ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย)
พระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย

คาร์ล เอเทล ฟรีดิช เซฟีรินัส ลุดวิก ฟอน โฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น
ครองราชย์10 พฤษภาคม พ.ศ. 240910 ตุลาคม พ.ศ. 2457
รัชสมัย48 ปี 141 วัน
รัชกาลก่อนหน้าโดมนิเตอร์ อเล็กซานเดอร์ จอห์น คูซา องค์อธิปัตย์แห่งโรมาเนีย
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
ประสูติ20 เมษายน พ.ศ. 2382
ซิกมาริงเง็น, ประเทศเยอรมนี
สวรรคต10 ตุลาคม พ.ศ. 2457
(76 พรรษา)
ซินายอา, ประเทศโรมาเนีย
พระราชบุตรเจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย
ราชวงศ์โฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน
พระราชบิดาเจ้าชายคาร์ล แอนตันแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น
พระราชมารดาเจ้าหญิงโยเซฟินแห่งบาเดิน
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย (20 เมษายน พ.ศ. 2382 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2457) ประสูติในพระอิสริยยศ เจ้าชายแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น - ซิกมาริงเง็น ทรงครองราชย์เป็นเจ้าผู้ครองนครและสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรโรมาเนียตั้งแต่ พ.ศ. 2409 ถึงพ.ศ. 2457 พระองค์ทรงได้รับการเลือกให้เป็นองค์อธิปัตย์แห่งโรมาเนียในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2409 หลังจากโดมนิเตอร์ อเล็กซานเดอร์ จอห์น คูซา องค์อธิปัตย์แห่งโรมาเนียทรงถูกรัฐประหารยึดพระราชอำนาจ จากการที่จักรวรรดิออตโตมันพ่ายแพ้ในสงครามรัสเซีย-ตุรกี (1877 - 1878) พระองค์ได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโรมาเนียในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2424 พระองค์เป็นพระประมุขพระองค์แรกแห่งราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น ที่ซึ่งปกครองประเทศจนกระทั่งการประกาศให้โรมาเนียเป็นสาธารณรัฐในปีพ.ศ. 2490

ในช่วงรัชกาลของพระองค์ พระองค์ทรงบัญชาการรบกองทัพโรมาเนียด้วยพระองค์เองในช่วงสงครามรัสเซีย-ตุรกีและทรงร่วมบัญชาการกองทัพโรมาเนียและรัสเซียระหว่างการปิดล้อมที่เปลฟนา โรมาเนียได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์จากจักรวรรดิออตโตมัน (สนธิสัญญาเบอร์ลิน (1878)) และได้รับแคว้นคาเดรียเลเทอร์จากบัลแกเรียในปีพ.ศ. 2456 ในบทบาททางด้านการเมือง พระองค์ยังคงปกครองประเทศท่ามกลางการแข่งขันของพรรคเสรีภาพแห่งชาติกับพรรคอนุรักษนิยม ที่ซึ่งก่อให้เกิดการลุกฮือของชาวนาในวัลลาเซียเดือนเมษายน พ.ศ. 2431 และในมอลเดเวียเดือนมีนาคม พ.ศ. 2450

พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเวดส์ ณ เมืองเนาวีด ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2412 ทั้งสองพระองค์มีพระธิดาเพียง 1 พระองค์คือ เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนียซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุเพียง 3 ชันษา

การที่พระราชาธิบดีคาโรลทรงไร้รัชทายาททำให้พระเชษฐาของพระองค์คือ เจ้าชายลีโอโปลด์แห่งโฮเฮนโซลเลิร์นเป็นรัชทายาทลำดับถัดไปแห่งโรมาเนีย ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2423 เจ้าชายลีโอโปลด์ทรงสละสิทธิ์ในราชบัลลังก์แก่พระโอรสองค์โปรดคือ เจ้าชายวิลเฮล์มแห่งโฮเฮนโซลเลิร์นซึ่งเจ้าชายวิลเฮล์มทรงสละสิทธิ์ในราชบัลลังก์แก่พระอนุชาองค์โปรดซึ่งต่อมาได้ครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

[แก้]
เจ้าชายคาร์ลแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น ราวปีพ.ศ. 2403

