ข้ามไปเนื้อหา

แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-80

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-80

เอ็มดี 81 ของสวิสแอร์ ลูกค้าเปิดตัว
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทอากาศยานลำตัวแคบแบบไอพ่น
ชาติกำเนิดสหรัฐอเมริกา
บริษัทผู้ผลิตแมคดอนเนลล์ดักลาส
โบอิง (ตั้งแต่สิงหาคม 1997)
สถานะในประจำการ
จำนวนที่ผลิต1,191 ลำ
ประวัติ
สร้างเมื่อค.ศ. 1979–1999
เริ่มใช้งาน10 ตุลาคม ค.ศ. 1980 กับสวิสแอร์
เที่ยวบินแรก18 ตุลาคม ค.ศ. 1979
พัฒนาจากแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9
พัฒนาเป็นโบอิง 717
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-90

แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-80 ซีรีส์ (McDonnell Douglas MD-80 series) เป็นเครื่องบินเจ็ต แบบลำตัวแคบ มี 2 เครื่องยนต์ เครื่องบินรุ่นเอ็มดี-80 มีการปรับปรุงทำให้ความยาวของเครื่องเพิ่มขึ้นจากรุ่น แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9 สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 130–172 คน แต่โดยปกติในสายการบินราคาปกติจะรองรับผู้โดยสาร 140 คน และ 165 คนในสายการบินราคาประหยัด

เอ็มดี-80 เปิดตัวเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2523 โดยสายการบิน Swissair ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่องเป็นรุ่น เอ็มดี-90 ในปี พ.ศ. 2532 และ เอ็มดี-95 หรือ โบอิง 717 ในปี พ.ศ. 2541[1]

การออกแบบและการพัฒนา

[แก้]

เครื่องบินดักลาส พัฒนามาจากรุ่น ดีซี-9 ในทศวรรษ 1960s ซึ่งมีขนาดยาวกว่า ดีซี-8 โดย ดีซี-9 ได้มีการออกแบบใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนเครื่องยนต์ที่อยู่ด้านหลังของลำตัวเครื่องบิน และหาง โดย ดีซี-9 มีลำตัวที่แคบ โดยมีที่นั่งผู้โดยสั่งฝั่งละ 5 ที่นั่ง และรองรับผู้โดยสารได้ 80–135 คน ขึ้นอยู่กับการจัดการที่นั่งของผู้โดยสารและเครื่องบินในแต่ละเวอร์ชัน

รุ่น เอ็มดี-80 เป็นเครื่องบินรุ่นที่สองของ ดีซี-90 ชื่อเดิมของ เอ็มดี-80 มีชื่อเรียกว่า ดีซี-9-80 หรือ ดีซี-9 ซูปเปอร์ 80 และให้บริการในปี 1980 เอ็มดี-80 ที่พัฒนามาจาก เอ็มดี-90 ให้บริการในปี 1955 การพัฒนาเปลี่ยนแปลงครั้งสุดทายของตระกูล ดีซี-9 คือ เอ็มดี-95 และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น โบอิ้ง 717-200 หลังจาก แมคคอนเนลล์ดักลาส ได้ขายกิจการใน โบอิ้ง ในปี 1997

ตระกูล ดีซี-9 เป็นหนึ่งในเครื่องบินเจ็ตที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยสร้างได้มากกว่า 2,400 ลำ เป็นอันดับที่สาม รองมาจาก ตระกูล แอร์บัส เอ-320 ลำดับที่สอง ซึ่งสร้างได้มากกว่า 3,000 ลำ และ โบอิ้ง 737 เป็นอันดับที่หนึ่ง ซึ่งสร้างได้มากกว่า 5,000 ลำ

เอ็มดี-80 ซีรีส์

[แก้]

เอ็มดี-80 ซีรีส์ เป็นเครื่องบินขนาดกลาง เปิดตัวในปี 1980 เป็นเครื่องบินรุ่นที่สองของ ตระกูล ดีซี-9 ซึ่งมีเครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางตอนหลังของลำตัวเครื่องบิน มีปีกที่มีประสิทธิภาพสูง และมีหางอยู่ด้านบนในส่วนตอนหลัง (T-tail) เครื่องบินรุ่นนี้มีจุดเด่นคือ มีที่นั่งผู้โดยสารฝั่งละ 5 คน และทำให้ลำตัวเครื่องบินมีความยาวออกไปมากกว่า เอ็มดี-9-50 และสามารถ Take off ได้โดยขณะที่เครื่องบินมีน้ำหนักมาก และมีความสามารถในการบรรทุกน้ำมัน เครื่องบินรุ่นนี้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานบ่อย ๆ การเดินทางหรือการขนส่งที่สั้น โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้เพียง 130–172 คนต่อเที่ยวบิน ขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของเครื่องบินและการจัดการที่นั่งของแต่ละสายการบิน

การพัฒนาเครื่องบินรุ่น เอ็มดี-80 เริ่มพัฒนาขึ้นในปี 1970 ขณะที่ยังมีการขยายตัวและเพิ่มขึ้นของเครื่องบินรุ่น ดีซี-9 ซีรีส์ 50 Pratt & Whitney JT8D เป็นเครื่องยนต์ใหม่ที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องบินรุ่น ดีซี-9 ซีรีส์ 55 ซีรีส์ 50 และ ซีรีส์ 60 ในการออกแบบมีความพยายามที่จะติดตั้งให้กับเครื่องบินรุ่น ดีซี-9 ซีรีส์ 55 ในเดือน สิงหาคม 1977 และใช้งานได้จริงในปี 1980 จากการออกแบบในครั้งนี้ ทำให้สายการบินมีความต้องการเป็นจำนวนมาก ทำให้สายการบิน Swissair ได้ปล่อยเครื่องบิน ซีรีส์ 80 ออกมาในเดือน ตุลาคม 1977 และมีคำสั่งซื้อมากกว่า 15 ลำ

ซีรีส์ 80 มีความยาวของลำตัวซึ่งยาวกว่า ดีซี-9-50 14 ฟุต 3 นิ้ว ปีกของ ดีซี-9 มีการออกแบบใหม่ โดยเพิ่มความยาวของปีกหลักและจุดปลายสุดของปีกอีก 28% ซีรีส์ 80 เริ่มบินครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 1979

หลังจากให้บริการปี 1980 โดยเริ่มแรกมีการรับรองเครื่องบินเวอร์ชันของ ดีซี-9 แต่มีการเปลี่ยนเป็น เอ็มดี-80 ในเดือนกรกฎาคม 1983 ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงของบริษัท เวอร์ชันใหม่ของซีรีส์ 80 คือ เอ็มดี-81/82/83 และล่าสุดคือ เอ็มดี-87 อย่างไรก็ตาม ดีซี-90-81/82 และรุ่นอื่น ๆ ก็ได้รับใบรับรอง โดยเฉพาะ เอ็มดี-88 ได้มีการให้ใบรับรองชื่อว่า "เอ็มดี" และรวมถึง เอ็มดี-90 ด้วย

ข้อมูลจำเพาะ

[แก้]
MD-81 MD-82 /
MD-88
MD-83 MD-87
จำนวนนักบิน 2 คน
ความจุผู้โดยสาร
(ปกติ)
172 (ชั้นโดยสารเดียว)
155 (สองชั้นโดยสาร)
139 (ชั้นโดยสารเดียว)
130 (สองชั้นโดยสาร)
ความยาว 147 ft 8 in (45.01 m) 130 ft 4 in (39.73 m)
ความยาวปีก 107 ft 8 in (32.82 m)
พื้นที่ปีก 1,209 sq ft (112.3 m2)
Tail height 29 ft 7 in (9.02 m) 30 ft 4 in (9.25 m)
ความกว้างของลำตัว 11 ft (3.35 m)
ความจุสินค้า 1,253 คิวบิกฟุต (35.5 ลูกบาศก์เมตร) 1,103 คิวบิกฟุต (31.2 ลูกบาศก์เมตร) 937 คิวบิกฟุต (26.5 ลูกบาศก์เมตร)
น้ำหนักบรรทุกเปล่า 77,900 lb (35,300 kg) 78,000 lb (35,400 kg) 79,700 lb (36,200 kg) 73,300 lb (33,200 kg)
น้ำหนักสูงสุดเมื่อนำเครื่องขึ้น
(MTOW)
140,000 lb (63,500 kg) 149,500 lb (67,800 kg) 160,000 lb (72,600 kg) 140,000 lb (63,500 kg)
ความเร็ว มัค 0.76 (504 mph, 811 km/h)
พิสัยบิน
เมื่อบรรทุกเต็มลำ
1,570 nmi (2,910 km; 1,810 mi) 2,050 nmi (3,800 km; 2,360 mi) 2,500 nmi (4,600 km; 2,900 mi) 2,370 nmi (4,390 km; 2,730 mi)
ระยะทางสำหรับนำเครื่องขึ้นที่ MTOW
(ที่ระดับน้ำทะเล)
7,200 ft (2,200 m) 7,300 ft (2,200 m) 8,000 ft (2,400 m) 7,500 ft (2,300 m)
ความจุเชื้อเพลิงสูงสุด 5,850 แกลลอน
(22,100 ลิตร)
5,850 แกลลอน
(22,100 ลิตร)
7,000 แกลลอน
(26,000 ลิตร)
5,840 แกลลอน
(22,100 ลิตร)
เครื่องยนต์ (×2) Pratt & Whitney JT8D-200 series
แรงผลัก (×2) 18,500–21,000 lbf (82–93 kN)

ที่มา: ข้อมูลอย่างเป็นทางการของ MD-80 [2] รายงานท่าอากาศยานสำหรับ MD-80 (Airport Report) [3] ข้อมูลจำเพาะของ MD-80[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The McDonnell Douglas MD-81/82/83/88Airliners
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-14. สืบค้นเมื่อ 2016-07-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2016-07-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "Airport Compatibility". Boeing. สืบค้นเมื่อ 2015-07-10.