ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอเอสทีวีผู้จัดการ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 41: บรรทัด 41:
=== เอเอสทีวีผู้จัดการ ===
=== เอเอสทีวีผู้จัดการ ===
เมื่อวันศุกร์ที่ [[21 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2551 ทีมงานกองบรรณาธิการชุดเดิมของผู้จัดการรายวัน ออกหนังสือพิมพ์โดยใช้ชื่อว่า ''เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน'' โดยเริ่มระบุการนับเลขปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ เป็นฉบับปฐมฤกษ์ มีราคาจำหน่าย 20 บาท<ref>[http://www.khonthai.com/NewsPaper/images/mgr_2551112101.JPG ภาพหน้า 1 หนังสือพิมพ์ “เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน”]</ref> โดยในเบื้องต้นระบุในบรรณลักษณ์ว่า บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเจ้าของ ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น บริษัท เอเอสทีวีผู้จัดการ จำกัด
เมื่อวันศุกร์ที่ [[21 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2551 ทีมงานกองบรรณาธิการชุดเดิมของผู้จัดการรายวัน ออกหนังสือพิมพ์โดยใช้ชื่อว่า ''เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน'' โดยเริ่มระบุการนับเลขปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ เป็นฉบับปฐมฤกษ์ มีราคาจำหน่าย 20 บาท<ref>[http://www.khonthai.com/NewsPaper/images/mgr_2551112101.JPG ภาพหน้า 1 หนังสือพิมพ์ “เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน”]</ref> โดยในเบื้องต้นระบุในบรรณลักษณ์ว่า บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเจ้าของ ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น บริษัท เอเอสทีวีผู้จัดการ จำกัด

=== ผู้จัดการรายวัน ===
เมื่อวันจันทร์ที่ [[9 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2558 ทีมงานกองบรรณาธิการเอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน ออกหนังสือพิมพ์โดยกลับมาใช้ชื่อว่า ''ผู้จัดการรายวัน'' โดยเริ่มระบุการนับเลขปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ เป็นฉบับปฐมฤกษ์ มีราคาจำหน่าย 20 บาท โดยในเบื้องต้นระบุในบรรณลักษณ์ว่า บริษัท เอเอสทีวีผู้จัดการ จำกัด เป็นเจ้าของ ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น บริษัท ผู้จัดการ 360 จำกัด


=== ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ===
=== ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:34, 13 กุมภาพันธ์ 2561

ผู้จัดการ 360°
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
รูปแบบธุรกิจและการเมือง
เจ้าของบริษัท เอเอสทีวี ประเทศไทย จำกัด
ผู้เผยแพร่โรงพิมพ์ตะวันออก
หัวหน้าบรรณาธิการจิตตนาถ ลิ้มทองกุล
บรรณาธิการบริหารสุรวิชช์ วีรวรรณ
ก่อตั้งเมื่อผู้จัดการสุดสัปดาห์
10 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (14 ปี)
เอเอสทีวีผู้จัดการ
21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (15 ปี)
ผู้จัดการรายวัน
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
ภาษาภาษาไทย
ฉบับสุดท้ายผู้จัดการรายวัน
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (18 ปี)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 102/1 ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์MGR Online Official

เอเอสทีวีผู้จัดการ เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) นำเสนอข่าวธุรกิจ และการเมือง นอกจากนี้ยังมี นิตยสารข่าวเอเอสทีวีผู้จัดการสุดสัปดาห์ และเว็บไซต์ข่าวเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ อีกด้วย

ประวัติ

ผู้จัดการรายวัน

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ก่อตั้งเมื่อวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 โดยสนธิ ลิ้มทองกุล เริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่น[1] ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 หลังการปราบปรามประชาชน ที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขณะที่สื่อโทรทัศน์ในประเทศ ถูกควบคุมการเสนอข่าวโดยรัฐบาล และไม่รายงานการสูญเสียชีวิตของประชาชน ต่อมามีการตรวจสอบ และควบคุมการเสนอข่าว และภาพข่าว ที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการรายวัน ร่วมกับหนังสือพิมพ์อื่น เช่น เดอะเนชั่น, กรุงเทพธุรกิจ และ แนวหน้า ตีพิมพ์ภาพข่าวการปราบปรามประชาชน[2] นอกจากนั้น ยังมีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการฉบับพิเศษ แจกฟรีไปทั่วกรุงเทพมหานคร เพื่อรายงานข่าวการชุมนุมบนถนนราชดำเนิน จนถูกรัฐบาลดำเนินคดี และสั่งปิดเป็นเวลาสองวัน

อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ก็ทำให้เครือผู้จัดการประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง และในที่สุด ธนาคารหลายแห่งก็ฟ้องล้มละลาย และศาลได้ตัดสินให้สนธิเป็นบุคคลล้มละลาย ในช่วงปี พ.ศ. 2544 โดยผู้จัดการรายวัน มีชื่อเสียงโดดเด่น จากคอลัมน์ข่าวปนคน คนปนข่าว ของเซี่ยงเส้าหลง ซึ่งเป็นนามปากกาของสนธิ, คอลัมน์คันปาก โดยนามปากกาซ้อเจ็ด และหนังสือพิมพ์ล้อเลียนผู้จัดกวน ทั้งนี้ หลังจากสนธิเริ่มจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร เมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งพัฒนาไปเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2549 นั้น ผู้จัดการรายวัน ก็ได้แปรสภาพไปเป็นกระบอกเสียงของรายการฯ และกลุ่มพันธมิตรฯ ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี ช่องนิวส์วันเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ศาลล้มละลายกลางพิจารณาเห็นสมควรให้ บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เจ้าของหนังสือพิมพ์และนิตยสารในเครือผู้จัดการ มีสภาพล้มละลาย เนื่องจากมีหนี้สินกว่า 4,726 ล้านบาท จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวโดยเด็ดขาด ซึ่งชื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารในเครือทั้งหมด ก็ถือเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ ตามกฎหมายเช่นกัน จึงไม่สามารถออกหนังสือพิมพ์และนิตยสาร โดยใช้ชื่อเดิมอีกต่อไป[3]หลังจากใช้ชื่อเดิมไม่ได้อีกต่อไป ทีมงานกองบรรณาธิการชุดเดิมของผู้จัดการรายวัน ยังคงปฏิบัติงานตามปกติ และยังพยายามออกหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง โดยเลี่ยงไปใช้ชื่อใหม่ที่คล้ายคลึงกับชื่อเดิม ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น[3] ทั้งนี้ ชื่อต่างๆ ที่ใช้ออกหนังสือพิมพ์ในแต่ละวัน มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