เจ้าชายคาร์ล เอเทล ฟรีดิช เซฟีรินัส ลุดวิกแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น ประสูติ ณ เมืองซิกมาริงเง็น เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองของเจ้าชายคาร์ล แอนตันแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็นกับเจ้าหญิงโยเซฟินแห่งบาเดิน หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา เจ้าชายคาร์ลทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนคาเด็ทในเมืองมึนสเตอร์ ในปีพ.ศ. 2400 ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนวิชาการทหารปืนใหญ่ที่กรุงเบอร์ลิน ในปีพ.ศ. 2409 (เมื่อพระองค์ได้ตอบรับราชบัลลังก์โรมาเนียแล้ว) เจ้าชายทรงรับราชการในทหารปรัสเซียและทรงร่วมรบในสงครามชเลสวิชครั้งที่สอง โดยทรงร่วมกับฝ่ายปรัสเซียในการรบกับเดนมาร์ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการโจมตีเมืองเฟรเดอริเซียและดิบโบล์ของเดนมาร์ก พระองค์ได้สะสมประสบการณ์จากการรบในสมรภูมิเหล่านี้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพระองค์ในการบัญชาการรบในสงครามรัสเซีย-ตุรกี(1877 - 1878)

ถึงแม้ว่าพระวรกายของพระองค์จะค่อนข้างผอมและไม่สูงมาก พระองค์กลับได้รับการสรรเสริญว่าทรงเป็นชายชาติทหาร, สุขภาพดีเยี่ยม, มีระเบียบวินัยและเป็นนักการเมืองที่ดีโดยมีแนวคิดในทางเสรี พระองค์สามารถตรัสภาษายุโรปได้หลายภาษา พระราชวงศ์ของพระองค์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับราชวงศ์โบนาปาร์ต (พระอัยยิกาผ่ายพระชนนีของพระองค์ทรงมาจากราชสกุลโบอาร์แนคือ สเตฟานี เดอ โบอาร์แนซึ่งเป็นพระขนิษฐาในโฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน และพระอัยยิกาฝ่ายพระชนกของพระองค์ทรงมาจากตระกูลมูว์ราคือ เจ้าหญิงมารี อังตัวแนตต์ มูว์ราซึ่งเป็นพระนัดดาในฌออากีม มูว์รา กษัตริย์แห่งเนเปิลส์) พระราชวงศ์ของพระองค์จึงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 โรมาเนียในตอนนั้นอยู่ภายใต้วัฒนธรรมฝรั่งเศสและคำแนะนำของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 เกี่ยวกับเจ้าชายคาร์ลแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น ซึ่งทรงถูกจับตามองโดยนักการเมืองโรมาเนียในสายพระโลหิตจากปรัสเซีย เอียน ซี. บราเทียนูนักการเมืองชาวโรมาเนียได้ส่งข้อความไปยังเจ้าชายคาร์ลและะพระราชวงศ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะสถาปนาพระองค์ในราชบัลลังก์องค์อธิปัตย์แห่งโรมาเนีย

เส้นทางสู่โรมาเนีย

[แก้]

โดมนิเตอร์ อเล็กซานเดอร์ จอห์น คูซา องค์อธิปัตย์แห่งโรมาเนีย พระประมุของค์ก่อนได้ถูกเนรเทศออกจากโรมาเนียโดยเหล่าขุนนางและทำให้โรมาเนียเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอย่างรุนแรง คูซาได้รับการเลือกให้เป็นประมุข (ในวัลลาเซียและมอลเดเวีย) ของประเทศที่ซึ่งทำให้เกิดการรวมชาติโรมาเนียจากการสนับสนุนของชาติมหาอำนาจในยุโรป จากการที่พระองค์ได้ถูกเนรเทศ ทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤตจากการสิ้นสภาพความเป็นรัฐ

ดวงตราไปรษณียากรโรมาเนีย ภาพ เจ้าชายคาร์ลเสด็จเข้าสู่เมืองโดรเบตา-ทูร์นู เซเวรินในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 (20 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 ตามปฏิทินฉบับใหม่)

เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรปรัสเซียกับจักรวรรดิออสเตรีย เจ้าชายคาร์ลทรงออกเดินทางโดยใช้พระนามแฝงด้วยรถไฟจากดึสเซลดอร์ฟไปยังบูดาเปสต์ พระองค์ทรงใช้พระนามแฝงว่า นายคาร์ล เฮ็ททินเง็น จากบูดาเปสต์ทรงประทับรถม้าไปยังโรมาเนีย เนื่องจากทรงไปโรมาเนียนั้นไมมีรถไฟ และพระองค์ทรงเดินทางด้วยพระบาทเข้าไปยังเขตชายแดนแผ่นดินโรมาเนีย ซึ่งพระองค์ทรงพบกับบราเทียนู ผู้ซึ่งเชื้อเชิญให้พระองค์ประทับรถม้าไปด้วยกัน

ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 ตามปฏิทินฉบับใหม่) เจ้าชายคาร์ลเสด็จเข้ากรุงบูคาเรสต์ ข่าวการมาถึงของพระองค์ได้ถูกส่งผ่านด้วยโทรเลขและพระองค์ทรงได้รับการต้อนรับจากประชาชนชาวโรมาเนียจำนวนมากที่ต้องการพบพระประมุของค์ใหม่ของพวกเขา ในเขตบานีอาซาพระองค์ทรงได้รับกุญแจเมืองตามธรรมเนียม ในวันนั้นฝนตกหนักและสิ้นสุดฤดูแล้งที่ยาวนาน ในวันที่พระองค์ประกอบพิธีราชาภิเษกเป็นองค์อธิปัตย์แห่งโรมาเนีย พระองค์ทรงกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณว่า "ข้าพเจ้าขอให้สัตย์ปฏิญาณว่าจะพิทักษ์ปกป้องกฎหมายโรมาเนีย,จะคุ้มครองรักษาสิทธิและความบริบูรณ์ของแผ่นดินนี้" พระองค์ทรงกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณเป็นภาษาฝรั่งเศสและพระองค์ไม่ตรัสภาษาโรมาเนีย

รัฐธรรมนูญ

[แก้]

ในทันทีหลังจากพระองค์เสด็จถึงโรมาเนีย รัฐสภาโรมาเนียได้มีมติยอมรับรัฐธรรมนูญโรมาเนียฉบับปีพ.ศ. 2409 ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2409 เป็นหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่พัฒนาอย่างทันสมัยที่สุดในช่วงเวลานั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มีการพัฒนาและการทำให้รัฐโรมาเนียทันสมัยต่อประชาคมโลก ในการย้ายอำนาจอย่างท้าทายของรัฐธรรมนูญนี้ได้เลือกที่จะปฏิเสธการอยู่ใต้อำนาจของจักรวรรดิออตโตมัน ที่ซึ่งเป็นการปูทางสู่เอกราชแห่งโรมาเนีย

ในมาตราที่ 82 ได้ระบุว่า "อำนาจของพระประมุขจะสืบตามพระราชสันตติวงศ์ เริ่มต้นโดยตรงจากสายพระราชสันตติวงศ์ของพระเจ้าอยู่หัวองค์อธิปัตย์คาโรลที่ 1 แห่งโฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็นและสิทธิในการสืบราชบัลลังก์จะผ่านไปทางสายบุรุษที่กำเนิดถูกต้องตามกฎหมาย โดยยกเลิกสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ทางสายสตรีและเหล่าทายาทของสตรีนั้น พระราชสันตติวงศ์ของพระเจ้าอยู่หัวจะต้องนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โทดอกซ์"

หลังจากการประกาศอิสรภาพ (พ.ศ. 2420) โรมาเนียมีสถานภาพเป็นพระราชอาณาจักรอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2421 องค์อธิปัตย์คาโรลทรงดำรงพระอิสริยยศ Alteţă Regală (Royal Highness) ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2424 รัฐธรรมนูญได้ถูกเปลี่ยนสถานะที่ว่าพระประมุขแห่งรัฐจะต้องดำรงพระอิศริยยศเป็น "พระมหากษัตริย์แห่งโรมาเนีย" ในขณะที่รัชทายาทจะต้องดำรงพระอิศริยยศเป็นพระราชกุมาร ในปีเดียวกันองค์อธิปัตย์คาโรลได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโรมาเนียในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2424

สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 , พระนางเอลิซาเบธ พระมเหสีและเจ้าหญิงมาเรีย พระธิดา ในปีพ.ศ. 2416

ตามพื้นฐานของรัฐธรรมนูญแบบนิยมระบอบกษัตริย์ในโรมาเนียได้กำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะต้องเป็นพระประมุขโดยปราศจากการปกครองทางการเมือง

พระมหากษัตริย์ผู้ทรงอุทิศพระองค์

[แก้]

สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลทรงได้รับการกล่าวถึงพระอุปนิสัยที่เยือกเย็น พระองค์ทรงยึดมั่นอย่างถาวรในเกียรติยศของพระราชวงศ์ที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้น สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ ผู้เป็นพระมเหสีของพระองค์ทรงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสวมมงกุฎแม้กระทั่งทรงพระบรรทม" พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ละเอียดมากและทรงพยายามสงวนท่าทีของพระองค์ต่อหน้าข้าราชบริพารทุกๆคน อย่างไรก็ตามแม้พระองค์จะอุทิศพระองค์แก่พระราชกรณียกิจในฐานะองค์อธิปัตย์หรือกษัตริย์แห่งโรมาเนียแต่พระองค์ก็ไม่ทรงลืมเลือนเชื้อชาติเยอรมันที่เป็นรากเหง้าของพระองค์

ตลอดระยะเวลา 48 ปีของรัชกาล (เป็นพระประมุขที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โรมาเนีย) พระองค์ทรงช่วยให้โรมาเนียได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ พระองค์ทรงเพิ่มพูนชื่อเสียงแก่โรมาเนีย ทรงช่วยปรับปรุงเศรษฐกิจของโรมาเนียและสถาปนาพระราชวงศ์ขึ้น บนเทือกเขาคาร์เปเทียน พระองค์ทรงสร้างปราสาทเปเรสซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดในโรมาเนีย ปราสาทสร้างตามสถาปัตยกรรมแบบเยอรมัน เพื่อให้ระลึกถึงสถานที่ที่พระองค์ประสูติ หลังจากสงครามรัสเซีย-ตุรกี พระองค์ทรงรวมแคว้นโดบรูยามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรและมีพระบัญชาให้สร้างสะพานแห่งแรกคือ "สะพานสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1" ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำดานูบระหว่างเมืองเฟเตสติและเมืองเซอร์นาโวดา เมื่อสร้างเสร็จเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในยุโรปและยาวเป็นอันดับสามของโลก หลังจากล้มล้างระบอบกษัตริย์โรมาเนียได้มีการเปลี่ยนชื่สะพานแห่งนี้เป็นสะพานแองเจล ซาลิกนี ซึ่งสะพานนี้เป็นประโยชน์ต่อพสกนิกรมากในการติดต่อกันระหว่างเมือง

สิ้นสุดรัชกาล

[แก้]

ในรัชสมัยที่ยาวนานของสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลได้นำไปสู่การพัฒนารัฐโรมาเนียอย่างรวดเร็ว แต่การสิ้นสุดรัชกาลของพระองค์และเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในเวลาต่อมา พระองค์ซึ่งเป็นชาวเยอรมันทางสายพระโลหิตมีพระราชประสงค์ให้โรมาเนียเข้าร่วมสงครามโดยอยู่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ในขณะที่ชาวโรมาเนียต้องการเข้าร่วมฝ่ายไตรภาคี พระราชาธิบดีคาโรลทรงลงพระปรมาภิไธยในสนธิสัญญาลับปีพ.ศ. 2426 โดยเชื่อมสัมพันธไมตรีกับฝ่ายไตรพันธมิตร (พ.ศ. 2425) แม้ว่าสนธิสัญญาได้ถูกบังคับใช้ในการป้องกันการรุกรานของจักรวรรดิรัสเซียของหนึ่งในประเทศสมาชิกผู้ลงนาม พระองค์ทรงถูกโน้มน้าวใจที่ซึ่งเป็นเกียรติอย่างมากที่โรมาเนียจะสนับสนุนจักรวรรดิเยอรมัน

