เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าวงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่
เจ้าวงศ์ตวัน.jpg
เจ้าราชบุตร จังหวัดเชียงใหม่
ดำรงพระยศ30 มีนาคม พ.ศ. 2466 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2515
ก่อนหน้าเจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่)
ถัดไปยกเลิกบรรดาศักดิ์
ชายาเจ้าจันทร ณ เชียงใหม่
เจ้าภัทรา ณ เชียงใหม่
หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่
ราชบุตรเจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี
เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน
เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาเจ้าแก้วนวรัฐ
พระมารดาเจ้าจามรีวงศ์
ประสูติ7 พฤษภาคม พ.ศ. 2429
นครเชียงใหม่ ประเทศสยาม
พิราลัย25 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 (86 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ลายพระอภิไธย

พลตรี เจ้าราชบุตร หรือนามเดิมว่า เจ้าวงษ์ตะวัน (บางแห่งสะกดว่า วงษ์ตวัน หรือ วงศ์ตวัน)เป็นเจ้าราชบุตรองค์สุดท้ายแห่งจังหวัดเชียงใหม่[1] อดีตผู้บังคับการพิเศษกรมผสมที่ 7 ราชองครักษ์พิเศษ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และเป็นราชโอรสในพลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 กับแม่เจ้าจามรีวงศ์

ประวัติ[แก้]

เจ้าวงษ์ตะวัน ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ อัฐศก จุลศักราช 1248 ตรงกับวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2429 เป็นเจ้าราชโอรสในเจ้าแก้วนวรัฐกับแม่เจ้าจามรีวงศ์ เป็นอนุชาของเจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) และเจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่

เมื่อเยาว์วัย เจ้าราชบุตรวงศ์ตวันฯ มีชื่อเรียกว่า "เจ้าหมู" เมื่อปี พ.ศ. 2440 ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 จึงเดินทางไปศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร และในปี พ.ศ. 2445 ได้กลับมาบรรพชาสามเณร ที่วัดหอธรรม จังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร)

เจ้าวงศ์ตวัน เคยติดตามเจ้าแก้วนวรัฐ เพื่อกระทำพิธีทูลเกล้าฯ ถวายต้นไม้เงินและต้นไม้ทอง ตามประเพณีอันเป็นราชบรรณาการแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะนั้นเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ซึ่งเป็นเจ้าอา ได้นำเจ้าราชบุตรเฝ้าถวายตัวตามในคราวเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน จนกระทั่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามว่า "วงศ์ตวัน" ต่อมาได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เมื่อคราวเสด็จประพาสมณฑลพายัพ พ.ศ. 2448 ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าราชบุตร เป็นหุ้มแพรมหาดเล็ก และพระราชทานเสมาทองคำลงยา มีพระปรมาภิไธยย่อ ว.ป.ร. พร้อมด้วยเข็มข้าหลวงเดิม

เจ้าราชบุตร มีความสามารถเล่นเครื่องดนตรีหลายชนิด แต่ที่มีความถนัดเป็นพิเศษคือ ขิม และชอบกีฬากลางแจ้งหลายชนิด เช่น เทนนิส ฟุตบอล และมวย[2]

การทำงาน[แก้]

เมื่อเจ้าราชบุตร กลับภูมิลำเนาที่เชียงใหม่ ได้เข้ารับราชการฝ่ายมหาดไทย ในตำแหน่งเสมียนกองมหาดไทยมณฑลพายัพ เมื่อปี พ.ศ. 2452 ได้รับพระราชทานเงินเดือน 25 บาท ในปีต่อมาได้เลือนตำแหน่งเป็นเลขานุการเค้าสนามหลวง ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 ได้รับเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นรองเสนามหาดไทย และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าราชสัมพันธวงศ์"

เจ้าราชสัมพันธวงศ์ได้รับพระราชทานยศเป็น "นายหมวดเอกเสือป่า" ในปี พ.ศ. 2468 ต่อมาวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2466 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าราชุบตร จังหวัดเชียงใหม่"[1] และในปี พ.ศ. 2473 ได้เลื่อนตำแหน่งทางราชการเป็นเสนามหาดไทยเชียงใหม่ ต่อมาวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ได้รับพระราชทานยศเป็นนายพันตรีพิเศษในกรมทหารราบ[3] จนกระทั่งได้รับพระราชทานยศชั้นสูงสุดเป็นพลตรี และเป็นราชองครักษ์พิเศษ

เจ้าราชบุตร ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2489[4]

ครอบครัว[แก้]

เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) สมรสกับเจ้าจันทร (สกุลเดิม ณ เชียงใหม่) มีพระธิดา 1 องค์ ต่อมาสมรสกับเจ้าภัทรา (สกุลเดิม ณ ลำพูน) มีพระธิดา 2 องค์ และต่อมาได้สมรสกับหม่อมศรีนวล (สกุลเดิม นันทขว้าง)

เจ้าจันทร ณ เชียงใหม่

เจ้าจันทร ณ เชียงใหม่ ธิดาเจ้าสิงห์คำ และเจ้ารสสุคนธ์ ณ เชียงใหม่[5] เป็นพระนัดดาของเจ้าอุบลวรรณา ณ เชียงใหม่[6] มีธิดาหนึ่งองค์ คือ เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี (27 มีนาคม พ.ศ. 2450 — 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) - สมรสกับปฐม คชเสนี อดีตอธิบดีกรมทางหลวง มีบุตรธิดาสองคน ได้แก่

  1. ปวิตร คชเสนี - สมรสกับลักษณา คชเสนี (มีธิดา 3 คน)
  2. คุณหญิงวิจันทรา บุนนาค - สมรสกับอภิไตร บุนนาค (มีบุตร 1 ธิดา 1)
เจ้าภัทรา ณ เชียงใหม่

เจ้าภัทรา ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม ณ ลำพูน) ธิดาเจ้าน้อยจิตตะ และเจ้าหล้า ณ ลำพูน ซึ่งเจ้ามารดาเป็นพระธิดาของเจ้าอินทยงยศโชติ[7] มีธิดาสององค์คือ

  1. คุณหญิง เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน (พ.ศ. 2469 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534) - สมรสกับเจ้าพัฒนา ณ ลำพูน ราชโอรสในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10 (มีโอรสธิดา 4)
    1. คุณหญิง เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน - ไม่สมรส
    2. เจ้าพัฒนพงศ์ ณ ลำพูน
    3. เจ้าวงศ์จักร ณ ลำพูน
    4. เจ้าศักดิ์ขจร ณ ลำพูน
  2. คุณหญิง ดร.เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล (24 มกราคม พ.ศ. 2471 - 1 มกราคม พ.ศ. 2558) - สมรสกับสุชาต สุจริตกุล อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เป็นบุตรในมหาเสวกโท พระยาสุจริตธำรงค์ (อู๊ด สุจริตกุล) อธิบดีกรมวัง มีบุตรธิดา 3 คน
    1. รองศาสตราจารย์ ตวัน สุจริตกุล - สมรสกับหม่อมราชวงศ์นุช ศุขสวัสดิ์ ธิดาในหม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ (พระโอรสในพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช) กับหม่อมมาลินี (สกุลเดิม สีบุญเรือง)
    2. พันธุ์ระวี สุจริตกุล
    3. รพี สุจริตกุล - ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย (มหาชน) , ประธานกรรมการบริหารบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด
หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่

หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ ท.จ.[8] (สกุลเดิม นันทขว้าง) แต่ไม่มีบุตรธิดา

การสืบราชสกุล ณ เชียงใหม่[แก้]

พลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) มีฐานะเป็นผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า สืบตระกูลจากพระบิดาคือ พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2471

การถวายความจงรักภักดี[แก้]

เจ้าราชบุตร ได้รับการศึกษาที่กรุงเทพมหานคร และได้รับพระราชทานการศึกษาอบรมจากราชสำนัก ตั้งแต่รัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เจ้าราชบุตร ก็ยังแสดงออกถึงความจงรักภักดี และมีความใกล้ชิดกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 9[2]

  • เจ้าราชบุตร ได้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมกระบวนม้าและช้างไปรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในการเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ โดยไปรับเสด็จตั้งแต่เมืองแพร่ ถึงเมืองเชียงใหม่
  • เจ้าราชบุตร เป็นแม่กองสร้างโรงช้าง ในปี พ.ศ. 2469 เพื่อประกอบพิธีสมโภชช้าง "พระเศวตคชเดชน์ดิลก" และเป็นผู้ทรงช้างองค์ที่ 7 ในจำนวน 13 องค์ เพื่อนำเสด็จโดยช้างพระที่นั่ง
พระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่
  • เจ้าราชบุตร ได้เข้าร่วมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระอนุชา ในคราวเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก
  • เจ้าราชบุตร ได้เข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง เพื่อถวายความจงรักภักดีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเมืองประเทศราชในอดีต [9]
  • เจ้าราชบุตร ได้เฝ้าถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อย่างสม่ำเสมอ ทั้งที่สนามบินเชียงใหม่และที่อื่น ๆ และในปี พ.ศ. 2501 ได้เฝ้ารับเสด็จในพระราชวโรกาสเสด็จเยี่ยมราษฎร และเป็นประธานจัดบายศรีสู่ขวัญ ในพิธีทูลพระขวัญถวายที่หน้าโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ในคราวนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จเสวยพระกระยาหารที่คุ้มวงศ์ตวันด้วย[2] นอกจากนั้นได้มีโอกาสเฝ้ารับเสด็จ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์

การได้รับพระมหากรุณาธิคุณ[แก้]

ครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จไปเสวยพระกระยาหารที่คุ้มวงศ์ตวัน ของเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) และฉายพระรูปร่วมกับเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายเป็นการส่วนพระองค์[10] ในครานั้นเองทรงรับสั่งว่า “ถึงแม้บ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรให้สามัคคีกัน ให้รวมกลุ่มกันรักษาความดีไว้ ในฐานะทายาทผู้ครองนคร”

เมื่อครั้งที่เจ้าราชบุตร ได้เดินทางไปผ่าตัดต้อกระจกที่กรุงเทพมหานคร ได้รับพระราชทานกระเช้าดอกไม้ และคราวที่ไปผ่าตัดช่องท้อง ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเอาพระราชหฤทัยใส่ และโปรดเกล้าฯ ให้นายแพทย์เอาใจใส่เป็นพิเศษ รวมทั้งให้พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร นำกระเช้าดอกไม้พระราชทานไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล

ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2514 ในพระราชวโรกาสเสด็จแปรพระราชฐาน มาประทับที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี นำแจกันดอกไม้พระราชทานแก่เจ้าราชบุตร นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณครั้งสุดท้ายในขณะที่เจ้าราชบุตรยังมีชีวิตอยู่

การส่งเสริมความเข้าใจและสร้างเกียรติคุณของประเทศ[แก้]

เจ้าราชบุตรได้มีบทบาทสำคัญในการต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ โดยเป็นผู้ออกทุนทรัพย์ส่วนตัว[2] เช่น

กิจกรรมสาธารณประโยชน์[แก้]

เจ้าราชบุตร ได้สนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การบริจาตสมทบมูลนิธิเพื่อการศึกษา การบริจาคทรัพย์เพื่อบำรุงศาสนา การสนับสนุนการแพทย์ สมทบทุนกิจกรรมกาชาด ฯลฯ โดยมีอนุสรณ์ที่แสดงถึงกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของเจ้าราชบุตร ได้แก่ กุฏิวัดเจดีย์หลวงที่สร้างอุทิศถวายเจ้าแก้วนวรัฐ และแม่เจ้าจามรีวงศ์ รวมถึงอาคารเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) ซึ่งเป็นตึกโคโบลท์ ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

บั้นปลายชีวิต[แก้]

เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) ถึงแก่พิราลัยด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 เวลา 12.10 น. ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สิริรวมอายุ 86 ปี หลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพียง 4 วัน โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานโกศไม้สิบสองเป็นเกียรติยศ ในการออกพระเมรุ อันเป็นโกศพระราชทานสำหรับเจ้าประเทศราช[11]

งานพิธีพระราชทานเพลิงศพ[แก้]

ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทล้นเกล้าฯ ทั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพวงมาลาไปตั้งที่ศพ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์และพระราชทานเลื่อนโกศประกอบเกียรติยศศพจากโกศแปดเหลี่ยมเป็นโกศไม้สิบสองประกอบศพ พร้อมทั้งบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานในการออกเมรุ ณ คุ้มวงศ์ตวัน จังหวัดเชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญโกศศพขึ้นประดิษฐานบนราชรถ เคลื่อนกระบวนอิสริยยศ เชิญศพจากคุ้มวงศ์ตวันไปสู่วัดสวนดอก ตั้งกระบวนอิสริยยศเชิญโกศศพเวียนเมรุ แล้วเชิญโกศศพขึ้นตั้งบนจิตกาธาน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ พลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) ที่เมรุวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2516 และได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินไปยังพลับพลาวัดสวนดอก ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์บังสุกุล แล้วเสด็จขึ้นเมรุพระราชทานเพลิง[2]

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบหษา, พระราชทานบรรดาศักดิ์, เล่ม 40, ตอน ง, 30 มีนาคม 2466, หน้า 4,619
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 61. [ม.ป.ท.] : โรงพิม์ชวนพิมพ์, 2516. 260 หน้า. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) ณ เมรุวัดสวนดอก จังหวัด เชียงใหม่ วันที่ 12 มกราคม พุทธศักราช 2516]
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม 49, ตอน ง, 28 สิงหาคม 2475, หน้า 1781
  4. "สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 2" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-08-21.
  5. รายพระนามเหล่าพระประยูรญาติ และเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ. ชั้น ๕ (ชั้นหลาน) สาย ๑ - สายพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ. เรียกดูเมื่อ 16 มีนาคม 2556
  6. แม่เจ้าจามรี
  7. ล้านนาคอนเนอร์. ตามรอย "เจ้าแม่หล้า" ไปบ้านไร่ดง[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 17 มีนาคม 2556
  8. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2009-10-03.
  10. หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 61 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) ณ เมรุวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
  11. ถึงแก่พิราลัย[ลิงก์เสีย]
  12. ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๐) เล่ม 84 ตอนที่ 128ง ฉบับพิเศษ วันที่ 30 ธันวาคม 2510
  13. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอนที่ 3 วันที่ 4 มกราคม 2506
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 79, ตอน 46, 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2505, หน้า 1249
  15. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ภริยาข้าราชการ
  16. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณ์ เล่ม 74 ตอนที่ 47 วันที่ 21 พฤษาคม 2500
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา, เล่ม 45, 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471, หน้า 2364
  18. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ง, ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑, หน้า ๓๖๐๗

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) ถัดไป
เจ้าแก้วนวรัฐ
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
2leftarrow.png Seal of Prince Chiang Mai.jpg
ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
(พ.ศ. 2482 — พ.ศ. 2515)
2rightarrow.png เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่