พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม)

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระพรหมดิลก

(เอื้อน หาสธมฺโม)
พระพรหมดิลก.jpg
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด13 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (77 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก,ป.ธ.9, M.A.,Ph.D.
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสามพระยา วรวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท13 พฤษภาคม พ.ศ. 2510
พรรษา55 พรรษา
ตำแหน่งที่ปรึกษาคณะสงฆ์วัดสามพระยา วรวิหาร

พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) ป.ธ.9 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ,ที่ปรึกษาคณะสงฆ์วัดสามพระยา วรวิหาร แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

พระพรหมดิลก เดิมชื่อ เอื้อน นามสกุลกลิ่นสาลี เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ณ บ้านเลขที่ 116 หมู่ที่ 6 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระพรหมดิลก อุปสมบทเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ณ วัดมหาพล ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเจ้าอธิการพัฒน์ ติสฺสสุวณฺโณ วัดปรีดาราม ตำบลแม่ลา อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการคต โฆสิโต วัดมหาพล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูอุดมนครกิจ (วาส สุนฺทโร) วัดตะโหนด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า หาสธมฺโม

ท่านเป็นที่รู้จักจากการเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดสามพระยา วรวิหาร และอาจารย์ใหญ่สำนักเรียนวัดสามพระยา วรวิหาร (สำนักเรียนบาลี,บาลีศึกษาที่มีพระภิกษุ-สามเณร และคฤหัสถ์ให้ความสนใจเข้าศึกษา และมีผลสอบไล่ได้เป็นจำนวนมากของประเทศ) ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 ท่านเข้ารับทราบข้อกล่าวหาว่าจากคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรมตามที่ภาครัฐราชการกำหนด ถูกคุมขังในเรือนจำเนื่องจากไม่ได้รับการประกันตัวในการต่อสู้ทางคดีความในกระบวนการยุติธรรมของศาลในระยะแรก โดยท่านไม่ได้ยินยอมสละสมณเพศ และประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมตามพระธรรมวินัยธรรมเนียมของพระภิกษุสงฆ์ นักบวชในพระพุทธศาสนาโดยตลอด ถึงแม้จะสวมใส่ชุดขาวปฏิบัติธรรม เปรียบเสมือนว่าผ้ากาสาวพัสตร์ถูกหมู่โจรลักขโมยไป ในข้อกล่าวหากระทำการทุจริตและถูกดำเนินคดีอาญา ในความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือ โดยทุจริต พร้อมกับพระอีกหลายรูปจากวัดสามพระยา วรวิหาร และวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

หลังจากได้รับการยกฟ้องแล้วจึงได้คืนสู่สมณเพศเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 ณ พระอุโบสถวัดสามพระยา วรวิหาร กรุงเทพมหานคร มีชื่ออย่างพระสงฆ์ทั่วไปว่า พระมหาเอื้อน หาสธมฺโม[1]ป.ธ.9

ในวันที่ 18 มีนาคม 2566 มีประกาศพระบรมราชโองการ โปรดสถาปนาสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ในราชทินนามเดิม ที่ "พระพรหมดิลก" โดยให้ถือว่าไม่เคยถูกถอดถอนสมณศักดิ์ และราชทินนามมาก่อน[2]

วิทยฐานะ

งานปกครอง

สมณศักดิ์

พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) ป.ธ.9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดพระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้

  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระศรีปริยัติบดี[4]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชปริยัติบดี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพสุธี ธรรมปรีชาญาณดิลก ตรีปิฏกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมคุณาภรณ์ บวรศีลสมาจาร สุวิธานศาสนกิจจานุกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฎ ในราชทินนามที่ พระพรหมดิลก ปริยัตินายกคณาทร บวรศาสนกิจวิธาน ศีลสมาจารนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
  • 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 โปรดให้ถอดถอนออกจากสมณศักดิ์ เนื่องจากถูกกล่าวหาว่า กระทำการทุจริตและถูกดำเนินคดีอาญา ในความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือ โดยทุจริต[9]
  • 18 มีนาคม พ.ศ. 2566 โปรดสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ในราชทินนามเดิม[10]โดยให้ถือว่าไม่เคยถูกถอดถอนสมณศักดิ์ และราชทินนามมาก่อน ที่ พระพรหมดิลก [11]ปริยัตินายกคณาทร บวรศาสนกิจวิธาน ศีลสมาจารนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

อ้างอิง

  1. https://www.pptvhd36.com. "อดีตพระพรหมดิลก - ผู้ช่วยฯ กลับห่มจีวร ทำพิธีในวัดสามพระยา หลังอุทธรณ์ยกฟ้องเงินทอนวัด". pptvhd36.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |last= (help)
  2. "โปรดสถาปนาคืนสมณศักดิ์ "พระพรหมดิลก" หลังพ้นมลทินคดีเงินทอนวัด". พีพีทีวี. 2023-03-18. สืบค้นเมื่อ 2023-03-18.
  3. สมเด็จพระสังฆราช’ทรงมีพระบัญชา ปลด 3 พระผู้ใหญ่โยงคดีเงินทอนวัด
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๔, ตอนที่ ๒๕๓ ง ฉบับพิเศษ, ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐, หน้า ๑๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๑, ตอนพิเศษ ๕๗ ง, ๗ ธันวาคม ๒๕๓๗, หน้า ๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๖, ตอน ๒๓ ข, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๒, หน้า ๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ตอนที่ 17 ข, เล่ม 121, 15 กันยายน 2547, หน้า 3
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 9 ข, เล่ม 128, 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554, หน้า 13
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง ถอดถอนสมณศักดิ์, ตอนที่ 15 ข, เล่ม 135, 30 พฤษภาคม 2561, หน้า 1
  10. chanhena, Bandit. "โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ 'พระพรหมดิลก' หลังพ้นผิดทุกคดี 'เงินทอนวัด'". เดลินิวส์.
  11. "โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ "พระพรหมดิลก" วัดสามพระยา". Thai PBS.


ก่อนหน้า พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) ถัดไป
พระธรรมสิทธินายก
(เฉลิม พนฺธุรํสี)
2leftarrow.png เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร
(พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2561)
2rightarrow.png พระธรรมสุธี
(นรินทร์ นรินโท)

(รักษาการ)
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(ปัญญา อินฺทปญฺโญ)
2leftarrow.png เจ้าคณะภาค 14
(พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2556)
2rightarrow.png พระธรรมโพธิมงคล
(สมควร ปิยสีโล)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ฟื้น ชุตินฺธโร)
2leftarrow.png เจ้าอาวาสวัดสามพระยา
(พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2561)
2rightarrow.png พระเทพวิสุทธิดิลก
(ละเอียด กิตฺติสุขุโม)