สุพรรณิการ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Cochlospermum regium)

สุพรรณิการ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: ชบา
วงศ์: วงศ์คำแสด
สกุล: Cochlospermum
(Mart. ex Schrank) Pilg.
สปีชีส์: Cochlospermum regium
ชื่อทวินาม
Cochlospermum regium
(Mart. ex Schrank) Pilg.
ชื่อพ้อง[1]
  • Maximilianea regia Schrank
  • Wittelsbachia insignis Mart. & Zucc.
  • Cochlospermum insigne A.St.-Hil.
  • Azeredia pernambucana Arruda ex Allemão
  • Maximilianea longirostrata Barb.Rodr.
  • Amoreuxia unipora Tiegh.
  • Cochlospermum trilobum Standl.
ดอกสุพรรณิการ์แบบซ้อน
ดอกสุพรรณิการ์แบบชั้นเดียวในบราซิล

สุพรรณิการ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cochlospermum regium)[2] เป็นไม้ผลัดใบที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทุ่งหญ้าเขตร้อนแซราดู (Cerrado) ในทวีปอเมริกาใต้ (บริเวณประเทศบราซิล, โบลิเวีย, ปารากวัย)[1] และมี (ชื่อสามัญ Yellow Silk Cotton, Butter-Cup (Single), Butter-Cup (Double),Torchwood) แต่ปัจจุบันพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน สุพรรณิการ์มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ใกล้เคียงกับฝ้ายคำมาก ข้อแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งคือ ฝ้ายคำจะออกดอกเพียงชั้นเดียว มี 5 กลีบ และบานทีละดอก ในขณะที่สุพรรณิการ์จะมีทั้งชนิดที่ออกดอกชั้นเดียวและชนิดที่ออกดอกซ้อนกันเป็นกระจุกแน่น โดยบานพร้อม ๆ กัน[3]และสุพรรณิการ์ เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสระบุรี

ลักษณะทั่วไป[แก้]

เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อออกกระจายที่ปลายกิ่ง บานทีละดอก ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไข่มีขน ผลกลมเมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกมาก ราวเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมือง ของประเทศพม่าด้วย ในประเทศศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถเพื่อเป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ ในประเทศไทยนิยมปลูกสุพรรณิการ์เป็นไม้ประดับ โดยได้รับการกำหนดให้เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดนครนายก และเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก สระบุรี บุรีรัมย์ สุพรรณบุรี และอุทัยธานี[4][5][6]

สัญลักษณ์ประจำสถาบันการศึกษา[แก้]

ระเบียงภาพ[แก้]


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Kew World Checklist of Selected Plant Families
  2. ราชันย์ ภู่มา และสมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2557, หน้า 146.
  3. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. "สุพรรณิการ์ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.lib.ru.ac.th/about/supannikar.php [ม.ป.ป.]. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2558.
  4. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. "สัญลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.buriram.go.th/bru/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=3 เก็บถาวร 2014-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2551. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2558.
  5. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. "สัญลักษณ์จังหวัด." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.suphanburi.go.th/suphan/ProvinceSymbol.php[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2558.
  6. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี. "ดอกไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.uthaithani.go.th/flowerUthai.htmlhttp://www.uthaithani.go.th/flowerUthai.html[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2558.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]