สมเด็จพระราชินีอานาแห่งโรมาเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อานา
สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย
(อ้างสิทธิเพียงในนาม)
ดำรงพระยศ10 มิถุนายน ค.ศ. 1948 - 1 สิงหาคม ค.ศ. 2016
ก่อนหน้าเฮเลน
(พระราชชนนี)
ถัดไปราดู
(พระสวามี)
พระราชสมภพ18 กันยายน ค.ศ. 1923(1923-09-18)
กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
สวรรคต1 สิงหาคม ค.ศ. 2016(2016-08-01) (92 ปี)
เมืองมอร์ช, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ฝังพระศพ13 สิงหาคม ค.ศ. 2016
วิหารหลวงคูร์ตา เด อาร์เจช ประเทศโรมาเนีย
คู่อภิเษกมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย
พระราชบุตรมาร์กาเรตาแห่งโรมาเนีย
เจ้าหญิงเอเลนาแห่งโรมาเนีย
อีรีนา วอล์กเกอร์
เจ้าหญิงโซเฟียแห่งโรมาเนีย
เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย
พระนามเต็ม
อานา แอนโตแนต ฟรองซัวส์ ชาร์ล็อตต์ ซีต้า มาร์เกอริต
ราชวงศ์
พระราชบิดาเจ้าชายเรอเนแห่งบูร์บง-ปาร์มา
พระราชมารดาเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งเดนมาร์ก

สมเด็จพระราชินีอานาแห่งโรมาเนีย หรือ เจ้าหญิงอานา แอนโตแนต ฟรองซัวส์ ชาร์ล็อตต์ ซีต้า มาร์เกอริต แห่งบูร์บง-ปาร์มา (18 กันยายน ค.ศ. 1923 - 1 สิงหาคม ค.ศ. 2016) เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้ามีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนียมีไฮที่ 1 อดีตพระมหากษัตริย์โรมาเนีย พระองค์เป็นพระนัดดาใน เจ้าชายวัลเดมาร์

ช่วงต้นของชีวิต[แก้]

เจ้าหญิงอานาแห่งบูร์บง-ปาร์มา

เจ้าหญิงอานาเสด็จพระราชสมภพที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นธิดาของพระองค์ชายเรอเน กับ เสด็จพระองค์เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชารวมกัน 3 พระองค์ ในวัยเยาว์พระองค์ใช้ชีวิตอยู่ในฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1939 พระองค์และครอบครัวได้เสด็จลี้ภัยนาซีเยอรมนีไปยังสเปนและเดินทางไปยังโปรตุเกส จากนั้นได้เสด็จไปยังสหรัฐอเมริกา

พระนางได้เข้าศึกษาที่ Parson's School of Design ในนิวยอร์กตั้งแต่ ค.ศ. 2940 ถึง ค.ศ. 1943 พระนางทรงได้ทำงานเป็นฝ่ายขายที่ห้างสรรพสินค้าแมซี่ ในปี ค.ศ. 1943 พระนางสมัครใจที่จะทำงานบริการในกองทัพฝรั่งเศส พระนางได้ทำงานการพยาบาลที่ประเทศแอลจีเรีย โมร็อกโก อิตาลี ลักเซมเบิร์ก และเยอรมนี และทรงขับขี่รถพยาบาลด้วยพระองค์เอง ทรงได้รับเหรียญตรา Croix de guerre จากฝรั่งเศส

การหมั้น[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 เจ้าหญิงอานาทรงพบกับคิงมีไฮที่ 1ที่ได้เสด็จมาร่วมงานอภิเษกสมรสที่ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ของเจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งอังกฤษ กับ เจ้าชายฟิลิปแห่งกรีซซึ่งเป็นพระญาติและเพื่อนเล่นในวัยเยาว์ของพระเจ้าไมเคิล แต่ในความเป็นจริงแล้วเจ้าหญิงอานาพร้อมด้วยพระมารดา พระเชษฐาและพระอนุชาทรงเคยได้รับเชิญเสด็จไปยังบูคาเรสต์โดยสมเด็จพระชนนีเฮเลนแห่งโรมาเนีย แต่แผนการไม่ได้ดำเนิน ในช่วงนั้นพระเจ้ามีไฮทรงได้พบเห็นเจ้าหญิงผ่านทางสื่อข่าวต่างๆ แอนน์ไม่ได้คาดว่าพระบิดาพระมารดาจะเสด็จตามไปยังลอนดอนด้วยดังนั้นเจ้าหญิงจึงหลีกเลี่ยงการพบปะพระเจ้ามีไฮอย่างเป็นทางการ พระนางได้วางแผนเดินทางคนเดียวไปที่ สถานีรถไฟปารีสโดยปลอมพระองค์ปะปนไปกับฝูงชน โดยส่วนตัวได้สังเกตกษัตริย์จากผู้ติดตามที่คอยติดตามพระองค์ไปยังรถไฟของพระองค์

มีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย

แต่ในช่วงสุดท้าย เจ้าหญิงอานาได้ถูกเชิญชวนโดยแกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์กพระญาติของพระองค์ให้เสด็จมายังลอนดอน ที่ซึ่งแกรนด์ดยุคเป็นผู้จัดการงานเลี้ยง พระนางได้หยุดที่ Claridge's เพื่อถวายความเคารพพระบิดาพระมารดา และทรงพบว่าพระองค์ได้แนะนำตัวให้กับพระเจ้ามีไฮอย่างไม่คาดฝัน ความขวยอายทำให้พระนางสับสน พระนางได้คำนับแทนที่ความจริงแล้วต้องถอนสายบัว และได้ออกมาด้วยท่าทีที่ขวยอายอย่างมาก ด้วยความมีเสน่ห์ พระเจ้ามีไฮได้ทรงมองเจ้าหญิงอานาอีกครั้งในงานเลี้ยงคืนวันอภิเษกสมรสที่สถานทูตลักเซมเบิร์ก พระองค์ได้ไว้วางพระทัยพระนางมาก โดยจะทรงเล่าข้อกังวลใจเกี่ยวกับพวกคอมมิวนิสต์ที่ได้ยึดครองโรมาเนียและทรงห่วงความปลอดภัยของพระมารดา ให้ฟังและทรงมักเรียกพระนางว่า แนน (Nan) หลังจากงานเลี้ยงจบแล้ว เจ้าหญิงได้รับเชิญให้ติดตามพระเจ้ามีไฮและพระราชชนนีเฮเลนเมื่อครั้งพระเจ้ามีไฮได้ทรงขับเครื่องบิน Beechcraft ไปรับสมเด็จน้าดัสเซสแห่งเอออสตากลับมายังโลซาน 16 วันหลังจากทรงพบปะกัน พระราชาธิบดีมีไฮได้ทรงขอเจ้าหญิงอานาสมรสในขณะที่ทั้งคู่ได้ทรงขับรถในโลซาน พระนางตอบตกลงและกลังจากนั้นไม่กี่วันพระเจ้าไมเคิลทรงได้มอบแหวนหมั้นแก่พระนาง

สมเด็จพระเจ้ามีไฮได้เสด็จกลับโรมาเนีย พระองค์ได้บอกนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับงานอภิเษกสมรสแต่ได้รับประกาศว่าไม่เหมาะสม และในเวลาไม่นานภายในรัฐบาลได้ประกาศว่าพระเจ้ามีไฮทรงสละราชสมบัติ แต่แท้จริงแล้วทรงถูกปลดออกจากพระอิศริยยศโดยคอมมิวนิสต์ในวันที่ 30 ธันวาคม และพระองค์ถูกเนรเทศออกจากประเทศ แต่ทั้งสองพระองค์ได้นัดพบกันที่ ดาวอส, สวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1948

การอภิเษกสมรส[แก้]

ด้วยความเป็นราชวงศ์บูร์บงทำให้พระนางอานาผูกพันกับกฎคานอนในนิกายโรมันคาทอลิก ที่ต้องให้พระนางยอมรับการงดเว้นสมรสกับบุคคลนอกนิกาย (พระเจ้ามีไฮทรงเป็นอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์) แต่ละครั้งการงดเว้นนั้นเป็นเรื่องปกติ ถ้าคู่สมรสที่ไม่ใช่ใช่โรมันคาทอลิกต้องสัญญาให้บุตรที่เกิดมาจากคู่สมรสเข้ารีตแบบโรมันคาทอลิก พระเจ้ามีไฮทรงปฏิเสธ แต่ศาสนจักรจะไม่จัดการอภิเษกสมรสให้ถ้าพระเจ้าไมเคิลไม่สัญญา

สมเด็จพระราชินีเฮเลนและดัสเซสแห่งเอออสตา (ผู้ซึ่งเป็นคาทอลิกที่สมรสกับออร์โธด็อกซ์) ได้เข้าพบพระบิดาพระมารดาของเจ้าหญิงอานาที่ปารีส ที่ซึ่งทั้งสองตระกูลได้ตกลงใจนำปัญหาไปที่นครรัฐวาติกัน ในช่วงต้นเดือนมีนาคม พระมารดาของทั้งคู่ได้เข้าพบสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระราชินีเฮเลนได้ทำการอ้อนวอนและในความเป็นจริง เจ้าหญิงมาร์เกรเธแห่งเดนมาร์กได้ทุบกำปั้นลงบนโต๊ะด้วยความโกรธที่ไม่ทรงยินยอมให้เจ้าหญิงอานาอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้ามีไฮ

