เสี้ยวดอกขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสี้ยวดอกขาว
Bauhinia variegata flower.jpg
ดอกเสี้ยวขาว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
สกุล: Bauhinia
สปีชีส์: B.  variegata
ชื่อทวินาม
Bauhinia variegata
L.
เสี้ยวดอกขาว

เสี้ยวดอกขาว[1] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia variegata) เป็นพืชมีดอกชนิดหนึ่งในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชีย แพร่กระจายในจีนไปจนถึงปากีสถานและอินเดีย

พันธุ์ candida ในเมืองไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย

เป็นไม้ยืนต้น สูงถึง 10-12 เมตร ใบยาว 10-20 เซนติเมตร และกว้าง กลม เป็นสองซีกแบบใบชงโค ดอกสีชมพูอ่อนหรือสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 เซนติเมตร มี 5 กลีบ ผลยาว มีหลายเมล็ด เป็นพืชที่นิยมใช้ในการจัดสวน และใช้ดึงดูดนกฮัมมิงเบิร์ด เช่น Sapphire-spangled Emerald (Amazilia lactea), Glittering-bellied Emerald (Chlorostilbon lucidus) หรือ White-throated Hummingbird (Leucochloris albicollis) ให้เข้ามาในสวน[2] แต่ในบางบริเวณ อาจกลายเป็นพืชรุกรานได้

ยาสมุนไพร[แก้]

สารสกัดด้วยอะซีโตนและเมทานอลจากเปลือกไม้ของ Bauhinia variegata ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด [3] ตาอ่อนและรากใช้รักษาโรคเกี่ยวกับการย่อยอาหาร ใช้รักษาโรคหืดและฝี ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ รักษาโรคผิวหนัง ในอินเดีย มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบ มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ป้องกันการเกิดมะเร็งตับในหนูทดลอง[4]

อ้างอิง[แก้]

  • Baza Mendonça, Luciana & dos Anjos, Luiz (2005): Beija-flores (Aves, Trochilidae) e seus recursos florais em uma área urbana do Sul do Brasil [Hummingbirds (Aves, Trochilidae) and their flowers in an urban area of southern Brazil]. [Portuguese with English abstract] Revista Brasileira de Zoologia 22(1): 51–59. doi:10.1590/S0101-81752005000100007 PDF fulltext
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-01. สืบค้นเมื่อ 2013-06-01.
  2. Baza Mendonça & dos Anjos (2005)
  3. African Journal of Biomedical Research, Vol. 9 (2006); 53 - 56 ISSN 1119 – 5096 © Ibadan Biomedical Communications Group.
  4. ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์. สารทุติยภูมิและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพืชสกุลชงโค [ลิงก์เสีย] วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. หน้า 116 - 130

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Bauhinia variegata