นผู้ดำเนินการรถไฟหลักในคาบสมุทรมาเลเซีย (มาเลเซียตะวันตก) ที่มาของการรถไฟมาลายา เกิดขึ้นในยุคอาณานิคมของอังกฤษ ที่ต้องการสร้างทางรถไฟเพื่อขนส่งแร่ดีบุกจากเหมืองไปยังท่าเรือ
ก่อนหน้านี้เป็นที่รู้จักในชื่อ การรถไฟสหพันธรัฐมลายู (มลายู: Keretapi Negeri-Negeri Melayu Bersekutu) และองค์การบริหารการรถไฟมลายู (มลายู: Pentadbirn Keretapi Tanah Melayu) หลังจากนั้นองค์กรนี้เปลี่ยนชื่อเป็น "การรถไฟมาลายา" ในปี 1962 ชื่อในปัจจุบัน องค์กรดังกล่าวก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1992 แต่รัฐบาลมาเลเซียยังคงเป็นเจ้าของกิจการทั้งหมด
การรถไฟมาลายาให้บริการมากกว่า 100 สถานีใน 10 รัฐในคาบสมุทรมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ บนเครือข่ายทางรถไฟระยะทาง 1,677 กิโลเมตร (1,042 ไมล์) ขนาดความกว้างรางรถไฟเป็นมีเตอร์เกจทั้งหมด (1,000 มิลลิเมตร) ติดตั้งระบบไฟฟ้าไปแล้ว 700 กิโลเมตร (430 ไมล์) โดยในปีงบประมาณ 2018 มีผู้รับบริการ ผู้โดยสาร 39.5 ล้านคนและสินค้า 5.7 ล้านตัน[1]
โครงข่ายรถไฟ
[แก้]การรถไฟมาลายาให้บริการเส้นทางรถไฟเฉพาะมาเลเซียตะวันตกเท่านั้น ใช้รางขนาด 1,000 mm (3 ft 3 3⁄8 in) มีสายหลัก 2 สายใหญ่ ได้แก่
สายชายฝั่งทะเลตะวันตก
[แก้]สายชายฝั่งทะเลตะวันตก เริ่มต้นจากสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส (บนพรมแดนไทย-มาเลเซีย) มุ่งหน้าลงใต้สิ้นสุดที่จุดผ่านรถไฟวุดแลนส์ ประเทศสิงคโปร์ สถานีรถไฟรายทางที่สำคัญได้แก่ สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ กัวลาลัมเปอร์ กับสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง ปัจจุบันติดตั้งระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว เสร็จสิ้นแล้วและเป็นทางคู่
สายชายฝั่งทะเลตะวันออก
[แก้]สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ระบบรถไฟยังไม่ทันสมัยเหมือนฝั่งตะวันตก วิ่งจากสถานีรถไฟเกอมัซ รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ไปยังสถานีรถไฟตุมปัต รัฐกลันตัน แนวเส้นทางส่วนใหญ่จะลัดเลาะเข้าไปในป่า จึงได้ฉายาว่า ทางรถไฟสายป่ารก ส่วนรัฐตรังกานู เป็นเพียงรัฐเดียวในมาเลเซียตะวันตกที่ไม่มีรถไฟผ่าน
โครงสร้างพื้นฐาน
[แก้]รถไฟเคทีเอ็มมีระยะทางเดิมรวมทั้งหมด 1,699 กิโลเมตร แต่เนื่องจากการปิดทางรถไฟช่วงตันจงปาการ์-กรันจี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 จึงทำให้ระยะทางเหลือเพียง 1,677 กิโลเมตร ทางรถไฟส่วนใหญ่เป็นทางเดี่ยวและทางคู่
เส้นทางอื่น ๆ
[แก้]มีสายรถไฟอื่น ๆ ในประเทศมาเลเซียที่มิได้ดำเนินการโดยเคทีเอ็ม ได้แก่ การรถไฟรัฐซาบะฮ์ ในรัฐซาบะฮ์ มาเลเซียตะวันออก และรถไฟไต่เขาปีนัง บนเกาะปีนัง
เส้นทางย่อย
[แก้]นอกจากสายชายฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออกแล้ว ยังมีสายรถไฟแยกย่อยอีกมากมาย ดังนี้
ใช้งาน
[แก้]รถไฟระหว่างเมือง-รถสินค้า
[แก้]- บูกิตเมอร์ตาจัม - บัตเตอร์เวิร์ท
รถไฟชานเมือง-รถสินค้า
[แก้]- กัวลาลัมเปอร์ - พอร์ตกลัง (ส่วนหนึ่งของรถไฟชานเมืองสายพอร์ตกลัง)
- กัวลาลัมเปอร์ - บาตูเคฟส์
รถสินค้า
[แก้]- พอร์ตกลัง - ปูเลาอินดะฮ์
- เกิมปัซ - ตันจงเปอเลปัซ
- เกิมปัซ - ปาซีร์กูดัง
