ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอลิมปิกฤดูร้อน 2008"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Legendz xgroundz (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 94: บรรทัด 94:
สโลแกนดังกล่าวสะท้อนถึงอุดมคติของชาวจีนในการร่วมแบ่งปันแก่ประชาคมโลก และอารยธรรม และร่วมต่อสู้เพื่อสร้างสรรค์อนาคตอันสดใสของโลก นอกจากนี้ สโลแกนดังกล่าวยังสอดคล้องกับแนวคิด 3 ประการของโอลิมปิกปี 2008 ได้แก่ เป็นโอลิมปิกสีเขียว เป็นโอลิมปิกที่ทันสมัย และเป็นโอลิมปิกของประชาชน และคุณค่าสากลของความเคลื่อนไหวโอลิมปิก
สโลแกนดังกล่าวสะท้อนถึงอุดมคติของชาวจีนในการร่วมแบ่งปันแก่ประชาคมโลก และอารยธรรม และร่วมต่อสู้เพื่อสร้างสรรค์อนาคตอันสดใสของโลก นอกจากนี้ สโลแกนดังกล่าวยังสอดคล้องกับแนวคิด 3 ประการของโอลิมปิกปี 2008 ได้แก่ เป็นโอลิมปิกสีเขียว เป็นโอลิมปิกที่ทันสมัย และเป็นโอลิมปิกของประชาชน และคุณค่าสากลของความเคลื่อนไหวโอลิมปิก


== [[มัสคอต]] ==
== [[แมสคอต]] ==
[[ภาพ:Fuwa.jpg|thumb|right|ฝูหวา]]
[[ภาพ:Fuwa.jpg|thumb|right|ฝูหวา]]


{{ดูเพิ่มที่|ฝูหวา}}
{{บทความหลัก|ฝูหวา}}



== การวิ่งคบเพลิง ==
== การวิ่งคบเพลิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:19, 8 สิงหาคม 2551

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29
ไฟล์:Beijing 2008 logo.gif
สัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29
เมืองเจ้าภาพปักกิ่ง จีน
คำขวัญOne World, One Dream
นักกีฬาเข้าร่วม10,500 (ประมาณการ)
กีฬา28 ชนิด
พิธีเปิด8 สิงหาคม พ.ศ. 2551
พิธีปิด24 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ประธานพิธีหู จิ่นเทา
นักกีฬาปฏิญาณ-
ผู้ตัดสินปฏิญาณ-
ผู้จุดคบเพลิง-
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาแห่งชาติ (ปักกิ่ง)

โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 (ภาษาจีน: 2008年 夏季奥林匹克运动会(เอ้อร์หลิงหลิงปาเหนียน ซย่าจี้อ้าวลินผีเค่อยวิ่นต้งฮุ้วย), ภาษาอังกฤษ: 2008 Summer Olympics) เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 ที่จะจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม (วันที่ 8 เดือน 8 ปี 8) ถึง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551โอลิมปิกครั้งนี้ถือเป็นโอลิมปิกเกมส์ครั้งที่สามของทวีปเอเซีย หลังจากโอลิมปิกที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2507 และโอลิมปิกที่ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ 1988 โดยพิธีเปิดจะเริ่มขึ้นเวลา 20 นาฬิกา (8 นาฬิกาตอนกลางคืน) ในเวลาปักกิ่ง โดยเลข 8 นี้เป็นเลขนำโชคในวัฒนธรรมจีน ซึ่งตามความเชื่อของชาวจีน เลข 8 เป็นเลขมงคลมากที่สุด เพราะออกเสียงคล้ายกับคำว่า ‘ฟา’ ที่หมายถึง ‘ร่ำรวย’

นายหวังฉีซัน นายกเทศมนตรีนครปักกิ่งกล่าวเสริมว่า หากพิธีเปิดงานสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี ก็ถือว่าการจัดงานกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้สำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว โดยทางจีนมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ เพื่อแสดงศักยภาพของตนให้ปรากฏแก่ชาวโลก ซึ่งอาจเรียกกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ได้ว่าเป็น "อภิมหาโอลิมปิก"[1] เลยก็ว่าได้

กีฬาโอลิมปิก 2008 จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 3 ล้านคน รวมถึงนักกีฬาประมาณ 20,000 คนและผู้สื่อข่าวอีกราว 30,000 ชีวิตเดินทางมาร่วมงานนี้

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

การตัดสินรอบสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 112 ที่กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย

คะแนนผลการตัดสินคัดเลือกประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพ
เมือง ประเทศ รอบ 1 รอบ 2
ปักกิ่ง จีน 44 56
โตรอนโต แคนาดา 20 22
ปารีส ฝรั่งเศส 15 18
อิสตันบูล ตุรกี 17 9
โอซากา ญี่ปุ่น 6

ปัญหาของเมือง

การเปลี่ยนแปลงกำหนดการจัดงาน

คณะกรรมการจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกสากลประกาศเลื่อนการจัดมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปักกิ่งปี 2008 ออกไปอีก 2 สัปดาห์ เป็นวันที่ 8-24 สิงหาคม

ทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ต้องตัดสินใจเลื่อนการแข่งขันออกไปว่า เนื่องจากกำหนดการแข่งขันเดิมคือ ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคมนั้น นครปักกิ่งจะมีอุณหภูมิสูงมาก จนหลายฝ่ายวิตกว่าจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของนักกีฬา

ภายหลังจากที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลปรึกษากับคณะกรรมการการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศของแต่ละชาติ และคณะกรรมการการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแห่งปักกิ่งแล้ว ก็ได้บรรลุข้อตกลงเลื่อนการแข่งขันออกไปอีก 2 สัปดาห์

นายหวัง เหว่ย รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกปักกิ่ง แสดงความพอใจกับผลสรุปครั้งนี้ แต่ก็ชี้ว่า หากมีการเลื่อนการแข่งขันฯออกไปอีก 1 สัปดาห์เป็นราวกลางเดือนสิงหาคมไปถึงต้นกันยายน ก็จะยิ่งเป็นเงื่อนไขที่ดีต่อการแข่งขันของนักกีฬา

ปัญหาอื่น

เรื่องที่ปักกิ่งอาจเสียหน้าก็มีหลายเรื่อง เรื่องแรกคือ เรื่องรถติด เคาต์ดาวน์ครั้งนี้ปักกิ่งถือโอกาสซักซ้อมแผนลดจำนวนรถยนต์ส่วนตัวลงครึ่งหนึ่งเป็นเวลา 4 วัน โดยให้รถทะเบียนเลขคู่และเลขคี่สลับกันวิ่งคนละวัน แล้วเพิ่มรถเมล์เข้าไปให้บริการแทนวันละ 722 คัน การก่อสร้างรถใต้ดินอีก 6 สาย ก็กำลังลุยเต็มที่ ซึ่งสุดท้ายจะทำให้ปักกิ่งมีเส้นทางรถใต้ดิน “ยาวที่สุดในโลก” 550 กิโลเมตร

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2546 รัฐบาลนครปักกิ่งประกาศทุ่มเงิน 180,000 ล้านหยวน เพื่อแก้ไขสภาพการจราจรที่ติดขัดบนท้องถนนในกรุงปักกิ่ง และหลีกเลี่ยงปัญหาปริมาณการจราจรสะสมในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008

ปักกิ่งมีเป้าหมายด้านเส้นทางคมนาคมพื้นฐานว่า จะขยายเส้นทางการจราจรจาก 95 กิโลเมตร เป็น 300 กิโลเมตร ขยายเส้นทางบนทางด่วนจาก 463 กิโลเมตรเป็น 890 กิโลเมตร ขยายทางด่วนในเมืองจาก 210 กิโลเมตรเป็น 280 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังมีแผนจะปรับปรุงประสิทธิภาพของสถานที่ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ลานจอดรถ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ปักกิ่งยังมีแผนศึกษาการจราจรจากเมืองต่างๆที่ประสบความสำเร็จในการจัดกีฬาโอลิมปิก และจะเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการคมนาคมทั่วโลกมาเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย นอกจากนั้น รัฐบาลปักกิ่งเตรียมจะปฏิรูประบบการลงทุน ให้มีความหลากหลายและมั่นคง รวมถึง ส่งเสริมให้ภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศได้เข้าร่วมในโครงการคมนาคมนี้ด้วยก่อสร้างพื้นฐานต่างๆ

ทั้งนี้ รัฐบาลปักกิ่งยังได้ออกมาตรการเพื่อปรับปรุงสภาพการจราจรที่มีปัญหาอีก 7 ประการ ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมถึง การพัฒนาเส้นทางจราจรและระบบขนส่งมวลชน ปรับระบบการคมนาคมให้สอดคล้องกับการพัฒนาของตัวเมือง พัฒนาเมืองรอบๆปักกิ่ง แก้ไขสถานการณ์การกระจุกตัวของประชากรและตำแหน่งงาน โดยทางการปักกิ่งมีความเชื่อมั่นว่า มาตรการดังกล่าว จะสามารถควบคุมสภาพการจราจรในปักกิ่งอย่างได้ผลภายใน 1-3 ปี และคาดว่าก่อนปี 2008 จะสามารถทำให้เครือข่ายการจราจรทั้งหมดในปักกิ่งมีประสิทธิภาพเด่นชัดมากขึ้น

อากาศเสียเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ปักกิ่งถูกโจมตีหนัก นอกจากเอารถออกจากถนนครึ่งหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ต้นปีหน้า ปักกิ่งจะบังคับให้รถทุกคัน ติดตั้งระบบปล่อยควันเสียตามมาตรฐานยูโร 4 และเตรียมโละรถเมล์เก่า 19,000 คันในปักกิ่งออก เอารถใหม่และรถใช้ก๊าซะรรมชาติเข้าไปแทน

