ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินแบบเริ่มต้นทีหลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินแบบเริ่มต้นทีหลัง
(Late-onset hypogonadism)
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ

ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินแบบเริ่มต้นทีหลัง หรือ ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินในผู้สูงอายุ (อังกฤษ: Late-onset hypogonadism) เป็นภาวะที่มีน้อยในชายสูงอายุ ระบุโดยค่าวัดเทสโทสเตอโรนต่ำและอาการทางคลินิกอื่น ๆ โดยมากเป็นอาการทางเพศ รวมทั้งอารมณ์เพศลดลง การแข็งตัวเองขององคชาตลดลง และองคชาตไม่แข็งตัวเมื่อมีเพศสัมพันธ์ (erectile dysfunction)[1] ภาวะเป็นผลของการค่อย ๆ ลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลง มีหลักฐานว่าในทั้งชายหญิง เทสโทสเตอโรนจะลดลงเรื่อย ๆ ประมาณ 1% ต่อปี [2][3]

ศัพท์[แก้]

ภาวะนี้เกี่ยวข้องกับสภาพของต่อมไร้ท่อและการมีอายุมากขึ้น[1] แม้สื่อนิยมอังกฤษจะใช้คำว่า "male menopause" (วัยทองชาย) และ "andropause" แต่นี่อาจทำให้เข้าใจผิดพลาด เพราะแสดงนัยว่า ฮอร์โมนลดลงอย่างเฉียบพลันเหมือนกับวัยหมดระดู (menopause) ในหญิง[4]

อาการ การวินิจฉัย และการตรวจคัด[แก้]

โดยปี 2016 สมาคมเพื่อการศึกษาชายสูงอายุสากล (International Society for the Study of the Aging Male) นิยาม late-onset hypogonadism ว่าเป็น กลุ่มอาการในผู้สูงอายุเนื่องกับความพร่องเทสโทสเตอโรน ที่รวมลักษณะต่าง ๆ ของทั้งต่อมบ่งเพศทำงานพร่องปฐมภูมิ (primary hypogonadism) และต่อมบ่งเพศทำงานพร่องทุติยภูมิ งานศึกษาชายสูงอายุชาวยุโรป ซึ่งเป็นงานศึกษาตามรุ่นตามแผนปี 2016 ในชายประมาณ 3,000 คน[5] นิยามว่า มีอาการทางเพศอย่างน้อย 3 อย่าง (เช่น มีความต้องการทางเพศลดลง องคชาตแข็งตัวเองน้อยลง และองคชาตไม่แข็งตัวเมื่อมีเพศสัมพันธ์) และมีระดับเทสโทสเตอโรนน้อยกว่า 11 nmol/l (3.2 ng/ml)[1] ชายบางคนจะมีอาการแต่มีระดับเทสโทสเตอโรนปกติ ชายบางคนมีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำแต่ไม่มีอาการ โดยเหตุผลยังไม่ชัดเจน[1][6]

ชายวัยปลาย 40 และต้น 50 บางคนจะมีความซึมเศร้า ความต้องการทางเพศลดลง องคชาตไม่แข็งตัวเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และอาการทางกายและทางอารมณ์อื่น ๆ เช่น หงุดหงิด เสียกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายได้น้อยลง น้ำหนักขึ้น ไม่มีแรง นอนมีปัญหา และสมาธิไม่ดี อาการหลายอย่างเหล่านี้อาจมาจาก "วิกฤติการณ์ชีวิตวัยกลางคน" (midlife crisis) หรืออาจมาจากวิถีการดำเนินชีวิตระยะยาวที่ไม่ถูกสุขภาพ (เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุราเกินควร การทานมากเกิน การไม่ออกกำลังกาย) และอาจแก้ไขได้ดีกว่าโดยเปลี่ยนการดำเนินชีวิต การบำบัดทางจิต หรือยาแก้ซึมเศร้า[4]