- บัตเตอร์เวิร์ท - นอร์ทบัตเตอร์เวิร์ทเทอร์มินัล
สายย่อยเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง
[แก้]- อีโปะฮ์ - ฟาลิม (ไม่ได้ใช้งาน)
- บาตูกาจะฮ์ - ศูนย์ซ่อมบำรุงหลักบาตูกาจะฮ์
ไม่ได้ใช้งาน
[แก้]- ปาซีร์มัส - รันเตาปันจัง - หาดใหญ่ (ส่วนหนึ่งของสายชายฝั่งทะเลตะวันออก และช่วงสุไหงโก-ลก-หาดใหญ่ ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย)
- ซูบังจายา - ศรีซูบัง (สนามบินซูบังเก่า) (อยู่ในระหว่างการฟื้นฟู)
- วุดแลนส์ - ตันจงปาการ์ (รางโดนรื้อออก)
- เซอเริมบัน - พอร์ตดิกสัน (ไม่ได้ใช้งาน)
รื้อถอนทางแล้ว
[แก้]- ฟาลิม - เตอโรโนะฮ์
- กวง - บาตูอารัง - บาตังเบอร์จุนไต
- ตัมปิน - มะละกา
- ไตปิง - พอร์ตเวลด์
- บูกิตกูดา - เจอรัม - กัวลาเซอลาโงร์
- บาเฮา - กัวลาปีละฮ์
- ตาปะฮ์โรด - เตอลุก์อินตัน - เตอลุก์อินตันวอร์ฟ
- ซาละก์เซอลาตัน - ชุมทางอัมปัง - ถนนสุลต่าน (ปัจจุบันคือรถไฟฟ้าสายอัมปัง)
- ชุมทางอัมปัง - อัมปัง (ปัจจุบันคือรถไฟฟ้าสายอัมปัง)
- จุดผ่านรถไฟวุดแลนส์ - บูกิตตีมะฮ์ - ตันจงปาการ์ (รางโดนรื้อบางส่วน)
ระบบรถไฟ
[แก้]หลังจากการควบรวมกิจการรถไฟในมาเลเซีย การรถไฟมาลายา (ในขณะนั้น) ได้สั่งซื้อรถจักรไอน้ำจากสหราชอาณาจักร เพื่อนำมาใช้งานในประเทศ ส่วนรถจักรดีเซลคันแรก คือ ชันเตอร์คลาส 15 ได้มาในปี ค.ศ. 1948 ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้รถจักรดีเซลทั้งระบบในช่วงปี ค.ศ. 1950-1970 ส่งผลให้รถจักรไอน้ำถูกปลดประจำการทั้งหมดในปี ค.ศ. 1972 เคทีเอ็มได้สั่งซื้อรถจักรดีเซลจากหลาย ๆ ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ, ญี่ปุ่น, แคนาดา, อินเดีย, เยอรมนี และจีน
รถไฟฟ้าเริ่มใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ. 1995 เพื่อใช้งานในรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม โดยใน 1 ชุดจะมี 3 คัน
รถจักร
[แก้]รุ่น | ภาพ | ผู้ผลิต | เริ่มใช้งาน | จำนวน | เลข | ประเภท | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Class 15 | Vulcan Foundry | 1948(2491) | 20 | 15101-15120 | ดีเซลไฟฟ้า | เลิกใช้งาน | |
Class16 | North British Locomotive | 1955(2498) | 6 | 16101-16106 | ดีเซลไฮดรอลิค | เลิกใช้งาน | |
Class 17 | Kisha Seizo | 1964(2507) | 15 | 17101-17105 | ดีเซลไฮดรอลิค | เลิกใช้งาน | |
Class 18 | Brush HMA | 1978(2521) | 10 | 18101-18110 | ดีเซลไฟฟ้า | เลิกใช้งาน | |
Class 19 | Hitachi | 1983(2526) | 10 | 19101-19110 | ดีเซลไฟฟ้า | ยังใช้งาน |
รุ่น | ภาพ | ผู้ผลิต | เริ่มใช้งาน | จำนวน | เลข | ประเภท | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Class 20 | Vulcan Foundry | 1957(2500) | 26 | 20101-20126 | ดีเซลไฟฟ้า | เลิกใช้งาน | |
Class 21 | Kisha Seizo | 1965-1968 (2508-2511) | 25 | 21101-21115
21201-21210 |
ดีเซลไฮดรอลิค | เลิกใช้งาน | |
Class 22 | English Electric | 1971(2514) | 40 | 22101-22140 | ดีเซลไฟฟ้า | เลิกใช้งาน | |
Class 23 | Hitachi | 1983(2526) | 15 | 23101-23115 | ดีเซลไฟฟ้า | ยังใช้งาน | |
Class 24 | Toshiba | 1987(2527) | 26 | 24101-24126 | ดีเซลไฟฟ้า | ยังใช้งาน | |
