ผู้วินิจฉัย 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้วินิจฉัย 2
หน้าของหนังสือผู้วินิจฉัยในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือผู้วินิจฉัย
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู2
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม (สัตตบรรณ)
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์7

ผู้วินิจฉัย 2 (อังกฤษ: Judges 2) เป็นบทที่ 2 ของหนังสือผู้วินิจฉัยในพันธสัญญาเดิมหรือคัมภีร์ฮีบรู[1] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเขียนโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอล[2][3] แต่นักวิชาการสมัยใหม่มองว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สายเฉลยธรรมบัญญัติซึ่งครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติถึงหนังสือพงศ์กษัตริย์ฉบับที่ 2 เชื่อว่าเขียนโดย เขียนโดยผู้เขียนศาสนายาห์เวห์ผู้รักชาติและศรัทธาในสมัยของโยสิยาห์กษัตริย์ยูดาห์นักปฏิรูปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 2 ของหนังสือผู้วินิจฉัยเน้นไปที่ความล้มเหลวทางการรบและการไม่เชื่อฟังของชาวอิสราเอลหลังจากการเกริ่นนำในบทแรก[5]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 23 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[6]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[7][a]

ทูตของพระยาห์เวห์ที่โบคิม (2:1–5)[แก้]

ส่วนสั้น ๆ เกี่ยวกับการสำแดงของพระเจ้านี้ทำหน้าที่เป็นสิ่งเชื่อมระหว่างบทก่อนหน้าและบทต่อ ๆ ไป เป็นการทรงตอบสนองต่อคำทูลถามของชาวอิสราเอลเพื่อทูลขอคำแนะนำจากพระเจ้าในผู้วินิจฉัย 1:1 พร้อมด้วยการย้ำถึงพันธสัญญาของพระเจ้าที่จะทรงประทานดินแดนแก่ชนชาติอิสราเอล (ย้อนกลับไปยุคปฐมบรรพบุรุษ) ได้ถูกรักษาว่าอย่างซื่อสัตย์ดังที่ประจักษ์ได้จากการทรงไถ่ประชาชนจากอียิปต์ (ผู้วินิจฉัย 2:1) แต่อนาคตของพันธสัญญานั้นขึ้นกับเงื่อนไขของความซื่อสัตย์ของอิสราเอลในฐานะคู่พันธสัญญาต่อพระยาห์เวห์แต่เพียงพระองค์เดียว ความล้มเหลวในการขับไล่ศัตรูใน 1:28–36 แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นผลจากความอ่อนแอทางการทหาร (1:19) แต่เป็นผลมาจากความไม่ซื่อสัตย์ของอิสราเอลต่อพันธสัญญา (2:2–3) ปฏิกิริยาของประชาชนต่อการบอกเหตุล่วงหน้าอันรุนแรงนี้เป็นศัพทมูลของสถานที่ที่ทูตของพระยาห์เวห์ปรากฏ (2:4–5)[5]

วรรค 1[แก้]

ทูตของพระยาห์เวห์ได้ขึ้นไปจากกิลกาลถึงโบคิม และท่านกล่าวว่า "เราได้นำเจ้าทั้งหลายขึ้นมาจากอียิปต์ และได้นำพวกเจ้าเข้ามายังแผ่นดินซึ่งเราได้ปฏิญาณไว้แก่บรรพบุรุษของเจ้าทั้งหลายว่า 'เราจะไม่มีวันหักพันธสัญญาที่เราทำกับเจ้าเลย' " [9]
  • "ทูตของพระยาห์เวห์": จากภาษาฮีบรู מלאך יהוה, malak YHWH[10] เช่นเดียวกับที่ใช้ในฮักกัย 1:13 ใช้กล่าวถึงผู้เผยพระวจนะในอิสยาห์ 42:19 และมาลาคี 3:6 ใช้กล่าวถึงปุโรหิตในมาลาคี 2:7 ตีความได้ว่าเป็น "ผู้ส่งสารของพระผู้เป็นเจ้า" ตาร์คุมถอดความว่าเป็น "ผู้เผยพระวจนะที่มีสารจากพระยาห์เวห์" แต่ในหนังสือผู้วินิจฉัย คำนี้หมายถึงทูตสวรรค์ที่พระเจ้าทรงส่งมาโดยตรงเพื่อเป็นถ่ายทอดพระวจนะเพราะ:[11]
  1. วลีในความหมายนี้ถูกใช้หลายครั้งในหนังสือผู้วินิจฉัย (ผู้วินิจฉัย 6:11-12; ผู้วินิจฉัย 6:21-22; ผู้วินิจฉัย 13:3; ผู้วินิจฉัย 13:13; ผู้วินิจฉัย 13:15 เป็นต้น)
  2. วลีเดียวกันในความหมายนี้ก็มีการใช้ที่อื่นเช่นกัน เช่นในปฐมกาล 16:7; ปฐมกาล 22:11; อพยพ 2:2; อพยพ 2:6; อพยพ 2:14; กันดารวิถี 22:22 เป็นต้น
  3. ทูตสวรรค์พูดในฐานะบุคคลที่หนึ่งโดยไม่ใช่คำเกริ่นนำอย่าง "พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้" อย่างที่ผู้เผยพระวจนะมักทำ[11]
นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่า "ทูตของพระยาห์เวห์" เป็นผู้เดียวกันกับ "จอมทัพของพระยาห์เวห์" ผู้ปรากฏต่อหน้าโยชูวาที่เยรีโค (โยชูวา 5:13-15)[11]