ถ้าบุคคลมีอาการของภาวะนี้ แพทย์ก็จะวัดระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดตอนเช้าอย่างน้อย 2 วัน การวัดค่าแบบ immunoassays[A] สามัญกว่า แต่แมสสเปกโตรเมทรี (mass spectrometry)[B] จะแม่นยำกว่าและเริ่มมีใช้อย่างกว้างขวาง[6] ความหมายของค่าวัดจะต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายที่มีผลต่อการผลิตเทสโทสเตอโรนและการขนส่งในเลือด ระดับเข้มข้นขึ้นของโปรตีนที่จับกับเทสโทสเตอโรนในเลือด สามารถเกิดเมื่ออายุมากขึ้น มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินหรือโรคตับ หรือทานยากันชัก (ซึ่งยังใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและโรคเส้นประสาทต่าง ๆ) ส่วนความเข้มข้นลดลงของโปรตีนสามารถเกิดเมื่ออ้วน มีโรคเบาหวาน มีภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ มีโรคตับ หรือใช้ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์หรือแอนโดนเจนหรือ progestin[6] ถ้าเทสโทสเตอโรนมีระดับต่ำ โรคต่าง ๆ ที่เป็นเหตุของต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิก็จะต้องกันออกด้วย[6][7][8]

เนื่องจากความยากบวกค่าใช้จ่ายในการทดสอบ และผลที่คลุมเครือ จึงไม่แนะนำการตรวจคัดกรอง[1][6] แม้โดยปี 2016 จะมีการทดสอบทางคลินิกที่ได้พัฒนาขึ้น แต่ความจำเพาะก็ต่ำเกินกว่าที่จะมีประโยชน์ทางคลินิก[1]

เหตุ[แก้]

ระดับเทสโทสเตอโรนมีหลักฐานว่า จะลดตามอายุประมาณ 1% ต่อปีทั้งในชายหญิงหลังจากถึงวัยหนึ่ง ๆ แต่เหตุก็ยังไม่ชัดเจน[1][2][3][9][10]

การรักษา[แก้]

ผลกระทบของระดับเทสโทสเตอโรนที่ลดลง เป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันอยู่ ดังนั้น การรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนแทนก็จึงเป็นเรื่องโต้แย้ง องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) กล่าวในปี 2015 ว่า ทั้งผลดีและความปลอดภัยของเทสโทสเตอโรนเพื่อรักษาชายสูงอายุที่มีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำยังไม่ชัดเจน[11] การรักษาด้วยการให้เทสโทสเตอโรนแทน ควรเริ่มต่อเมื่อได้ยืนยันระดับที่ต่ำแล้ว[7] แต่แม้ในสหรัฐอเมริกา การยืนยันก่อนให้ยาก็ไม่ได้ทำในกรณีคนไข้ 25% โดยปี 2015[8] ในระหว่างการรักษา แพทย์ควรสอดส่องระดับเทสโทสเตอโรน[7]

ผลไม่พึงประสงค์[แก้]

ผลไม่พึงประสงค์ของการให้เทสโทสเตอโรน รวมปัญหาทางหัวใจหลอดเลือด (รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจล้มเหลว) และแม้ถึงความตาย โดยเฉพาะสำหรับชายอายุเกิน 65 ปี และชายที่มีปัญหาหัวใจมาก่อน[1] ปัญหาหัวใจหลอดเลือดเนื่องกับการรักษาด้วยเทสโทสเตอโรนทำให้ FDA ในปี 2015 เริ่มบังคับให้มีป้ายแสดงคำเตือนของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจล้มเหลว[1][11] อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่มีก็ยังผสมผเส ดังนั้น องค์กรยายุโรป (EMA) สมาคมแพทย์วิทยาต่อมไร้ท่ออเมริกัน และวิทยาลัยวิทยาต่อมไร้ท่ออเมริกัน ล้วนกล่าวว่า ไม่มีหลักฐานชัดเจนที่แสดงว่า การรักษาด้วยเทสโทสเตอโรนเพิ่มหรือลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ[1]

ผลไม่พึงประสงค์ที่สำคัญอื่น ๆ รวมทั้งเร่งการเติบโตของมะเร็งต่อมลูกหมากที่มีมาก่อน ฮีมาโทคริตสูงขึ้น ซึ่งอาจต้องเจาะหลอดเลือดดำเพื่อรักษา และอาการหยุดหายใจเมื่อนอน (sleep apnea) ที่แย่ลง[1]

ผลไม่พึงประสงค์ที่ไม่ค่อยรุนแรงอาจรวมการเกิดสิว ผิวมัน ผมร่วงผมบาง ซึ่งอาจป้องกันด้วยยากลุ่ม 5-alpha reductase inhibitor ซึ่งปกติใช้รักษาการเจริญเกินของต่อมลูกหมาก รวมยาเช่น finasteride และ dutasteride[12]

เทสโทสเตอโรนที่ให้อาจเป็นเหตุยับยั้งการสร้างสเปิร์ม ทำให้เป็นหมันที่ฟื้นคืนได้ในบางกรณี[1]

ผล[แก้]

โดยปี 2015 หลักฐานยังไม่ชัดเจนว่า การรักษาด้วยเทสโทสเตอโรนสามารถช่วยองคชาตไม่แข็งตัวเมื่อมีเพศสัมพันธ์ (erectile dysfunction) ในชายที่มีภาวะนี้หรือไม่[8] แต่ก็ดูเหมือนว่า มีประโยชน์แก่ชายผู้มีภาวะนี้ที่อ่อนแอ (frailty)[8]

วิทยาการระบาด[แก้]

การระบาดของภาวะไม่ชัดเจน ชาย 20% ในวัยช่วง 60 ปี และ 30% ในช่วง 70 ปี มีเทสโทสเตอโรนต่ำ[2][8] ชาย 5% ระหว่างอายุ 70-79 ปี มีทั้งเทสโทสเตอโรนต่ำและมีอาการ และดังนั้น จึงวินิจฉัยว่ามีภาวะนี้[2] องค์กรบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า เป็นภาวะที่มีน้อย[4]

ประวัติ[แก้]

มีรายงานถึงผลของระดับเทสโทสเตอโรนต่ำ ในปี 1944 นักวิชาการคู่หนึ่งระบุอาการที่พวกเขาตั้งชื่อว่า "male climacteric" ซึ่งรวมความต้องการและสมรรถภาพทางเพศที่ลดลง ความกระวนกระวาย ความซึมเศร้า ความจำแย่ลง ไม่มีสมาธิ ล้า นอนไม่หลับ อาการหน้าแดง/ตัวแดง (hot flush) และเหงื่อออก นักวิชาการได้พบว่า คนไข้มีเทสโทสเตอโรนในระดับต่ำกว่าปกติ และอาการจะลดลงอย่างสำคัญเมื่อให้เทสโทสเตอโรน[13][14]

สังคมและวัฒนธรรม[แก้]

ความสนใจของบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับ "andropause" ได้เชื้อเพลิงจากหนังสือ Male Menopause ของผู้ไม่ใช่นักวิชาการในปี 1998[15] ตามความเห็นของผู้เขียน andropause เป็นการเปลี่ยนชีวิตของชายวัยกลางคน ซึ่งมีแง่มุมด้านฮอร์โมน ร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคม เพศ กับจิตวิญญาณ ผู้เขียนอ้างว่า นี่เกิดขึ้นในชายทุกคน อาจเกิดเร็วแม้ในระหว่าง 45-50 ปี แต่สำหรับชายบางคน จะเกิดอย่างน่าทึ่งหลังจากวัย 70 ปี โดยประสบการณ์ของหญิงและของชายจะคล้ายกันเป็นบางส่วน[16][17] การใช้คำว่า andropause โดยหมายเป็นคำขนานกับคำว่า menopause เป็นเรื่องที่แพทย์ไม่ยอมรับ[4][18]

บทความบรรณาธิการปี 2015 ของ วารสารสังเคมเวชศาสตร์ผู้สูงอายุอเมริกัน กล่าวว่า อาศัยความไม่ชัดเจนของเกณฑ์วินิจฉัย ความกดดันและการโฆษณาจากบริษัทยาที่ขายเทสโทสเตอโรนและ human growth hormone และการขายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ขายยากระตุ้นต่าง ๆ ให้ชายสูงอายุ ภาวะนี้ได้การวินิจฉัยและรักษามากเกินไป[19] และยังให้ข้อสังเกตว่า ในสหรัฐ "การขายเทสโทสเตอโรนเพิ่มจาก 324 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4,300 ล้านบาท) ในปี 2002 เป็น 2,000 ล้านเหรียญ (62,141 ล้านบาท) ในปี 2012 และจำนวนขนาดยาที่ใช้รักษาเพิ่มจาก 100 ล้านชุดในปี 2007 ไปเป็น 500 ล้านชุดในปี 2012 โดยยังไม่รวมแหล่งอื่น ๆ รวมทั้งเภสัชปรุงยา (compounding pharmacies) อินเทอร์เน็ต และที่ขายให้คนไข้โดยตรง" [19]

ทิศทางงานวิจัย[แก้]

โดยปี 2016 ยังจำเป็นต้องมีงานวิจัยเพิ่มเพื่อหาวิธีวัดเทสโทสเตอโรนที่ดีกว่า เพื่อให้ความเข้าใจที่ดีกว่าเกี่ยวกับค่าวัดที่พบในบุคคลต่าง ๆ ให้เข้าใจว่าทำไมบางคนที่มีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำแต่ไม่มีอาการ และทำไมบางคนที่มีระดับปกติจึงมีอาการ[1] งานวิจัยยังจำเป็นต้องเข้าใจเพิ่มเรื่องความเสี่ยงต่อหัวใจหลอดเลือดเมื่อรักษาโดยให้เทสโทสเตอโรนแทนสำหรับชายสูงอายุ[1] มีความสัมพันธ์ระหว่างภาวะนี้กับความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ จึงมีงานศึกษาทางคลินิกขนาดเล็กเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์สำหรับชายที่มีภาวะนี้ แต่โดยปี 2009 ผลก็ยังสรุปไม่ได้[20]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. immunoassay เป็นการทดสอบทางเคมีชีวภาพ เพื่อวัดการมีหรือระดับความเข้มข้นของแมโครโมเลกุลหรือโมเลกุลเล็กในสารละลาย โดยปกติใช้สารภูมิต้านทาน หรือบางครั้งใช้แอนติเจน
  2. Mass spectrometry (MS) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ที่แตกสารเคมีออกเป็นไอออน แล้วจัดประเภทไอออนตามอัตราส่วนมวลต่อประจุไฟฟ้า (mass-to-charge ratio) กล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ เป็นการวัดมวลต่าง ๆ ในสารตัวอย่าง ซึ่งใช้ในสาขาต่าง ๆ และใช้กับทั้งตัวอย่างบริสุทธิ์หรือตัวอย่างผสม

