มาซาตาดะ อิชิอิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาซาตาดะ อิชิอิ
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม มาซาตาดะ อิชิอิ
วันเกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (56 ปี)
สถานที่เกิด อิจิฮาระ จังหวัดชิบะ ญี่ปุ่น
ส่วนสูง 1.79 m (5 ft 10 12 in)
ตำแหน่ง กองกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ทีมชาติไทย (ผู้อำนวยการเทคนิค)
สโมสรเยาวชน
2525–2527 อิชิฮะระ มิโดริ ไฮสกูล
2528–2531 มหาวิทยาลัยจุนเต็นโด
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2532–2534 เอ็นทีที คันโต 43 (0)
2534–2540 คาชิมะ แอนต์เลอส์ 109 (3)
2541 อวิสปา ฟูกูโอกะ 1 (0)
รวม 153 (3)
จัดการทีม
2545–2555 คาชิมะ แอนต์เลอส์ (โค้ชฟิตเนส)
2555–2558 คาชิมะ แอนต์เลอส์ (ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน)
2558–2560 คาชิมะ แอนต์เลอส์
2560–2561 โอมิยะ อาร์ดิจา
2562–2564 สมุทรปราการ ซิตี้
2564–2566 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

มาซาตาดะ อิชิอิ (ญี่ปุ่น: 石井 正忠โรมาจิIshii Masatada; 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 –) เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนชาวญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นประธานพัฒนาเทคนิคของฟุตบอลทีมชาติไทย โดยก่อนหน้านั้นเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนให้กับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในไทยลีก และยังเป็นโค้ชคนแรกในประวัติศาสตร์ไทยลีก ที่พาทีมคว้าทริปเบิลแชมป์ 2 ปี ติดต่อกัน

อาชีพผู้เล่น[แก้]

อิชิอิเกิดที่อิจิฮาระเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 หลังจากที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจุนเต็นโด เขาได้ย้ายไปร่วมทีมเอ็นทีที คันโตในเจแปนซอกเกอร์ลีกเมื่อปี 2532 โดยในฤดูกาลแรกกับสโมสร เขาได้ลงเล่นอยู่หลายนัด ต่อมาเขาย้ายไปซูมิโตโมะ เมทัล (คาชิมะ แอนต์เลอส์ ในปัจจุบัน) เมื่อปี 2534 ต่อมาในปี 2535 เจแปนซอกเกอร์ลีกถูกยุบและเปลี่ยนชื่อเป็นเจลีก ต่อมาในปี 2536 เขาพาทีมจบอันดับที่ 2 ของเจลีกและคว้ารองแชมป์ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระจักรพรรดิ อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2539 เขาได้รับโอกาสลงสนามน้อยลง จึงย้ายไปอวิสปา ฟูกูโอกะในปี 2541 และเลิกเล่นฟุตบอลหลังจบปีนั้น

อาชีพผู้ฝึกสอน[แก้]

คาชิมะ แอนต์เลอส์[แก้]

หลังจากเลิกเล่นฟุตบอล อิชิอิได้เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนกายภาพของคาชิมะ แอนต์เลอส์ในปี 2542 ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2558 เขาเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมแทนที่โตนีนโย เซเรโซที่ถูกปลด อิชิอิจึงกลายเป็นผู้จัดการทีมชาวญี่ปุ่นคนแรกของสโมสรในรอบ 21 ปี นับตั้งแต่มาซาคัตสึ มิยาโมโตะในปี 2537 (ไม่นับรวมผู้จัดการทีมรักษาการอย่างทากาชิ เซกิซูกะในปี 2541 และ 2542) อิชิอิพาทีมชนะเลิศเจลีกคัพในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2558 ก่อนที่จะพาทีมชนะเลิศเจลีกในฤดูกาล 2559 จนได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2016 ฤดูกาลนั้น เขาได้รับรางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของเจลีก ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกนั้น เขาพาคาชิมะ แอนต์เลอส์เข้าชิงชนะเลิศจนกลายเป็นทีมแรกจากเอเชียที่ได้เข้าชิงชนะเลิศในรายการนี้ โดยในนัดชิงชนะเลิศนั้น เขาพาทีมแพ้แชมป์ยุโรปอย่างเรอัลมาดริดในช่วงต่อเวลาพิเศษ 4–2 หลังจากที่เสมอกันในเวลา 90 นาที 2–2 และในฤดูกาล 2560 เขาถูกปลดจากตำแหน่งผู้จัดการทีมหลังจากที่ทำผลงานได้ไม่ดี

โอมิยะ อาร์ดิจา[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 อิชิอิเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมของโอมิยะ อาร์ดิจา (เอ็นทีที คันโต ในอดีต) ซึ่งเป็นทีมที่เขาเริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพ เขาคุมทีมไม่ชนะใครเลยในช่วงเวลา 3 เดือน อีกทั้งทีมยังตกชั้นสู่เจลีก 2 อย่างไรก็ตาม เขายังได้รับโอกาสคุมทีมต่อในฤดูกาล 2561 โดยมีเป้าหมายพาทีมเลื่อนชั้นสู่เจลีก 2 อย่างไรก็ตาม ทีมจบเพียงอันดับที่ 5 หมดสิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุด เขาจึงลาออกจากตำแหน่งหลังจบฤดูกาลนั้น[1]

