โบอิง 737 เน็กซต์เจเนอเรชัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โบอิง 737-700)
โบอิง 737 เน็กซต์เจเนอเรชัน
บทบาทอากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ
ชาติกำเนิดสหรัฐอเมริกา
บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง
บินครั้งแรก9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997
เริ่มใช้17 ธันวาคม ค.ศ. 1997 โดยเซาท์เวสต์แอร์ไลน์
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักเซาท์เวสต์แอร์ไลน์
ไรอันแอร์
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
อเมริกันแอร์ไลน์
ช่วงการผลิตค.ศ. 1996–2019 (รุ่นพลเรือน)
ค.ศ. 1996–ปัจจุบัน (รุ่นทางการทหาร)
จำนวนที่ผลิต7,108 ลำ (มกราคม ค.ศ. 2024)[1]
พัฒนามาจากโบอิง 737 คลาสสิก
แบบอื่นโบอิงบิซิเนสเจ็ต
โบอิง 737 เออีดับเบิลยูแอนด์ซี
โบอิง ซี-40 คลิปเปอร์
โบอิง พี-8 โพไซดอน
พัฒนาต่อเป็นโบอิง 737 แมกซ์

โบอิง 737 เน็กซต์เจเนอเรชัน (อังกฤษ: Boeing 737 Next Generation) หรือรู้จักกันในชื่อ โบอิง 737เอ็นจี หรือ 737 เน็กซ์เจน เป็นรุ่นของอากาศยานที่ออกแบบโดยโบอิง ซึ่งเป็นการนำเครื่องบินโบอิง 737 คลาสสิกรุ่นก่อนหน้ามาพัฒนาต่อ โครงการเริ่มต้นขึ้นในปี 1993 เป็นรุ่นที่สามของเครื่องบินตระกูลโบอิง 737 โดยมีช่วงการผลิตตั้งแต่ปี 1996 ถึงปัจจุบัน[2]

โบอิงออกแบบปีกที่ใหม่ โดยให้มีพื้นที่ปีกและความกว้างของปีกมากยิ่งขึ้น มีความจุเชื้อเพลิงมากขึ้น และให้มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด (MTOW) และพิสัยการบินที่ยาวขึ้น อีกทั้งยังได้ออกแบบโครงสร้างภายในใหม่ โบอิง 737เอ็นจีใช้เครื่องยนต์ซีเอฟเอ็ม อินเตอร์เนชันแนล ซีเอฟเอ็ม56-7 ที่ใหม่กว่า โบอิง 737 รุ่นนี้มีรุ่นย่อยทั้งหมด 4 รุ่น ได้แก่ -600/-700/-800/-900 สามารถจุผู้โดยสารได้ระหว่าง 108 ถึง 215 คน และแข่งขันกับเครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ320

รุ่น[แก้]

737-600[แก้]

เอสเอเอสเป็นลูกค้าเปิดตัวของ 737-600 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1998

737-600 ซึ่งเป็นรุ่นที่เล็กที่สุดของตระกูล 737 เน็กซต์เจเนอเรชัน เปิดตัวโดยสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม (เอสเอเอส) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1995 โดยมีการส่งมอบเครื่องบินลำแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 1998[3] มีการผลิต 737-600 ทั้งหมด 69 ลำ โดยลำสุดท้ายส่งมอบให้กับเวสต์เจ็ตในปี 2006[4] 737-600 จะเข้ามาแทนที่ 737-500 และแข่งขันกับแอร์บัส เอ318

737-700[แก้]

เซาท์เวสต์แอร์ไลน์รับมอบโบอิง 737-700 ลำแรกในปีค.ศ. 1997

โบอิง 737-700 เป็นรุ่นแรกของตระกูลเน็กซต์เจเนอเรชันที่เปิดตัว โดยเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1993 ด้วยยอดสั่งซื้อ 63 ลำ รุ่น -700 มีที่นั่ง 126 ที่นั่งในการจัดเรียงที่นั่งแบบสองชั้นหรือ 149 คนในรูปแบบหนึ่งชั้น รุ่น -700 เปิดตัวกับเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1997[5] โบอิง 737-700 จะเข้ามาแทนที่ 737-300 และแข่งขันกับแอร์บัส เอ319