ระยะเปลี่ยนผ่าน

  • วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - ผู้จัดการ 2551 รายวัน โดยยังคงนับจำนวนปี และจำนวนฉบับ ต่อเนื่องจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเดิม[4] แต่ไม่มีบรรณลักษณ์ภายในฉบับ
  • วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - สารจากเอเอสทีวี โดยทีมงานผู้จัดการ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่ปรากฏการนับปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ[5][6] รวมถึงไม่มีบรรณลักษณ์ภายในฉบับอีกเช่นกัน

เอเอสทีวีผู้จัดการ

เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ทีมงานกองบรรณาธิการชุดเดิมของผู้จัดการรายวัน ออกหนังสือพิมพ์โดยใช้ชื่อว่า เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน โดยเริ่มระบุการนับเลขปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ เป็นฉบับปฐมฤกษ์ มีราคาจำหน่าย 20 บาท[7] โดยในเบื้องต้นระบุในบรรณลักษณ์ว่า บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเจ้าของ ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น บริษัท เอเอสทีวีผู้จัดการ จำกัด

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

ผู้จัดการออนไลน์

ไฟล์:ManagerOnline.png
หน้าแรก ผู้จัดการออนไลน์

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 จากการจัดอันดับโดยอเล็กซา ผู้จัดการออนไลน์เป็นเว็บไซต์ข่าวที่ผู้ใช้จากประเทศไทยเข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับ 1 และเป็นอันดับ 10 จากเว็บไซต์รวมทุกประเภท[8] และจากการจัดอันดับโดยทรูฮิตส์ เป็นเว็บไซต์ข่าวที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และมากเป็นอันดับ 3 หากรวมทุกประเภท[9]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 จากการจัดอันดับโดยทรูฮิตส์ ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นอันดับ 4 หากรวมทุกประเภท[10]

ผลกระทบทางการเมือง

เมื่อ สนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของหนังสือพิมพ์ในเครือผู้จัดการ ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเป็นแกนนำผู้ก่อตั้ง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การรายงานข่าว ของ เว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์จึงต่อต้านรัฐบาล และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ทำให้กลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ สำหรับผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลทักษิณ ข้อมูลบางข้อมูลนำไปสู่การโต้แย้งอย่างกว้างขวาง เช่นการตีพิมพ์ ทฤษฎีสมคบคิด "แผนฟินแลนด์" และเป็นเหตุให้เกิดข้อขัดแย้งทางความคิดเห็น ระหว่างกลุ่มผู้ต่อต้าน และผู้สนับสนุนรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ ทาง ผู้จัดการออนไลน์ จึงได้ติดตั้ง ระบบการกรองความคิดเห็นท้ายข่าว ที่จะปรากฏบนเว็บขึ้น นอกจากนี้ ผู้จัดการออนไลน์ ยังอ้างว่าได้ถูกโจมตี โดยใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ ในการทำความเสียหายให้กับเว็บไซต์ ด้วยมัลแวร์ (Malware) [11]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. หนังสือปรากฏการณ์สนธิ จากเสื้อสีเหลืองถึงผ้าพันคอสีฟ้า โดย คำนูณ สิทธิสมาน. พ.ศ. 2549. ISBN 9749460979
  2. บทสุดท้าย..ทีวีเสรี (ตอนที่ 1) บล็อกของเทพชัย หย่อง ในโอเคเนชั่น
  3. 3.0 3.1 เส้นทางขรุขระ MANAGER-ลิ้มทองกุล เสี่ยงจนหมด หรือถูกกลั่นแกล้ง? / ไขปม ทำไม“แมเนเจอร์ มีเดีย”ล้มละลาย ไม่เกี่ยวต้าน"แม้ว"-อะไรจะเกิดขึ้นกับหนี้ก้อนโต 4,726 ล้านบาท รายงานพิเศษ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
  4. ภาพหน้า 1 หนังสือพิมพ์ “ผู้จัดการ 2551 รายวัน”
  5. ภาพหัวหนังสือพิมพ์ “สารจากเอเอสทีวี โดยทีมงานผู้จัดการ”
  6. ภาพหน้า 1 หนังสือพิมพ์ “สารจากเอเอสทีวี โดยทีมงานผู้จัดการ”
  7. ภาพหน้า 1 หนังสือพิมพ์ “เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน”
  8. 100 เว็บยอดนิยมอันดับแรกของประเทศไทย จัดอันดับโดยเว็บไซต์ อเล็กซา
  9. จัดอันดับเว็บ โดย Truehits.net
  10. จัดอันดับเว็บ โดย Truehits.net
  11. ผู้จัดการออนไลน์เจอแฮกเกอร์มือดีป่วน ข่าวจากผู้จัดการออนไลน์

แหล่งข้อมูลอื่น