สมุทรปราการ ซิตี้[แก้]

วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 อิชิอิเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนของสมุทรปราการ ซิตี้ในไทยลีก[2]

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด[แก้]

อิชิอิเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564[3] และประเดิมคุมทีมนัดแรกในการแข่งขันรีโว่ ลีกคัพ 2564–65 รอบ 32 ทีมสุดท้าย เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565 ซึ่งในนัดนั้น บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะระยองได้ 2–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[4] จบฤดูกาล 2564–65 เขาคุมทีมคว้าเทรเบิลแชมป์ในประเทศ ซึ่งประกอบด้วยไทยลีก เอฟเอคัพ และลีกคัพ ได้สำเร็จ[5][6][7] และในฤดูกาลถัดมา (2565–66) เขาคุมทีมป้องกันเทรเบิลแชมป์ได้สำเร็จอีกครั้งหนึ่ง

ในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เนวิน ชิดชอบ ประกาศส่งอิชิอิไปทำหน้าที่ประธานพัฒนาเทคนิคของฟุตบอลทีมชาติไทย ตามคำขอของนวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีม โดยอิชิอิยังคงเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตามเดิม[8]

สถิติการจัดการทีม[แก้]

ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2566[9]
สโมสร วันที่เริ่มต้น วันที่สิ้นสุด บันทึก
แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ % ชนะ
คาชิมะ แอนต์เลอส์ 2558 2560 96 59 7 30 061.46
โอมิยะ อาร์ดิจา 2560 2561 48 22 9 17 045.83
สมุทรปราการ ซิตี้ 2562 2564 50 21 10 19 042.00
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2564 2566 68 52 9 7 076.47
รวม 262 154 35 73 058.78

เกียรติประวัติ[แก้]

ผู้เล่น[แก้]

คาชิมะ แอนต์เลอส์

ผู้จัดการทีม[แก้]

คาชิมะ แอนต์เลอส์
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
รางวัลส่วนตัว

อ้างอิง[แก้]

  1. Omiya Ardija(ในภาษาญี่ปุ่น)
  2. "Samut Prakan Appoint Masatada Ishii as new Head Coach". Football Tribe. 23 December 2019. สืบค้นเมื่อ 23 December 2019.
  3. ""บุรีรัมย์" ประกาศดึง "อิชิอิ" เข้านั่งกุนซือล่าแชมป์ไทยลีกสมัย 8". Thai Rath. 1 December 2021. สืบค้นเมื่อ 3 December 2021.
  4. ""มาซะ" นำลูกทีมประเดิมสวย โอปป้าพี - เจบี ส่องคนละเม็ด บุกชนะ ม้านิลมังกร 0-2 ผ่านเข้ารอบ 16 ทีม รีโว่ลีกคัพ". สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2022.
  5. "ปราสาทสายฟ้า รับแชมป์สมัยที่ 7 ปิดท้ายไทยลีกฤดูกาล 2021/22". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
  6. "ปราสาทสายฟ้า ผงาดคว้าแชมป์ช้างเอฟเอ คัพ สมัยที่ 5". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
  7. "เทรเบิ้ลแชมป์!บุรีรัมย์ ซิวถ้วยรีโว่ ลีกคัพ สมัย 6". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
  8. "ร่วมด้วยช่วยกัน! บุรีรัมย์ ไฟเขียว "มาซาทาดะ อิชิอิ" นั่งปธ.เทคนิคทีมชาติไทยช่วย "มาโน่"". สยามกีฬารายวัน. 2023-08-13. สืบค้นเมื่อ 2023-08-14.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. J.League Data Site (ในภาษาญี่ปุ่น)
  10. "ผลการประกาศรางวัล 27 สาขา FA Thailand Awards 2021/22". 24 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2022.
  11. "รางวัลยอดเยี่ยม รีโว่ ไทยลีก และ M-150 แชมเปี้ยนชิพ ประจำเดือนมกราคม 2022". Thai League. 17 February 2022. สืบค้นเมื่อ 18 February 2022.
  12. "สิทธิโชคยิง 3 ผงาดคว้ายอดเยี่ยมเดือนพฤศจิกายน". Thai League. 19 January 2023. สืบค้นเมื่อ 22 January 2023.
  13. "เมืองทองเบิ้ล 2 ! วิลเลี่ยน พ๊อพพ์ ควง สุพร คว้ายอดเยี่ยม มกราคม". Thai League. 16 February 2023. สืบค้นเมื่อ 16 February 2023.
  14. "บุรีรัมย์คว้า 3 รางวัลยอดเยี่ยมเดือนกุมภาพันธ์". Thai League. 16 March 2023. สืบค้นเมื่อ 16 March 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]