คีโทน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความเคมี
เคมีอินทรีย์
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน

อลิฟาติก
อโรมาติก
เฮเทอรโรไซคลิก

หมู่ฟังก์ชัน

แอลกอฮอล์
แอลดีไฮด์
สารประกอบอะลิไซคลิก
อะไมด์
อะมีน
คาร์โบไฮเดรต
กรดคาร์บอกซิลิก
เอสเตอร์
อีเทอร์
คีโตน
ลิพิด
เมอร์แคปแทน
ไนไตรล์

สเตอริโอไอโซเมอริซึม

คอมฟิกุรุเชัน
อิแนนทิโอเมอร์
จีออเมตริกไอโซเมอริซึม
คอนฟอร์เมชัน

ปฏิกิริยาหลัก

ปฏิกิริยาการแทนที่
ปฏิกิริยาการกำจัด

สเปกโทรสโกปี

อัลตราไวโอเลต-วิซิเบิลสเปกโทรสโกปี
อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี
นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรสโกปี
แมสส์สเปกโทรสโกปี

สถานีย่อยเคมีอินทรีย์ ·

หมู่คีโทน

ในสารประกอบอินทรีย์ คีโทน (อังกฤษ: Ketone, alkanone) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วย หมู่คาร์บอนิล (C=O) เชื่อมพันธะกับอะตอมคาร์บอนอื่นอีกสองอะตอมในรูปแบบ R1 (CO) R2 อะตอมที่มาแทนที่ R1 และ R2 ไม่อาจเป็นไฮโดรเจน (H) [1] เพราะเมื่อหมู่ R หมู่ใดหมู่หนึ่งเป็นไฮโดรเจน สารประกอบนี้จะเรียกว่าอัลดีไฮด์

คาร์บอนคาร์บอนิลเชื่อมพันธะกับอะตอมคาร์บอนสองอะตอมทำให้คีโทนแตกต่างจากกรดคาร์บอกซิลิก, อัลดีไฮด์, เอสเทอร์, เอไมด์, และ สารประกอบอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยออกซิเจน พันธะคู่ของหมู่คาร์บอนิลทำให้คีโทนแตกต่างจากแอลกอฮอล์และอีเธอร์

คีโทนที่พื้นฐานที่สุดคือ แอซีโทน, CH3-CO-CH3 (ชื่อตามระบบ IUPAC คือโพรพาโนน[2])

อะตอมคาร์บอนที่อยู่ติดกับหมู่คาร์บอนิลเรียกว่า -คาร์บอน ไฮโดรเจนที่เชื่อมกับอะตอมคาร์บอนนี้เรียก -ไฮโดรเจน ในการมีอยู่ของตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดกรด ทำให้คีโทนถูกเรียกเป็นคีโต-อีนอล ทอร์โมเมอริซึม คีโทนทำปฏิกิริยาเคมีกับเบสรุนแรงให้อีโนเลตเหมือนกัน ไดคีโทนเป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยคีโทนสองหมู่

อ้างอิง[แก้]

  1. International Union of Pure and Applied Chemistry. "ketones" Compendium of Chemical Terminology Internet edition.
  2. The position of the carbonyl group is usually denoted by a number; in propanone there can only be one position. While propanone or propan-2-one is how the molecule should be named according to systematic nomenclature, the name "acetone" is retained in official IUPAC nomenclature