เรื่องต่อมาก็คือ เรื่องสูบบุหรี่ไม่เลือกที่ ถ่มน้ำลายไม่เลือกทาง พูดเสียงดัง เข้าคิวไม่เป็น เข้าส้วมไม่ราด ฯลฯ นิสัยที่ติดตัวมานับพันๆปีพวกนี้ เป็นสิ่งที่แก้ยาก แต่ถ้าแก้ไม่แล้วเจ้าภาพอาจเสียหน้าได้ ปักกิ่งจึงจัดสัปดาห์รณรงค์ปลูกฝังวัฒนธรรมให้คนปักกิ่งด้วยความอดทน

สัญลักษณ์โอลิมปิก 2008

สัญลักษณ์ดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่า 'ปักกิ่งเริงระบำ' จำลองรูปแบบจากตราประทับจีนโบราณ ซึ่งตราประทับนี้ส่วนพื้นเป็นสีแดง ส่วนอักษรแกะสลักเป็นตัว ‘จิง京’ ซึ่งหมายถึงเป่ยจิง (ปักกิ่ง) อีกทั้งมีลักษณะคล้ายตัวอักษร "เหวิน" ซึ่งหมายถึงอารยธรรมที่สืบถอดมายาวนานของชนชาติจีน นอกจากนั้น ตัวอักษรที่ปรากฏยังเป็นลักษณะท่าทางของคนที่วิ่งไปข้างหน้าขณะกำลังยินดีที่ได้รับชัยชนะ

ด้านล่างตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่เขียนจากปลายพู่กันจีน คำว่า ‘Beijing 2008 ’ถัดลงไปเป็นสัญลักษณ์ 5 ห่วงของโอลิมปิก

ภายหลังที่มีการเปิดตัวสัญลักษณ์โอลิมปิก ‘ปักกิ่งเริงระบำ’ บรรดาผู้ผลิตต่างใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวประทับอยู่บนผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น เสื้อยืด หมวก แสตมป์พวกกุญแจ และเหรียญที่ระลึก เป็นต้น ปัจจุบันสินค้าดังกล่าวกลายเป็นสินค้าที่ชาวเมืองปักกิ่งพากันแย่งเป็นเจ้าของ เพราะมีจำหน่ายในกรุงปักกิ่งแห่งเดียวเท่านั้น

คำขวัญประจำการแข่งขัน

การประกาศสโลแกนมหกรรมกีฬาโลก โอลิมปิกปี 2008 มีขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2548 ณ สนามกีฬากรรมาชนกรุงปักกิ่ง บรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกครื้น สโลแกนที่พิชิตใจกรรมการได้แก่ “One World, One Dream” หรือในภาษาจีน (同一个世界 同一个梦想, ถงอี๋เก้อซื่อเจี้ย ถงอี๋เก้อเมิ่งเสี่ยง) ซึ่งหมายถึง หนึ่งโลก หนึ่งความฝัน

สโลแกนดังกล่าวสะท้อนถึงอุดมคติของชาวจีนในการร่วมแบ่งปันแก่ประชาคมโลก และอารยธรรม และร่วมต่อสู้เพื่อสร้างสรรค์อนาคตอันสดใสของโลก นอกจากนี้ สโลแกนดังกล่าวยังสอดคล้องกับแนวคิด 3 ประการของโอลิมปิกปี 2008 ได้แก่ เป็นโอลิมปิกสีเขียว เป็นโอลิมปิกที่ทันสมัย และเป็นโอลิมปิกของประชาชน และคุณค่าสากลของความเคลื่อนไหวโอลิมปิก

แมสคอต

ไฟล์:Fuwa.jpg
ฝูหวา

การวิ่งคบเพลิง

เส้นทางวิ่งส่งต่อคบเพลิง เริ่มจากกรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮเลนิก เดินทางโดยเครื่องบินถึงกรุงปักกิ่งในเดือนมีนาคม แล้วส่งต่อผ่าน 22 เมือง 5 ทวีป และอีก 113 เมืองของจีนเอง รวมระยะทาง 137,000 กิโลเมตร นอกจากนี้เส้นทางวิ่งคบเพลิงจะวกเข้าไปในธิเบต และขึ้นสู่ยอดเขา “จูมูลังมา” (เอเวอเรสต์) ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกด้วย

ประเภทกีฬาที่แข่งขัน

ประเทศที่ร่วมแข่งขัน

ขณะนี้มี่ประเทศที่ยืนยันการเข้าร่วมแข่งขันแล้ว 205 ประเทศ

สนามแข่งขัน

ในการแข่งขันนี้กีฬาทางน้ำจะถูกจัดที่เมืองชายหาดที่เมืองชิงเต่า และกีฬาแข่งม้าจะถูกจัดที่ฮ่องกง

การเตรียมงานของเจ้าภาพจีนในโอลิมปิกเกมส์นั้น ตอนนี้ทุกอย่างได้เดินหน้าตลอดไม่มีการหยุด ซึ่งได้เตรียมสนามแข่งขันรวมทั้งหมด 31 แห่ง เป็นการสร้างใหม่ 15 แห่ง รื้อถอนปรับปรุงใหม่ 16 แห่ง คาดว่าจะเสร็จสิ้นในปลายปี 2550

อ้างอิง

  1. วิภา อุตมฉันท์, บทความ: จีนที่กำลังเปลี่ยน: อภิมหาโอลิมปิค!, มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 1411 วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA