ดัชนีมวลกาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดัชนีมวลกาย (อังกฤษ: body mass index, ย่อ: BMI) เป็นค่าที่ได้จากน้ำหนักและส่วนสูงของปัจเจกบุคคล BMI นิยามว่า มวลกายหน่วยเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง และแสดงในหน่วย กก./ม.2 เป็นสากล

BMT พยายามวัดปริมาณมวลเนื้อเยื่อ (กล้ามเนื้อ ไขมันและกระดูก) ในตัวบุคคล แล้วจำแนกบุคคลนั้นว่าน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ น้ำหนักตามเกณฑ์ น้ำหนักเกินเกณฑ์หรืออ้วนขึ้นอยู่กับค่าที่ได้ พิสัย BMI ที่ยอมรับกันทั่วไปมีดังนี้ น้อยกว่า 18.5 คือ ต่ำกว่าเกณฑ์, 18.5 ถึง 25 คือ ตามเกณฑ์, 25 ถึง 30 คือ เกินเกณฑ์ และเกิน 30 คือ อ้วน อย่างไรก็ดี มีข้อโต้เถียงอยู่บ้างว่าเส้นแบ่งระหว่างหมวดบนมาตรา BMI ควรอยู่ที่ใด[1]

ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) คือ ค่าที่สามารถวัดได้จากน้ำหนักของแต่ละบุคคลต่อความสูง ซึ่งค่าดัชนีมวลกายนี้มักถูกนำไปใช้เป็นตัวชี้วัดของปริมาณไขมันที่มีอยู่ในร่างกายของคนเรา (Body fat) ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้เป็นผู้กำหนดค่ามาตรฐาน BMI สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เพื่อใช้เป็นดัชนีชี้วัดปริมาณไขมันในร่างกายเพื่อระบุถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนหรือผอมจนเกินไปโดยกำหนดไว้ดังนี้

             ค่าต่ำกว่า 18.5                            น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

             ค่าอยู่ระหว่าง 18.5 – 24.9            สมส่วน หรือ สุขภาพดี

             ค่าอยู่ระหว่าง 25.0 – 29.9            น้ำหนักเกิน

             ค่าสูงกว่า 30                        โรคอ้วน

ซึ่งการหาค่า BMI ที่ดีควรไปทำอย่างละเอียดที่โรงพยาบาล เพื่อที่คุณหมอจะได้ประเมิณสัดส่วนได้อย่างถูกต้อง แต่ปัจจุบันนี้ก็มีโปรแกรมคำนวณค่าดัชนีมวลกายคุณสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพียงแค่กรอกค่าน้ำหนักและส่วนสูงลงบนเครื่องคิดเลขดัชนีมวลกายในอินเทอร์เน็ตเพียงเท่านี้ท่านก็สามารถทราบค่า BMI ได้โดยวิธีการคำนวณหาค่าBMI สามารถทำได้ดังนี้

สูตร: น้ำหนัก (kg) / ส่วนสูง (m)2 หรือ สูตร: [น้ำหนัก (lb) / ส่วนสูง (in)]2 x 703

ทั้งนี้การใช้เครื่องคิดเลขดัชนีมวลกาย เก็บถาวร 2019-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนในการประเมินค่า BMI อาจจะทำให้ท่านทราบถึงค่าไขมันในร่างกายได้ในปริมาณคร่าวๆ เพียงเท่านั้น แต่ก็เพียงพอต่อการประเมินสภาวะ ณ ปัจจุบันของตัวคุณเองได้ ซึ่งค่า BMI นี้ไม่เพียงเหมาะต่อผู้ที่สนใจสุขภาพและชื่นชอบการออกกำลังกายเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้ได้กับบุคคลทั่วๆ ไป รวมถึงผู้หญิงหลังคลอดบุตรที่ต้องการควบคุมน้ำหนักก็สามารถใช้ประโยชน์จากค่านี้ได้เช่นเดียวกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. Dr Malcolm Kendrick (April 12, 2015). "Why being 'overweight' means you live longer: The way scientists twist the facts". http://www.independent.co.uk. สืบค้นเมื่อ 12 April 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]