ได้มีการประชุมฉุกเฉินของสมาชิกในรัฐบาลซึ่งพระองค์ทรงเสนอรัฐบาลเกี่ยวกับสนธิสัญญาลับและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน พระองค์ต้องยอมรับกับข้อขัดแย้งของรัฐบาลที่มีน้ำหนักมากกว่า ส่งผลให้พระองค์เสียพระทัยอย่างมากและเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2457 (27 กันยายน พ.ศ. 2457 ตามปฏิทินฉบับเก่า) พระราชนัดดาได้สืบราชสมบัติต่อโดยมีพระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย พระองค์ทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ พระมเหสีซึ่งเป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์อังกฤษ พระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์และพระนางมารีทรงรับฟังความเห็นของสาธารณะมากกว่าและทรงนำประเทศเข้าฝ่ายไตรภาคี ซึ่งไม่ตรงตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรล

พระชนม์ชีพและพระราชวงศ์

[แก้]
สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 และพระราชินีเอลิซาเบธในบั้นปลายพระชนม์ชีพ
จากซ้าย:เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ พระนัดดา, สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนียและเจ้าชายคาโรล พระปนัดดา

เมื่อเจ้าชายคาโรลได้ดำรงเป็นองค์อธิปัตย์แห่งโรมาเนีย โดยพระองค์มิได้ทรงอภิเษกสมรสและตามรัฐธรรมนูญโรมาเนียได้ยินยอมที่จะให้พระองค์มีสิทธิไม่อภิเษกสมรสได้ ถ้าอภิเษกสมรสจะต้องไม่อภิเษกกับสตรีที่มีกำเนิดเป็นชาวโรมาเนีย ในปีพ.ศ. 2412 องค์อธิปัตย์ได้เสด็จเยือนประเทศต่างๆในยุโรปแต่โดยหลักคือที่เยอรมนีเพื่อค้นหาสตรีเพื่ออภิเษกสมรส ในระหว่างการเดินทางทรงพบกับ เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งวีด พระราชธิดาพระองค์โตในเฮอร์มานน์ องค์อธิปัตย์แห่งวีดกับเจ้าหญิงมารีแห่งนัสเซา โดยทรงพบกันที่เมืองเนาวีดในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2412 การอภิเษกสมรสครั้งนี้เป็นหนึ่งในการอภิเษกสมรสที่ไม่เหมาะสมที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยที่เจ้าชายคาโรลมีพระบุคลิกที่สุขุม เยือกเย็นและรอบคอบ ในขณะที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธมีพระบุคลิกช่างฝันและทรงแสดงออกอย่างเปิดเผย ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดาร่วมกันหนึ่งพระองค์คือ เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย ซึ่งประสูติในปีพ.ศ. 2414 และเจ้าหญิงทรงเป็นผู้มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์โรมาเนียต่อจากพระราชบิดา แต่เจ้าหญิงมาเรียสิ้นพระชนม์ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2417 ขณะมีพระชนมายุเพียง 3 ชันษา ส่งผลให้ทั้งสองพระองค์ทรงห่างเหินกันมากขึ้น เจ้าหญิงเอลิซาเบธเสียพระทัยอย่างหนักในการสูญเสียพระราชธิดาทรงผลให้เกิดแผลในจิตใจตลอดพระชนม์ชีพ