737-700อีอาร์ (ER; Extended Range) เปิดตัวเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2006 โดยใช้ลำตัวของ 737-700 และปีกและฐานล้อของ 737-800 โดยทั่วไปแล้ว 737-700อีอาร์ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 126 คนในสองชั้นโดยสาร โดยมีพิสัยการบินใกล้เคียงกับแอร์บัส เอ319แอลอาร์[6]

โบอิง 737-800 ของฮาปาก-ลอยด์ ฟลุก ลูกค้าเปิดตัวของรุ่น

737-800[แก้]

เครื่องบินโบอิ้ง 737-800 เป็นรุ่นขยายของ 737-700 โดยเปิดตัวเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1994 รุ่น -800 รองรับผู้โดยสารได้ 162 คนในสองชั้นหรือ 189 คนในรูปแบบชั้นเดียวที่มีความหนาแน่นสูง ลูกค้าเปิดตัว โดยสายการบินฮาปาก-ลอยด์ ฟลุก (ทุยฟลายแอร์ไลน์ ในปัจจุบัน) ได้รับเครื่องแรกในเดือนเมษายน ค.ศ. 1998[7] รุ่น -800 จะเข้ามาแทนที่ 737-400 และ 727-200 ของสายการบินในสหรัฐ นอกจากนี้ยังเติมเต็มช่องว่างที่เหลือจากการยุติการผลิตเอ็มดี-80 และเอ็มดี-90 หลังจากการควบรวมกิจการของโบอิงกับแมคดอนเนลล์ดักลาส โบอิง 737-800 เป็นอากาศยานลำตัวแคบที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดและแข่งขันโดยตรงกับแอร์บัส เอ320[8]

737-900[แก้]

ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 อะแลสกาแอร์ไลน์รับมอบโบอิง 737-900 ลำแรก

737-900 เปิดตัวในปีค.ศ. 1997 และทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 2000 โดยยังมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุด, ความจุเชื้อเพลิง, การบรรทุกและการกำหนดค่าทางออกเดิมจากของรุ่น -800, จำกัดความจุที่นั่งไว้ที่ประมาณ 177 ใน สองชั้นและ 189 ในเลย์เอาต์หนึ่งคลาสที่มีความหนาแน่นสูง รุ่น -900 เปิดตัวกับอะแลสกาแอร์ไลน์ ในวันที่15 พฤษภาคม ค.ศ. 2001

737-900อีอาร์ (ER; Extended Range) เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดและใหญ่ที่สุดของรุ่น 737NG โดยจะมีประตูทางออกคู่เพิ่มเติมและแผงกั้นแรงดันด้านหลังแบบแบน เพื่อเพิ่มความจุที่นั่งเป็น 180 ที่นั่งในสองชั้นและผู้โดยสารสูงสุด 220 ในรูปแบบชั้นเดียว[9] รุ่น -900อีอาร์ ได้รับการผลิตขึ้นเพื่อทดแทนโบอิง 757-200 ที่เลิกผลิตไปแล้ว และเพื่อแข่งขันโดยตรงกับแอร์บัส เอ321

ข้อมูลจำเพาะ[แก้]

