ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2564
| |||||||
วันที่ | 1 กันยายน 2564 18:00 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
สนาม | สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี, อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ | ||||||
ผู้ตัดสิน | วิวรรธน์ จำปาอ่อน | ||||||
ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2564 (หรือ ไดกิ้นไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ[1] ด้วยเหตุผลด้านการสนับสนุน) เป็นการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นการพบกันระหว่างทีมชนะเลิศไทยลีกฤดูกาลที่ผ่านมาอย่างบีจี ปทุม ยูไนเต็ดกับทีมชนะเลิศช้างเอฟเอคัพฤดูกาลที่แล้วอย่างสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด[2] บีจี ปทุมเข้าร่วมแข่งขันในรายการนี้เป็นครั้งแรก หลังจากที่พวกเขาเคยแพ้บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดในการแข่งขันชื่อเดิมอย่างฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. ในปี 2558 ในขณะที่สิงห์ เชียงรายซึ่งเป็นแชมป์เก่า เข้าร่วมแข่งขันในรายการนี้เป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกัน โดยในครั้งล่าสุด พวกเขาเอาชนะการท่าเรือ 2–0 เกมจะแข่งขันแบบไม่มีผู้ชมในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 ที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่[2][3] และจะถ่ายทอดสดทางททบ. 5 และเอไอเอสเพลย์[3]
สนามแข่งขัน
[แก้]เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถใช้สนามแข่งขันที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามที่ ศบค. ประกาศได้ ในตอนแรก มีแผนจะแข่งขันกันที่เขากระโดง สเตเดียมในจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งไม่ใช่พื้นที่ควบคุมสูงสุด แต่ต่อมาได้เปลี่ยนไปแข่งขันที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อความสะดวกในการเดินทางของทั้งสองสโมสร[2] นับเป็นครั้งแรกของรายการที่จัดการแข่งขันนอกกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ปัจจุบันสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีเป็นสนามเหย้าของเชียงใหม่ ยูไนเต็ด ในอดีต เคยเป็นสนามเหย้าของเชียงใหม่ เอฟซีและทีทีเอ็ม เชียงใหม่ นอกจากนี้ ยังเคยเป็นสนามหลักในซีเกมส์ 1995 ที่เชียงใหม่เป็นเจ้าภาพ และเคยใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลบางนัดในเอเชียนเกมส์ 1998 เดิมทีสนามแห่งนี้เคยจะใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020 แต่ได้ถูกยกเลิกไปเนื่องจากแผนการปรับปรุงสนามล่าช้า[4]
ภูมิหลัง
[แก้]สโมสร | การเข้ารอบ | การแข่งขันครั้งที่ผ่านมา (ตัวหนาคือชนะเลิศ) |
---|---|---|
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด | ชนะเลิศไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 | ไม่เคย |
สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด | ชนะเลิศช้าง เอฟเอคัพ 2563–64 | 3 (2561, 2562, 2563) |
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ชนะเลิศไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 หลังจากที่เปิดสนามลีโอสเตเดียมชนะสุโขทัย 2–0 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ทำให้บีจี ปทุม ยูไนเต็ดมีคะแนนห่างจากอันดับสอง ณ ขณะนั้นอย่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดถึง 19 คะแนน จึงทำให้บีจี ปทุม ยูไนเต็ดเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันไทยลีกฤดูกาลนั้น ทั้งที่ยังเหลือการแข่งขันอีก 6 นัด นับเป็นการชนะเลิศครั้งแรกของสโมสรและเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย[5] นอกจากนี้ยังเป็นสโมสรฟุตบอลทีมแรกของไทยที่เคยตกชั้น แล้วกลับมาชนะเลิศลีกสูงสุดได้สำเร็จอีกด้วย[6] บีจี ปทุม ยูไนเต็ดไม่เคยเข้าร่วมการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพมาก่อน แต่พวกเขาเคยเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. ในปี 2558 จากการเป็นผู้ชนะเลิศไทยเอฟเอคัพในฤดูกาลก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม พวกเขาพลาดโอกาสคว้าแชมป์รายการแรกของฤดูกาลหลังจากที่แพ้บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ผู้ชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาลที่แล้ว ด้วยผล 0–1[7]
สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ชนะเลิศช้าง เอฟเอคัพ 2563–64 ด้วยการดวลจุดโทษชนะชลบุรี 4–3 หลังจากที่เสมอกันในช่วงต่อเวลาพิเศษ 1–1 ในรอบชิงชนะเลิศที่ทรูสเตเดียม เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2564 ทำให้สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ดชนะเลิศไทยเอฟเอคัพเป็นสมัยที่ 3 จาก 4 ปีหลังสุด[8] สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ดจะเข้าร่วมการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพเป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกัน โดย 3 ครั้งก่อนหน้านี้ พวกเขาชนะบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดในปี 2561[9] แต่ก็ถูกบุรีรัมย์ล้างแค้นได้ในปี 2562[10] ก่อนที่จะชนะการท่าเรือในปี 2563[11]
ทั้งสองทีมเคยพบกันในนัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลถ้วยในประเทศมาแล้วหนึ่งครั้งในโตโยต้า ลีกคัพ 2561 ซึ่งสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ดเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 1–0 จากประตูชัยของวิลเลียม เอนรีเก นับเป็นแชมป์ไทยลีกคัพสมัยแรกของสโมสร ส่วนบีจี ปทุม ยูไนเต็ดเกือบได้ประตูตีเสมอจากลูกโทษของอาเรียล โรดรีเกซ แต่ถูกฉัตรชัย บุตรพรมเซฟได้[12]
การแข่งขัน
[แก้]รายละเอียด
[แก้]บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
|
สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด
|
ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
|
กติกาการแข่งขัน[3]
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ไทยลีก แจ้งปฏิทินการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ ฤดูกาล 2021/22". Thaileague.co.th. 14 July 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "แอ่วเหนือ! ศึกแชมป์ชนแชมป์ "บีจี-เชียงราย" บู๊ถิ่นเชียงใหม่ 1 ก.ย.นี้". สืบค้นเมื่อ 23 August 2021.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด และ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด แถลงข่าวก่อนการแข่งขัน ไดกิ้น ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนส์ คัพ 2021". สืบค้นเมื่อ 26 August 2021.
- ↑ แนะส่งมาตรฐานการสร้างสนามฟุตบอลให้ ‘สมาคมสถาปนิกสยาม’ ศึกแนวทางแก้ไขรองรับทัวร์นาเมนต์ใหญ่ในอนาคต
- ↑ ""บีจี ปทุม ยูไนเต็ด" คว้าแชมป์ไทยลีกเร็วสุดในประวัติศาสตร์". สำนักข่าวไทย. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
- ↑ "9 ข้อต้องรู้! ความเป็น "ที่สุด" ของ บีจี ปทุมฯ กับแชมป์ไทยลีกประวัติศาสตร์". สยามสปอร์ต. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
- ↑ "บุรีรัมย์อัดบีจี 1-0 คว้าแชมป์ถ้วย ก." เอ็มเอมเอมสปอร์ต. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-23. สืบค้นเมื่อ 21 August 2021.
- ↑ "เชียงราย แม่นโทษดับ ชลบุรี 5-4 ผงาดแชมป์ช้าง เอฟเอ คัพ สมัย 3". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 21 August 2021.
- ↑ "90 นาทีเจ๊า 2-2! เชียงรายดวลจุดโทษเฉือนชนะบุรีรัมย์ 6-5". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 21 August 2021.
- ↑ "ใจเด็ดเบิ้ล! บุรีรัมย์แซงดับเชียงราย 3-1". โกล.คอม. สืบค้นเมื่อ 21 August 2021.
- ↑ "เชียงรายรัวครึ่งหลัง ทุบการท่าเรือ 2-0 ผงาดแชมเปียนส์ คัพ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 21 August 2021.
- ↑ "'เชียงราย' เฉือน 'บางกอกกล๊าส' 1-0 ซิวแชมป์ลีกคัพ 2018". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 26 August 2021.