หลังจากที่โรมาเนียได้ประกาศสถาปนาเป็นราชอาณาจักรในปีพ.ศ. 2424 ส่งผลให้การมีรัชทายาทสืบราชบัลลังก์สำคัญอย่างมาก นับตั้งแต่พระเชษฐาของพระองค์คือ เจ้าชายลีโอโปลด์แห่งโฮเฮนโซลเลิร์น เจ้าชายลีโอโปลด์ทรงสละสิทธิ์ในราชบัลลังก์แก่พระโอรสองค์โปรดคือ เจ้าชายวิลเฮล์มแห่งโฮเฮนโซลเลิร์นและเจ้าชายวิลเฮล์มทรงสละสิทธิ์ในราชบัลลังก์ให้แก่พระอนุชาคือ เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ทรงได้รับพระอิศริยยศเป็นเจ้าชายแห่งโรมาเนียและเป็นรัชทายาทสืบพระราชบัลลังก์ต่อไป พระราชินีเอลิซาเบธทรงพยายามใช้อิทธิพลของพระองค์ในการให้เจ้าชายอภิเษกสมรสกับอีลีนา วาคาเรสคูนางสนองพระโอษฐ์ของพระนางเอง ตามรัฐธรรมนูญโรมาเนียได้ห้ามองค์รัชทายาทอภิเษกสมรสกับชาวโรมาเนีย จากเรื่องอื้อฉาวครั้งนี้ส่งผลให้พระนางเอลิซาเบธต้องเสด็จลี้ภัยไปยังเนาวีด จนกระทั่งเจ้าชายเฟอร์ดินานด์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ พระนางจึงได้รับอนุญาตให้เสด็จกลับโรมาเนีย

ในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระราชาธิบดีคาโรลและพระราชินีเอลิซาเบธได้พยายามปรับความสัมพันธ์กันโดยทรงเข้าพระทัยซึ่งกันและกันและเป็นมิตรที่ดีต่อกัน

พระธิดา

[แก้]
  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรสและพระโอรส-ธิดา
เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย 18708 กันยายน
พ.ศ. 2413
18749 เมษายน
พ.ศ. 2417
ไม่ได้อภิเษกสมรส
สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. เจ้าชายคาร์ล เฟรเดอริคแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น
 
 
 
 
 
 
 
8. เจ้าชายแอนตัน อลอยส์แห่งโฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เคานท์เตสโจฮันนาแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น-ฮีเรนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
4. เจ้าชายชาร์ลส์แห่งโฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. เจ้าชายฟิลิป โจเซฟแห่งซาล์ม-คีร์บูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงอเมลี เซฟฟีรีนแห่งซาล์ม-คีร์บูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซาแห่งฮอร์เนส
 
 
 
 
 
 
 
2. เจ้าชายคาร์ล แอนตันแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. ปิแยร์ มูว์รา
 
 
 
 
 
 
 
10. ปิแยร์ มูว์รา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. ฌานน์ ลูว์บีแรส์
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงมารี อังตัวแนตต์ มูว์รา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. อีเมริค เดอ เอสตอง
 
 
 
 
 
 
 
11. หลุยส์ เดอ เอสตอง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. มารี อลองยู
 
 
 
 
 
 
 
1. สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. แกรนด์ดยุคคาร์ล เฟรเดอริคแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
12. คาร์ล ลุดวิก เจ้าชายรัชทายาทแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. แลนด์เกรฟวีนแคโรไลน์ หลุยส์แห่งเฮสส์-ดาร์มสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
6. แกรนด์ดยุคคาร์ลแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. แลนด์เกรฟหลุยส์ที่ 9 แห่งเฮสส์-ดาร์มสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
13. แลนด์เกรฟวีนอเมลีแห่งเฮสส์-ดาร์มสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เคานท์เตสพาลาทีนเฮนเรียต แคโรไลน์แห่งชไวบักเคน
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงโยเซฟินแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. โคลด เดอ โบอาร์แน
 
 
 
 
 
 
 
14. โคลด เดอ โบอาร์แน กงเต้ เดอ แลส โรแชส์-บาริทูด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. ฟานนี เดอ โบอาร์แน
 
 
 
 
 
 
 
7. สเตฟานี เดอ โบอาร์แน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
15. โคลดีน ฟรองซัวส์ เดอ เลอแซย์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

[แก้]
ก่อนหน้า พระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย ถัดไป
โดมนิเตอร์ อเล็กซานเดอร์ จอห์น คูซา องค์อธิปัตย์แห่งโรมาเนีย
องค์อธิปัตย์แห่งโรมาเนีย
(ราชวงศ์โฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน)

(10 พฤษภาคม พ.ศ. 240926 มีนาคม พ.ศ. 2424)
ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์
พระอิสริยยศใหม่
พระมหากษัตริย์แห่งโรมาเนีย
(ราชวงศ์โฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน)

(26 มีนาคม พ.ศ. 242410 ตุลาคม พ.ศ. 2457)
เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย