อาการเหมือนมีก้อนในลำคอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาการเหมือนมีก้อนในลำคอ
(Globus pharyngis)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10F45.8
ICD-9300.11
DiseasesDB31559
MeSHD003291

การเหมือนมีก้อนในลำคอ (อังกฤษ: Globus pharyngis) เป็นความรู้สึกที่คงยืนเหมือนกับมีเสมหะ เม็ดยา หรืออะไรอื่น ๆ มาติดอยู่ในคอแต่จริง ๆ ไม่มี บุคคลอาจกลืนได้เป็นปกติ จึงไม่ใช่เป็นการกลืนลำบากที่แท้จริง แต่ก็ยังอาจน่ารำคาญ และก็อาจจะรู้สึกเจ็บหน้าอกอย่างน้อย ๆ หรืออย่างรุนแรง และเหมือนมีอะไรกระทบกันดังกรอบแกรบที่คอเมื่อกลืน

เหตุ[แก้]

ก้อนในลำคอที่รู้สึกบ่อยครั้งเป็นการบวม/การอักเสบในส่วนของคอ เช่น กล่องเสียง หรือคอหอยส่วนกล่องเสียง ซึ่งอาจมีเหตุจากการกระตุกของกล้ามเนื้อ cricopharyngeal ในกล่องเสียง, กรดไหลย้อน, โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง, หรือความต่าง ๆ กันที่มีเหตุจากการบาดเจ็บหรือไม่ก็จากความต่าง ๆ กันของโครงสร้างในลำคอ ในบางกรณี เหตุอาจจะไม่ชัดเจน และอาจเป็นปัญหาทางจิตใจ เช่น โรคโซมาโตฟอร์มและโรควิตกกังวล ถ้าเป็นอาการหนึ่งของความซึมเศร้า มันก็จะตอบสนองต่อการรักษาอาการซึมเศร้า[1][2]

แพทย์จะต้องวินิจฉัยแยกโรคจาก Eagle syndrome ซึ่งเป็นโรคที่ใช้คำบอกอาการของคนไข้ว่ามีอะไรติดอยู่ที่คอเป็นวิธีการวินิจฉัย Eagle syndrome เป็นภาวะที่มีน้อยซึ่งมีอาการเจ็บฉับพลันคล้ายที่เกิดทางประสาท ตรงกระดูกขากรรไกรและข้อ ที่หลังคอ และที่โคนลิ้น ซึ่งจุดชนวนโดยการกลืน การขยับขากรรไกร หรือการเอี้ยวคอ[3] โดยมีเหตุจากระดูกสไตลอยด์ โพรเซสที่ขมับซึ่งยาวหรือมีรูปร่างผิดปกติ หรือเกิดจากการมีแคลเซียมเกาะที่เอ็น Stylohyoid แล้วกวนการทำงานของโครงสร้างและอวัยวะที่อยู่ใกล้ ๆ กัน

งานศึกษาเร็ว ๆ นี้แสดงอย่างค่อนข้างชัดเจนว่า โรคกรดไหลย้อนเป็นเหตุสำคัญของอาการเหมือนมีก้อนในลำคอ แม้นี่ก็ยังเป็นเรื่องไม่ยุติ[4]

เหตุที่สามัญน้อยกว่าของอาการนี้ บวกกับเหมือนกับมีอะไรกระทบกันดังกรอบแกรบและเจ็บพอสมควรเมื่อกลืน อาจเกิดจากกระดูกอ่อนไทรอยด์กระทบกับอวัยวะในคอหอยที่ผิดปกติ เช่นกระดูก superior horn/cornu สีกับกระดูก thyroid lamina[5][6] ดังนั้น การผ่าตัดแต่งกระดูกอ่อนที่เป็นตัวการก็จะแก้ปัญหานี้ได้[7] แต่เหตุนี้มักจะวินิจฉัยผิดพลาด แม้จะอาศัยการตรวจง่าย ๆ คือการคลำตรวจในแนวซ้ายขวาซึ่งจะทำให้รู้สึกเหมือนกับมีอะไรมากระทบกันดังกรอบแกรบ และจะเจ็บเมื่อกลืน โดยมีเหตุจากการบาดเจ็บที่คอซึ่งเกิดขึ้นก่อน[7] อย่างไรก็ดี ภาพเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็มอาร์ไออย่างละเอียดอาจจำเป็นเพื่อให้รู้ถึงความผิดปกติทางกายวิภาคของกล่องเสียงอย่างชัดเจน การเลื่อนกระดูก thyroid ala ด้านที่มีปัญหาไปทางด้านหน้าเมื่อกลืน อาจช่วยแก้ปัญหา

วินิจฉัย[แก้]

การรักษา[แก้]

ถ้าไม่พบเหตุ แพทย์ก็จะแนะนำให้คนไข้ไม่ต้องเป็นห่วงอะไร แต่ถ้าพบเหตุ แพทย์ก็จะรักษาเหตุตามอาการหรือถ้าเป็นไปได้ รักษาให้หาย

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Cybulska, EM (1997). "Globus Hystericus—A Somatic Symptom of Depression? The Role of Electroconvulsive Therapy and Antidepressants". Psychosomatic Medicine. 59: 67–69.
  2. Cybulska, EM (สิงหาคม 1998). "Globus Hystericus or Depressivus?". Hospital Medicine. 59 (8): 640–1.
  3. Waldman, SD (6 มิถุนายน 2013). Atlas of Uncommon Pain Syndromes. Elsevier Health Sciences. pp. 35–36. ISBN 1-4557-0999-9.
  4. Lee, Bong Eun. "Globus pharyngeus: A review of its etiology, diagnosis and treatment". World Journal of Gastroenterology. 18 (20): 2462. doi:10.3748/wjg.v18.i20.2462.
  5. Nadig, S K; S Uppal; G W Back; A P Coatesworth; A R H Grace (2006). "Foreign Body Sensation in the Throat Due to Displacement of the Superior Cornu of the Thyroid Cartilage: Two Cases and a Literature Review". The Journal of Laryngology & Otology. 120 (07): 608–609. doi:10.1017/S0022215106001125. PMID 16681864. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2008.
  6. Lin, Doris; Nancy Fischbein; David Eisele (2005). "Odynophagia Secondary to Variant Thyroid Cartilage Anatomy". Dysphagia. 20 (3): 232–234. doi:10.1007/s00455-005-0012-2. PMID 16362512.
  7. 7.0 7.1 Smith, Marshall E.; Gerald S. Berke; Steven D. Gray; Heather Dove; Ric Harnsberger (1 กันยายน 2001). "Clicking in the Throat: Cinematic Fiction or Surgical Fact?". Arch Otolaryngol Head Neck Surg. 127 (9): 1129–1131. doi:10.1001/archotol.127.9.1129. PMID 11556866. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]