Class 25 | Electro-Motive Diesel | 1990-2002(2533-2545) | 17 | 25101-25112
25201-25205 |
ดีเซลไฟฟ้า | ยังใช้งาน | |
Class 26 | Adtranz | 2003(2546) | 20 | 26101-26120 | ดีเซลไฟฟ้า | ยังใช้งาน | |
Class 29 | Dalian Locomotive | 2005(2548) | 20 | 29101-29120 | ดีเซลไฟฟ้า | ยังใช้งาน | |
Class YDM4 | Diesel Locomotive | 1996(2539) | 33 | 6333-6897 | ดีเซลไฟฟ้า | หมดสัญญาเช่า | |
Class EL | CRRC Zhuzhou Locomotive | 2015(2558) | 2 | EL001-EL002 | ไฟฟ้า | ยังใช้งาน |
รุ่น | ภาพ | ผู้ผลิต | เริ่มใช้งาน | ประเภท | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|
Class 27 | Commonwealth Engineering | 1960(2503) | ดีเซลรางไฟฟ้า | เลิกใช้งาน | |
Class 28 | Hitachi | 1966(2509) | ดีเซลรางไฟฟ้า | เลิกใช้งาน | |
รถราง | Ganz Mavag | 1988(2531) | รถรางดีเซล | เลิกใช้งาน | |
Class 61 | CRRC Zhuzhou Locomotive | 2019(2562) | ดีเซลรางไฟฟ้าแบบชุด | ทดลองใช้งาน |
รุ่น | ภาพ | ผู้ผลิต | เริ่มใช้งาน | จำนวน | เลข | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|
Class 81 | Jenbacher | 1994(2537) | 18 | EMU 01-EMU 18 | ยังใช้งาน | |
Class 82 | Union Carriage & Wagon | 1996(2539) | 22 | EMU 41-EMU 62 | เลิกใช้งาน | |
Class 83 | Hyundai Rotem | 1996(2539) | 22 | EMU 19-EMU 40 | ยังใช้งาน | |
Class 92 | CRRC Zhuzhou Locomotive | 2012(2555) | 38 | SCS 01-SCS 38 | ยังใช้งาน |
รุ่น | ภาพ | ผู้ผลิต | เริ่มใช้งาน | จำนวน | เลข | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|
Class 91 | Hyundai Rotem | 2009(2552) | 5 | ETS 01-ETS 05 | ยังใช้งาน | |
Class 93 | CRRC Zhuzhou Locomotive | 2015(2558)
2019(2562) |
19 | ETS 201- ETS 219 | ยังใช้งาน |
โรงงานรถจักร รถไฟฟ้า รถโดยสาร และรถสินค้า
[แก้]- โรงงานกลางบาตูกาจะฮ์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงกลัง (สำหรับรถจักรเคทีเอ็ม คลาส 26 และ 29)
ศูนย์ซ่อมบำรุงรถจักร รถโดยสาร รถสินค้า
[แก้]- ศูนย์ซ่อมบำรุงกลางกัวลาลัมเปอร์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงบาตูกาจะฮ์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงบูกิตเตองะอ์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงบูกิตเมอร์ตาจัม
- ศูนย์ซ่อมบำรุงเกอมัซ
- ศูนย์ซ่อมบำรุงตุมปัต
- ศูนย์ซ่อมบำรุงพอร์ตกลัง
- ศูนย์ซ่อมบำรุงสิงคโปร์ (ปิดตัวลงวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011)
- ศูนย์ซ่อมบำรุงกัวมูซัง
- ศูนย์ซ่อมบำรุงปาดังเบอซาร์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงเกิมปัซ (กำลังก่อสร้างเพื่อใช้แทนศูนย์สิงคโปร์)
ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าระหว่างเมือง
[แก้]- ศูนย์ซ่อมบำรุงบาตูกาจะฮ์
ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า
[แก้]- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้ากลางกัวลาลัมเปอร์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าราวัง
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าเซอเริมบัน
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าพอร์ตกลัง