การปฏิเสธขององค์สมเด็จพระสันตปาปาในครั้งนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการให้แรงบันดาลใจโดยความเป็นจริงเมื่อเจ้าหญิงโจวันนาแห่งอิตาลีทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรียใน ค.ศ. 1930 ทั้งคู่ได้สัญญาที่จะนำบุตรเข้ารีตโรมันคาทอลิก แต่มีการแบ็ปติสท์ตามแบบของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ ศาสนจักรบัลแกเรีย อย่างไรก็ตามพระเจ้ามีไฮทรงปฏิเสธที่จะให้การสัญญา พระองค์จะไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในขณะที่พระมารดาของเจ้าหญิงอานาเป็นพระธิดาในการอภิเษกสมรสแบบผสมผสานระหว่างเจ้าหญิงออร์โธด็อกซ์(เจ้าหญิงมารีแห่งออร์เลออง)กับเจ้าชายโปรแตสแตนต์(เจ้าชายวัลเดมาร์แห่งเดนมาร์ก) พระบิดาพระมารดาของเจ้าหญิงอานาผู้ซึ่งได้ทำการประนีประนอมโดยให้พระโอรสเข้ารีตโปรแตสแตนต์และให้พระธิดา คือ เจ้าหญิงอานาเข้ารีตโรมันคาทอลิก

คู่หมั้นทั้งสองได้ทรงตกลงปลงใจกัน ดยุคซาเวียร์แห่งปาร์มาผู้ซึ่งเป็นพระปิตุลา(ลุง)ของเจ้าหญิงแอนน์ได้ทำการจัดพิมพ์แถลงการณ์การอภิเษกสมรสต่อต้านจุดประสงค์ของพระสันตปาปาและครอบครัวของเจ้าสาว โฆษกประจำพระราชาธิบดีมีไฮได้ประกาศในวันที่ 9 มิถุนายนพระบิดาพระมารดาของเจ้าหญิงได้รับการอธิบายเกี่ยวกับการสมรสโดยพระมาตุลาของเจ้าหญิงอานา คือ เจ้าชายเอริกแห่งเดนมาร์ก

ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1948 พิธีอภิเษกสมรสได้จัดขึ้นภายในห้องราชบัลลังก์ของพระราชวังหลวง ที่นั้นพิธีกระทำโดยอาร์คบิชอป ดามาสกินอส และสมเด็จพระราชาธิบดีพอลที่ 1 แห่งกรีซทรงเป็นผู้จัดพิธี สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียผู้ซึ่งเป็นพระบิดาของพระราชาธิบดีไมเคิล และพระขนิษฐาของสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรล ได้แก่ เจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย และ เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนียทรงได้รับการแจ้งให้ทราบแต่ทรงไม่ได้รับเชิญ หนึ่งในเพื่อนเจ้าสาวในครั้งนั้นคือ เจ้าหญิงโซเฟียแห่งกรีซ ผู้ซึ่งเป็นเจ้าหญิงออร์โธด็อกซ์ซึ่งในที่สุดทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนซึ่งเป็นโรมันคาทอลิกและต่อมาทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสเปน

ชีวิตและพระราชวงศ์[แก้]

พระนางอานาทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น สมเด็จพระราชินีอานาแห่งโรมาเนีย(Her Majesty Queen Anne of Romania)

พระราชินีอานากับพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 5 พระองค์

หลังจากทรงอภิเษกสมรส ทั้งสองพระองค์ทรงอาศัยอยู่ที่ วิลลา สปาร์ตาเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นบ้านของพระมารดา อยู่นอกเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1999 ทั้งคู่ได้เดินทางไปที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และในปี ค.ศ. 1994 ทรงเดินทางไปยังประเทศอังกฤษ ทรงอาศัยอยู่ที่ บ้านบรามชิลใน แฮมแชร์และจากนั้นทรงพำนักที่ อายอท เซนต์ ลอว์เรนซ์ ใน เฮิร์ทฟอร์ดแชร์ ในปี ค.ศ. 1955 ทั้งคู่ทรงกลับมายังสวิตเซอร์แลนด์และตั้งรกรากที่ เวอร์ซอก ใกล้เมืองเจนีวา

ในโรมาเนีย[แก้]

ในปี ค.ศ. 1992 สมเด็จพระราชินีอานาและสมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 เสด็จเยือนโรมาเนียเป็นเวลา 3 วัน ซึ่งเป็นการเสด็จเยือนโรมาเนียครั้งแรกของพระราชินีแอนน์ จาก ค.ศ. 1993 ถึง ค.ศ. 1997 ถึงอย่างไรก็ตามเป็นการพยายามที่ซ้ำๆ พระราชาธิบดีมีไฮทรงถูกปฏิเสธที่จะให้เข้าประเทศโรมาเนียโดย คณะรัฐบาลโรมาเนียที่ทรงเป็นปริปักษ์ ระหว่างปีเหล่านี้ พระนางได้เสด็จเป็นตัวแทนพระสวามีไปยังประเทศต่างๆ เมื่อปี ค.ศ. 1997 ไม่มีข้อห้ามพระนางอานาและพระเจ้ามีไฮให้เสด็จเยือนโรมาเนีย รัฐบาลได้ให้พระราชวังอลิซาเบตาแด่พระองค์ ทั้งสองพระองค์ได้กลับคืนสู่รัฐท่ามกลางความเหมาะสม พระองค์ได้พำนักอยู่ที่ ปราสาทซาวาร์ซิน และปราสาทเปเรส

สมเด็จพระราชินีอานาและพระเจ้ามีไฮทรงจัดพิธีการฉลองครบรอบ 60 ปีการอภิเษกสมรสในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 มีผู้เข้าร่วมได้แก่ อดีตกษัตริย์แห่งกรีซ สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2และสมเด็จพระราชินีแอนน์ - มารีแห่งกรีซพระมเหสี อดีตกษัตริย์แห่งบัลแกเรีย สมเด็จพระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2และสมเด็จพระราชินีมาร์การิตาแห่งบัลแกเรียพระมเหสี, อาเล็กซานดาร์ การาจอร์เจวิช,ดยุคไอมอนแห่งเอออสตา, อดีตกษัตริย์แห่งโปรตุเกส,เจ้าชายลอเรนซ์แห่งเบลเยียม อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย-เอสเต,อาร์คดัสเซสมารี แอสตริดแห่งออสเตรีย,เจ้าชายฟิลิปแห่งบูร์บง-ปาร์มาและสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน

สวรรคต[แก้]

สมเด็จพระราชินีอานา เสด็จสวรรคตอย่างสงบ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ในเวลา 13 นาฬิกา 45 นาที ณ โรงพยาบาลเมืองมอร์ช ทางตอนใต้ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สิริพระชนมพรรษาได้ 92 พรรษา สำนักพระราชวังโรมาเนีย ได้แถลงการณ์อย่างเป็นทางการของการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินี พระบรมศพถูกอัญเชิญกลับไปประดิษฐาน ณ พระราชวังเปเลส และเปิดให้ประชาชนถวายความเคารพพระบรมศพได้ที่ปราสาทเปเลส และลงนามถวายความอาลัย ณ ปราสาทเปเลส และพระราชวังเอลิซาเบต้า กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย

พระราชตระกูล[แก้]

พระราชตระกูลในสามรุ่นของสมเด็จพระราชินีอานาแห่งโรมาเนีย
แอนน์แห่งโรมาเนีย พระชนก:
เจ้าชายเรอเนแห่งบูร์บง-ปาร์มา
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
ดยุคโรเบิร์ตที่ 1 แห่งปาร์มา
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
ดยุคชาร์ลส์ที่ 3 แห่งปาร์มา
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หลุยส์ มารี เทเรสแห่งฝรั่งเศส
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
มาเรีย แอนโตเนียแห่งโปรตุเกส
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระเจ้าไมเคิลแห่งโปรตุเกส
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
อเดลเลดแห่งลอเวนสไตน์ - เวิร์ทเฮล์ม - โรเซนเบิร์ก
พระราชชนนี:
เจ้าหญิงมาร์เกรเธแห่งเดนมาร์ก
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าชายวัลเดมาร์แห่งเดนมาร์ก
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
คริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
หลุยส์ แห่ง เฮสส์ - คาสเซิล
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าหญิงมารีแห่งออร์เลออง
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ดยุคโรเบิร์ตแห่งคาร์เตส
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าหญิงฟรองซัวแห่งออร์เลออง

บรรณานุกรม[แก้]

  • Radu, Prince of Hohenzollern-Veringen, Anne of Romania: A War, an Exile, a Life, Bucharest: The Romanian Cultural Foundation Publishing House, Bucharest, 2002 ISBN 973-577-338-4. (A quasi-official biography by her son-in-law, originally published in Romanian as Un război, un exil, o viaţă, Bucharest, 2000)
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีอานาแห่งโรมาเนีย ถัดไป
รัฐบาลคอมมิวนิสต์
หรือ
สมเด็จพระราชินีเฮเลนแห่งโรมาเนีย

สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย
(ภายใต้กฎหมาย)
(ราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น)

(10 มิถุนายน ค.ศ. 1948 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 2016)
เจ้าชายราดูแห่งโรมาเนีย

อ้างอิง[แก้]