ข้อมูลจำเพาะของโบอิง 737 เน็กซต์เจเนอเรชัน[10]
รุ่น 737-600 737-700 737-800 737-900ER
นักบิน สองคน
การจัดเรียงที่นั่ง (2 ชั้น): 56–62  108 (8F @36" 100Y @32") 128 (8F @36" 120Y @32") 160 (12F @36" 148Y @32") 177 (12F @36" 165Y @32")
การจัดเรียงที่นั่ง (ชั้นเดียว): 56–62  123 @32" - 130 @30" 140 @32" - 148 @30" 175 @32" - 184 @30" 177 @32" - 215 @28"
ความกว้างที่นั่ง: 67  First: 22 in / 56 cm; Economy: 17 in / 43 cm
ความยาว: 34–41  102 ft 6 in / 31.24 m 110 ft 4 in / 33.63 m 129 ft 6 in / 39.47 m 138 ft 2 in / 42.11 m
ความสูง: 34–41  41 ft 3 in / 12.57 m 41 ft 2 in / 12.55 m
ปีก[11] ความยาว: 112 ฟุต 7 นิ้ว / 34.32 ม., มีปลายปีก: 117 ฟุต 5 นิ้ว / 35.79 ม.;: 34–41  พื้นที่: 124.60 m2 (1,341.2 sq ft); องศา: 25°; AR: 9.44
ลำตัวเครื่อง: 67  ความยาว: 12 ft 4 in (3.76 m); ความกว้างห้องโดยสาร: 11 ft 7 in (3.53 m); ความสูงห้องโดยสาร: 86.6 in (2.20 m)
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด: 21–24  144,500 lb / 65,544 kg 154,500 lb / 70,080 kg 174,200 lb / 79,016 kg 187,700 lb / 85,139 kg
ความจุเชื้อเพลิง: 21–24  6,875 US gal / 26,022 L 7,837 US gal / 29,666 L[a]
ความจุห้องบรรทุกสินค้า: 21–24  720 ft³ / 20.4 m3 966 ft³ / 27.4 m3 1,555 ft³ / 44.1 m3 1,826 ft³ / 51.7 m3
ระยะทางขึ้นบิน[b][11] 6,161 ft (1,878 m) 6,699 ft (2,042 m) 7,598 ft (2,316 m) 9,800 ft (3,000 m): 159 
เพดานบิน[12] 41,000 ฟุต (12,497 เมตร) ความเร็ว, 0.82 มัค (470 kn; 871 km/h)
ความเร็วขณะบิน[13] 0.785 มัค (453 kn; 838 km/h) 0.781 มัค (450 kn; 834 km/h) 0.789 มัค (455 kn; 842 km/h) 0.79 มัค (455 kn; 844 km/h)
พิสัยการบิน[14] 3,235 nmi (5,991 km; 3,723 mi)[c][13] 3,010 nmi (5,570 km; 3,460 mi)[d] 2,935 nmi (5,436 km; 3,378 mi)[e] 2,950 nmi (5,460 km; 3,390 mi)[f]
เครื่องยนต์ (× 2) CFM56-7B18/20/22: 126–133  CFM56-7B20/22/24/26/27: 134–149  CFM56-7B24/26/27: 150–161 
กำลังขับเคลื่อน (× 2) 20,000–22,000 lbf
89–98 kN: 126–133 
20,000–26,000 lbf
89–116 kN: 134–149 
24,000–27,000 lbf
110–120 kN: 150–153 
24,000–27,000 lbf
110–120 kN: 154–161 
  1. two auxiliary tanks
  2. MTOW, sea level, ISA+20 °C
  3. 110 passengers
  4. 126 passengers
  5. 162 passengers
  6. 178 passengers

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน[แก้]

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน[แก้]

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Boeing: Orders and Deliveries (updated monthly)". boeing.com. November 30, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2021. สืบค้นเมื่อ December 12, 2023.
  2. "Boeing: Historical Snapshot: 737". Boeing. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2019. สืบค้นเมื่อ December 5, 2019.
  3. 1999-05-12T00:00:00+01:00. "Putting the family to work". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  4. "Commercial". www.boeing.com.
  5. "First Boeing 737-700 Goes to Southwest Airlines". MediaRoom.
  6. "Boeing Delivers First 737-700ER to Launch Customer ANA". MediaRoom.
  7. "First Boeing Next-Generation 737-800 Goes To Hapag-Lloyd". MediaRoom.
  8. Derber, Alex (June 14, 2018). "Inside MRO: Boeing 737-800 Not Expected To Peak Until 2021". Aviation Week & Space Technology. Archived from the original on August 18, 2018.
  9. "RGL Home Page". rgl.faa.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-14. สืบค้นเมื่อ 2022-12-15.
  10. "Boeing 737 Airplane Characteristics for Airport Planning" (PDF). Boeing Commercial Airplanes. September 2013. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2015. สืบค้นเมื่อ December 8, 2016.
  11. 11.0 11.1 "Civil jet aircraft design". Elsevier. 2001. Aircraft Data File - Boeing Aircraft. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2017. สืบค้นเมื่อ December 8, 2016.
  12. "Type Certificate Data Sheet" (PDF). FAA. June 3, 2016. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2016. สืบค้นเมื่อ December 8, 2016.
  13. 13.0 13.1 "Next-Generation 737 Family Backgrounder" (PDF). Boeing. February 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2017. สืบค้นเมื่อ December 10, 2016.
  14. "Boeing revises "obsolete" performance assumptions". Flight Global. 3 August 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 5, 2016. สืบค้นเมื่อ December 8, 2016.