หน่วยงานย่อย
[แก้]รถไฟระหว่างเมืองและอีทีเอส
[แก้]รถไฟระหว่างเมือง (มลายู: KTM Antarabandar) ดำเนินการโดยการรถไฟมาลายา วิ่งระหว่างหาดใหญ่-เซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์-วุดแลนส์ ทุกขบวนใช้รถจักรดีเซลลากจูง ประเภทขบวนรถ ได้แก่ รถธรรมดา และรถด่วน โดยขบวนรถชายฝั่งตะวันตกจะมีความทันสมัย และมีเฉพาะรถด่วน ส่วนขบวนรถชายฝั่งตะวันออก ยังไม่ค่อยทันสมัยมาก และมีทั้งรถด่วนและรถธรรมดา
รถไฟชานเมือง
[แก้]รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม เปิดให้บริการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1995 เพื่อรองรับการขนส่งในกัวลาลัมเปอร์และปริมณฑล ปัจจุบันมีจำนวนรถไฟ 248 เที่ยวต่อวัน จำนวนสถานี 45 สถานี (ในทุก ๆ สถานีจะมีที่จอดรถ) ระยะทาง 175 กิโลเมตร มีสองสายหลักได้แก่ สายเซอเริมบัน (มีสายย่อยคือสายตันหยงมาลิม ความถี่ทุก ๆ 30 นาที) และสายพอร์ตกลัง ความถี่ทุก 15 นาทีในชั้วโมงเร่งด่วน ทุก 20 นาทีในชั่วโมงปกติ ทุกคันเป็นรถปรับอากาศ ใช้รถรุ่นเคทีเอ็ม คลาส 81, 82, 82 และ 92 รถไฟชานเมืองมีประโยชน์ต่อเดินทางจากชานเมืองเข้าสู่กัวลาลัมเปอร์เป็นอย่างมาก โดยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ สถิติปี ค.ศ. 2010 ผู้โดยสารทั้งหมด 50 ล้านคนต่อปี
รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม เป็นระบบรถไฟที่ทำกำไรสูงที่สุดถึง 100 ล้านริงกิต สูงกว่ารถไฟระหว่างเมืองซึ่งทำกำไรได้เพียง 70.94 ล้านริงกิต
รถไฟสินค้า
[แก้]เคทีเอ็มทีรถไฟสินค้าวิ่ง 37 เที่ยวต่อวัน ส่วนใหญ่จะพ่วงตู้คอนเทนเนอร์ สถิติปี ค.ศ. 2006 ทำรายได้ 113 ล้านริงกิต มากขึ้นกว่าปีก่อน 5.2%[2]
หน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รถไฟ
[แก้]- การขนส่งสินค้ารูปแบบอื่น
ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1988 และจดลิขสิทธิ์ในปี ค.ศ. 1991 บริษัทมีรถขนส่ง 225 คัน และรถพ่วง 1,300 คัน ใช้ขนส่งสินค้าจากท่าเรือ[3]
- ที่จอดรถ
ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1994 มีลูกจ้าง 70 คน และที่จอดรถ 16 แห่ง ปัจจุบันมีแผนจะสร้างที่จอดรถที่สถานีรถไฟเซอเริมบันและสุไหงบูโลห์[4]
การปรับให้ทันสมัย
[แก้]การพัฒนาให้ทันสมัยยังคงดำเนินการอยู่เรื่อย ๆ ในปี ค.ศ. 1989 ได้เริ่มลงมือสร้างทางคู่และติดตั้งกระแสไฟฟ้าระหว่างสถานีราวัง-เซอเริมบัน, ชุมทางบาตู-เซ็นทัล, กัวลาลัมเปอร์-พอร์ตกลัง ซึ่งต่อมาก็คือรถไฟชานเมืองเคทีเอ็มนั่นเอง[5] โครงการต่อมาก็คือ การติดตั้งการจ่ายไฟฟ้าระหว่างสถานีราวัง-อีโปะฮ์ ซึ่งเริ่มในปี ค.ศ. 2000 และเสร็จในปี ค.ศ. 2010 และมีแผนจะเปิดรถไฟระหว่างเมือง 16 ขบวนต่อวัน ความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[6]
การพัฒนา
[แก้]- ปรับปรุงทาง 327 กิโลเมตร จากปาโละฮ์-สิงคโปร์, สายหลักเซอเริมบัน (ค.ศ. 1988–1994) (70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างทางคู่ในช่วงสถานีราวัง-เซอเริมบัน (ค.ศ. 1990–1994) (62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างทางคู่ในช่วงสถานีกัวลาลัมเปอร์-พอร์ตกลัง (ค.ศ. 1991–1994) (66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- ขยายอุโมงค์รถไฟบริเวณสถานีเซอเริมบัน (ค.ศ. 1994–1995) (4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างทางรถไฟเชื่อมพอร์ตกลัง-ปูเลาอินดะฮ์ (ค.ศ. 1997–1999) (4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างสะพานรถไฟ, สะพานถนนข้ามทางรถไฟ ช่วงระหว่างสถานีราวัง-กาจัง (ค.ศ. 1991–1994) (6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างสะพานรถไฟ, สะพานถนนข้ามทางรถไฟ ช่วงระหว่างสถานีกาจัง-เซอเริมบัน (ค.ศ. 1991–1994) (16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างท่อระบายน้ำข้างทางรถไฟระหว่างสถานีนีไล-เซอเริมบัน (ค.ศ. 1994–1995) (4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างทางรถไฟเชื่อมท่าเรือในโจโฮร์บะฮ์รู (ค.ศ. 1999–2002) (121 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ (ค.ศ. 1999–2001) (14.3 ล้านริงกิต)
โครงการในอนาคต
[แก้]- สร้างทางรถไฟสายวงกลมในเขตหุบเขากลัง[7]
- สร้างทางรถไฟสายซูบังจายา - ซูไงบูโละฮ์ เพื่อใช้ขนส่งสินค้า การก่อสร้างจะแบ่งเป็นสองระยะ ระยะที่ 1 จากสถานีซูบังจายา - สนามบินซูบัง ระยะที่ 2 จากสถานีสนามบินซูบัง - ซูไงบูโละฮ์
- สถานีรถไฟปีนังเซ็นทรัล
- ส่วนต่อขยายสายปูเลาเซอบัง-มะละกา
- เพิ่มขบวนรถไฟชานเมืองอีก 20 ขบวนในปี ค.ศ. 2015 และอีก 27 ขบวนในปี ค.ศ. 2017
- เพิ่มขบวนรถไฟอีทีเอส คลาส 93 (10 ขบวน) และคลาส 94 (22 ขบวน) ในปี ค.ศ. 2015
- ส่วนต่อขยายสายอีทีเอสไปยังกัวลากังซาร์, บัตเตอร์เวิร์ท, ปาดังเบซาร์, โจโฮร์บะฮ์รู
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Statistik Trafik Keretapi Tanah Melayu Berhad (KTMB), 2018" (PDF). Kementerian Pengangkutan Malaysia. 2018. สืบค้นเมื่อ 12 Mei 2019.
{{cite web}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|dead-url=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ Nathan, Darshini M (6 October 2007). "Back on track: KTMB upgrades to be competitive". Bizweek, The Star.
- ↑ "Multimodal Freight Sdn. Bhd. Company Info". KTM berhad.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "KTMB Car Park Company Info". KTM Berhad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-16. สืบค้นเมื่อ 2015-05-10.
- ↑ "KTM projects introduction". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-26. สืบค้นเมื่อ 14 June 2007.
- ↑ "Electrified Double Track Project Between Rawang and Ipoh". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-15. สืบค้นเมื่อ 14 June 2007.
- ↑ "Commuter line for suburbs". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-21. สืบค้นเมื่อ 17 April 2008.
บรรณานุกรม
[แก้]- Shamsuddin, Haji (1985). Malayan Railway, 1885 – 1985: Locomotive Centennial. Kuala Lumpur: Hidayah. ISBN 9679800024.
- Smith, Patrick G. (2006). Malayan Railways: A Brief Introduction. Greenwich, UK: British Overseas Railways Historical Trust. ISBN 1901613011.
- Stanistreet, J. A. (1974). Keretapi Tanah Melayu: the Malayan Railway. Lingfield, Surrey, UK: Oakwood Press. ISBN 0853611327.