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 Dimopoulou, C; และคณะ (2016-02). "EMAS position statement: Testosterone replacement therapy in the aging male". Maturitas. 84: 94–9. doi:10.1016/j.maturitas.2015.11.003. PMID 26614257. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Samaras, N; Papadopoulou, MA; Samaras, D; Ongaro, F (2014). "Off-label use of hormones as an antiaging strategy: a review". Clinical interventions in aging. 9: 1175–86. doi:10.2147/CIA.S48918. PMC 4116364. PMID 25092967.
  3. 3.0 3.1 Shifren, JL (2015-10). "Testosterone for midlife women: the hormone of desire?". Menopause (New York, N.Y.). 22 (10): 1147–9. doi:10.1097/gme.0000000000000540. PMID 26397145. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Male Menopause". www.nhs.uk. NHS Choices. 2016-04-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-07.
  5. Wu, FC; EMAS Study Group; และคณะ (2010-07-08). "Identification of late-onset hypogonadism in middle-aged and elderly men". The New England Journal of Medicine. 363 (2): 123–35. doi:10.1056/NEJMoa0911101. PMID 20554979.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Basaria, S (2014-04-05). "Male hypogonadism". Lancet (London, England). 383 (9924): 1250–63. doi:10.1016/s0140-6736(13)61126-5. PMID 24119423.
  7. 7.0 7.1 7.2 Bhasin, S; Cunningham, GR; Hayes, FJ; Matsumoto, AM; Snyder, PJ; Swerdloff, RS; Montori, VM; Task Force, Endocrine Society (2010-06). "Testosterone therapy in men with androgen deficiency syndromes: an Endocrine Society clinical practice guideline". The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism. 95 (6): 2536–59. doi:10.1210/jc.2009-2354. PMID 20525905. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Seftel, AD; Kathrins, M; Niederberger, C (2015-08). "Critical Update of the 2010 Endocrine Society Clinical Practice Guidelines for Male Hypogonadism: A Systematic Analysis". Mayo Clinic Proceedings. 90 (8): 1104–15. doi:10.1016/j.mayocp.2015.06.002. PMID 26205546. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. "Could you have low testosterone?: MedlinePlus Medical Encyclopedia". NIH: Medline Plus. 2014-09-18.
  10. Huhtaniemi, I (2014). "Late-onset hypogonadism: current concepts and controversies of pathogenesis, diagnosis and treatment". Asian journal of andrology. 16 (2): 192–202. doi:10.4103/1008-682x.122336. PMC 3955328. PMID 24407185.
  11. 11.0 11.1 Staff (2015-03-03). "FDA Cautions About Using Testosterone Products for Low Testosterone Due to Aging; Requires Labeling Change to Inform of Possible Increased Risk of Heart Attack And Stroke". FDA. สืบค้นเมื่อ 2015-03-05.. NEJM Perspective piece: Nguyen, CP; และคณะ (2015-08-20). "Testosterone and "Age-Related Hypogonadism"--FDA Concerns". The New England Journal of Medicine. 373 (8): 689–91. doi:10.1056/nejmp1506632. PMID 26287846.. Popular summary: Tavernise, Sabrina (2015-03-03). "Drugs Using Testosterone Will Label Heart Risks". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
  12. Grech, Anthony; Breck, John; Heidelbaugh, Joel (2016-10-07). "Adverse effects of testosterone replacement therapy: an update on the evidence and controversy". Ther Adv Drug Saf. 5 (5): 190–200. doi:10.1177/2042098614548680. PMC 4212439. PMID 25360240 – โดยทาง PubMed Central.
  13. Gabrielsen, JS; Najari, BB; Alukal, JP; Eisenberg, ML (2016-05). "Trends in Testosterone Prescription and Public Health Concerns". The Urologic clinics of North America. 43 (2): 261–71. doi:10.1016/j.ucl.2016.01.010. PMID 27132584. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  14. Heller, CG; Myers, GB (1944-10-21). "The male climacteric, its symptomatology, diagnosis and treatment". Journal of the American Medical Association. 126 (8): 472. doi:10.1001/jama.1944.02850430006003.
  15. Diamond, Jed (1998). Male Menopause. Naperville, Ill: Sourcebooks. ISBN 1-57071-397-9.
  16. Diamond, Jed (2000). Surviving Male Menopause. A Guide for Women and Men. Naperville, Ill: Sourcebooks. ISBN 1-57071-433-9.
  17. Tan, Robert S. (2001). The andropause mystery: unraveling truths about the male menopause. Houston, Tex: AMRED Pub. ISBN 0-9707061-0-3.
  18. Gorski, David (2013-11-25). ""Low T": The triumph of marketing over science « Science-Based Medicine". Science-Based Medicine.
  19. 19.0 19.1 Perls, T; Handelsman, DJ (2015-04). "Disease mongering of age-associated declines in testosterone and growth hormone levels". Journal of the American Geriatrics Society. 63 (4): 809–11. doi:10.1111/jgs.13391. PMID 25809947. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  20. Cherrier, MM (2009). "Testosterone effects on cognition in health and disease". Frontiers of hormone research. 37: 150–62. doi:10.1159/000176051. PMID 19011295.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]