เฟิร์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Fern)
เฟิร์น (Pteridophyta)
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ดีโวเนียนตอนกลาง-ปัจจุบัน[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Pteridophyta
ชั้น[2]

เฟิร์น หรือ เฟิน[3] (อังกฤษ: fern) เป็นหนึ่งในกลุ่มของพืชที่มีราว ๆ 20,000 สปีชีส์ ที่ถูกจำแนกในไฟลัม Pteridophyta หรือ Filicophyta พืชกลุ่มนี้ยังเป็น Polypodiophyta หรือ Polypodiopsida ด้วย เมื่อถือตามส่วนย่อยของพืชมีท่อลำเลียง คำว่า เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) ใช้เพื่อกล่าวถึงพืชมีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดทั้งหมด ทำให้มันหมายถึง "เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น" ซึ่งสามารถสร้างความสับสนเมื่อสมาชิกของเฟิร์นในส่วน Pteridophyta บางครั้งอ้างเป็นเทอริโดไฟต์ได้ด้วยเหมือนกัน การศึกษาในเรื่องของเฟิร์นและเทอริโดไฟต์อื่น ๆ เรียกว่า วิทยาเฟิร์น (Pteridology)

แกมีโทไฟต์ของเฟิร์นที่สร้างสปอร์ชนิดเดียว มีลักษณะเป็นแผ่นแบนบางสีเขียว (มีคลอโรฟิลล์) ด้านล่างมีไรซอยด์ ส่วนใหญ่มักมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ (prothallus) ส่วนใหญ่สร้างสปอร์ชนิดเดียว เช่น เฟิร์นสไบนาง เฟิร์นชายผ้าสีดา เฟิร์นชายผ้าสีดาแกรนเด้ เป็นต้น เฟิร์นที่สร้างสปอร์สองชนิดบางชนิดอยู่ในน้ำ และที่ชื้นแฉะ ได้แก่ เฟิร์นนาคราช เฟิร์นลูกไก่ เป็นต้น

วงจรชีวิต[แก้]

เฟิร์นเป็นพืชมีท่อลำเลียงที่แตกต่างจากไลโคไฟตา (lycophyte) ตรงที่มีใบแท้จริง (megaphylls) ต่างจากพืชมีเมล็ด (พืชเมล็ดเปลือยและพืชดอก) ในส่วนระบบสืบพันธุ์ไม่มีดอกและเมล็ด เฟิร์นมีวงจรชีวิตแบบสลับที่มีระยะสปอโรไฟต์ (Sporophyte) และแกมีโทไฟต์ (Gametophyte)

ระยะสปอโรไฟต์[แก้]

ระยะสปอโรไฟต์ คือ ระยะที่เฟิร์นสร้างสปอร์ มีโครโมโซม 2 ชุด

  • ไซโกตเจริญเป็นต้นสปอโรไฟต์โดยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส อยู่ในรูปของเฟิร์นทีมี ราก ลำต้น และใบที่แท้จริง
  • ต้นสปอโรไฟต์เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เพื่อสร้างสปอร์

ระยะแกมีโทไฟต์[แก้]

ระยะแกมีโทไฟต์ คือ ระยะที่เฟิร์นสร้างเซลล์สืบพันธุ์ มีโครโมโซมชุดเดียว

  • สปอร์เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เจริญเป็นต้นเฟิร์นในระยะแกมีโทไฟต์ หรือเฟิร์นที่อยูในรูปโพรแทลลัส
  • โพรแทลลัสเกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เป็นเซลล์สืบพันธุ์ ได้แก่ ไข่ และสเปิร์ม
  • สเปิร์มเข้าผสมกับเซลล์ไข่บนโพรแทลลัส
  • หลังจากสเปิร์มเข้าผสมกับเซลล์ไข่จะได้ไซโกตที่มีโครโมโม 2 ชุด เจริญเป็นเฟิร์นในระยะสปอโรไฟต์ต่อไป

นิเวศวิทยา[แก้]

เฟิร์นที่สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมลเบิร์น
เฟิร์นต้น อาจเป็น Dicksonia antarctica ในประเทศออสเตรเลีย

เฟิร์นชนิดต่าง ๆ มีถิ่นอาศัยที่หลากหลาย เช่น อาศัยบนภูเขาสูง, พื้นที่ชุ่มชื้น, พื้นที่เปิดโล่ง, ในน้ำ, บนหินในทะเลทรายที่แห้งแล้ง, บนรอยแตกบนหิน, พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีสภาพเป็นกรด เช่น บึง และ หนองน้ำ, หรือ บนต้นไม้เขตร้อน เป็นต้น

เฟิร์นหลายชนิดพบร่วมกับเห็ดราไมคอร์ไรซา อีกหลายชนิดเติบโตได้เฉพาะในค่าความเป็นกรด-เบส (pH) ในช่วงค่าที่มีระดับที่พิเศษ เช่น Lygodium ที่พบทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือที่เติบโตในความชื้นสูง และดินเป็นกรดเข้มข้นเท่านั้น ในขณะที่ Cystopteris bulbifera พบบนหินปูนเท่านั้น

เฟิร์นสามารถแยกได้ 7 ประเภท ตามถิ่นอาศัย[4]

  • กลุ่มเฟินดิน-ทนแดด (terrestrial-sun-ferns)
  • กลุ่มเฟินดิน-ชอบร่มเงา (terrestrial-shade-ferns)
  • กลุ่มเฟินเถาเลื้อย (climbing ferns)
  • กลุ่มเฟินเกาะอาศัย หรือไม้อากาศ (epiphytes)
  • กลุ่มเฟินผา (lithophytic ferns หรือ rock ferns)
  • กลุ่มเฟินน้ำ (aquatic ferns)
  • กลุ่มเฟินภูเขา (mountain fern)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

เฟิร์นในระยะสปอโรไฟต์[แก้]

ลักษณะใบอ่อนม้วนงอของเฟิร์น

เฟิร์นจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับพืชมีเมล็ดในระยะสปอโรไฟต์อื่น โดยเฟิร์นจะประกอบไปด้วย:

  • ลำต้น: โดยมากมักเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน บางครั้งก็เป็นไหลอยู่เหนือดิน (เช่น Polypodiaceae) หรือลำต้นตั้งตรงเนื้อคล้ายไม้เหนือดิน (เช่น Cyatheaceae) ซึ่งอาจสูงได้ถึง 20 เมตรในบางชนิด (เช่น Cyathea brownii บนเกาะนอร์ฟอล์ก และ Cyathea medullaris ในประเทศนิวซีแลนด์)
  • ใบ: ส่วนสีเขียวที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ใบเฟิร์นมักถูกเรียกว่าฟรอนด์ (Frond) [5] เป็นเพราะในอดีตผู้ที่ทำการศึกษาแบ่งเป็นผู้ที่ศึกษาในเฟิร์นกับผู้ที่ศึกษาในพืชมีเมล็ด มากกว่าที่จะมาศึกษาถึงความแตกต่างทางโครงสร้าง ใบใหม่จะแผ่จากใบที่ขมวดเกลียวแน่นหรือที่เรียกว่า crozier หรือ fiddlehead การคลี่ออกของใบเป็นแบบม้วนเข้าด้านในแบบลานนาฬิกา (Circinate vernation)
  • ราก: ส่วนที่อยู่ใต้ดินทำที่ไม่ใช่ส่วนที่มีกระบวนการการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำหน้าที่ในการนำน้ำ และสารอาหาร ขิ้นมาจากดิน

เฟิร์นในระยะแกมีโตไฟต์[แก้]

แกมีโทไฟต์ (ส่วนแทลลัสสีเขียว) และสปอโรไฟต์ (ที่ยื่นสูงขึ้นมา) ของ Onoclea sensibilis

ระยะแกมีโตไฟต์ของเฟิร์นจะมีลักษณะต่างจากพืชมีเมล็ดอื่น โดยที่ระยะแกมีโตไฟต์ของเฟิร์นจะประกอบไปด้วย:

  • โพรแทลลัส (Prothallus) : ส่วนสีเขียวที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง มีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ หรือไต ทำหน้าที่สร้างแกมมีท (Gamete) 2 ชนิด คือ แอนเทอริเดียม (Antheridium) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สร้างสเปิร์มและอาร์คีโกเนียม (archeagonium) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สร้างเซลล์ไข่ (Egg)
  • ไรซอยด์ (Rhizoid) : ส่วนคล้ายรากซึ่งไม่ใช่รากที่แท้จริงของเฟิร์น ทำหน้าที่ในการนำน้ำ และสารอาหาร ขึ้นมาจากดินสู่โครงสร้างที่เรียกว่า โพรแทลลัส

คลังภาพ[แก้]


อ้างอิง[แก้]

  1. Wattieza, Stein, W. E., F. Mannolini, L. V. Hernick, E. Landling, and C. M. Berry. 2007. "Giant cladoxylopsid trees resolve the enigma of the Earth's earliest forest stumps at Gilboa", Nature (19 April 2007) 446:904–907.
  2. Smith, A.R. (2006). "A classification for extant ferns" (PDF). Taxon. 55 (3): 705–731. doi:10.1093/molbev/msm267. PMID 18056074. สืบค้นเมื่อ 2008-02-12. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542: "เฟิน : น. ชื่อไม้ใบจำพวกผักกูด (Pteridophytes), ใช้ว่า เฟิร์น ก็มี. (อ. Fern)."
  4. เฟิร์น fernsiam.com
  5. Gifford and Foster, 1989. Morphology and Evolution of Vascular Plants, 3rd Ed. W.H. Freeman and Company, New York, NY.
  • Pryer, Kathleen M., Harald Schneider, Alan R. Smith, Raymond Cranfill, Paul G. Wolf, Jeffrey S. Hunt and Sedonia D. Sipes. 2001. Horsetails and ferns are a monophyletic group and the closest living relatives to seed plants. Nature 409: 618–622 (abstract here).
  • Pryer, Kathleen M., Eric Schuettpelz, Paul G. Wolf, Harald Schneider, Alan R. Smith and Raymond Cranfill. 2004. Phylogeny and evolution of ferns (monilophytes) with a focus on the early leptosporangiate divergences. American Journal of Botany 91:1582–1598 (online abstract here เก็บถาวร 2010-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
  • Moran, Robbin C. (2004). A Natural History of Ferns. Portland, OR: Timber Press. ISBN 0-88192-667-1.
  • Lord, Thomas R. (2006). Ferns and Fern Allies of Pennsylvania. Indiana, PA: Pinelands Press. [1]
  • Smith, A. R., K. M. Pryer, E. Schuettpelz, P. Korall, H. Schneider & P. G. Wolf. 2006. A classification for extant ferns. Taxon 55 (3) :705–731.online available
  • Boyd, Peter D. A. (2002-01-02). "Pteridomania - the Victorian passion for ferns". Revised: web version. Antique Collecting 28, 6, 9–12. สืบค้นเมื่อ 2007-10-02. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]