แบบแผนการไม่ซื่อสัตย์ของชาวอิสราเอล (2:6–23)[แก้]

เนื้อหาในส่วนนี้ได้วางมุมมองที่อิงตามหลักเทววิทยาของประวัติศาสตร์ตลอดหนังสือผู้วินิจฉัย ความได้เปรียบทางการทหารและการเมืองของอิสราเอลไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยในทางปฏิบัติอย่างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เอกภาพทางการเมือง และความพร้อมทางการทหาร แต่ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ของประชาชนของความสัมพันธ์ตามพันธสัญญากับพระเจ้า และน่าจะยังขึ้นกับผู้นำที่เข้มแข็งด้วยอย่างเช่นโยชูวา (วรรค 6–7)[5] เมื่อโยชูวาและคนรุ่นการอพยพเสียชีวิตไป คนรุ่นใหม่มาแทนที่ แต่พวกเขาไม่รู้จักพระยาห์เวห์หรือสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่ออิสราเอล (วรรค 10) นี่จึงส่งสัญญาณถึงปัญหาของอิสราเอลในหนังสืออื่น ๆ ของคัมภีร์ไบเบิล (เปรียบเทียบกับ อพยพ 1:8; 1 พงศ์กษัตริย์ 12:8)[5] วรรค 11–23 สรุปแบบแผนของประวัติศาสตร์อิสราเอลภายใต้ผู้วินิจฉัยดังนี้:[5]

  • การไม่เชื่อฟัง
  • การถูกลงโทษด้วยความพ่ายแพ้หรือการถูกกดขี่
  • ความทุกข์ยากของประชาชน
  • การขึ้นสู่อำนาจของ "ผู้วินิจฉัย" ผู้หนุนใจและปลดปล่อยอิสราเอล
  • การเสียชีวิตของผู้วินิจฉัย
  • กลับไปสู่การไม่เชื่อฟัง
  • ความพ่ายแพ้

กรอบโครงสร้างของแบบแผนนี้เปรียบเทียบได้ในเชิงเทววิทยาและเชิงภาษากับเฉลยธรรมบัญญัติ 4:21–31; 6:10–15; 9:4–7; 12:29–32; 28:25 รวมไปถึงหนังสือผู้วินิจฉัยตลอดทั้งเล่ม (เปรียบเทียบภาษาและเนื้อหาที่ 3:7–10, 12, 15; 4:1; 6:1–10; 10:6–16; 13:1)[5] เมื่อชาวอิสราเอล 'ละทิ้ง' พระยาห์เวห์ (วรรค 12–13) ไป 'เล่นชู้' กับพระต่างชาติ (วรรค 17 โดยเฉพาะพระบาอัลและพระอัชทาโรทของชาวคานาอัน จากนั้นพระยาห์เวห์จะ 'กริ้ว' และ 'พระพิโรธพลุ่งขึ้น' ต่อพวกเขา (วรรค 12,14, 20)[5] ข้อความนี้จบลงด้วยการหักมุมในเรื่องการพิชิตคานาอันที่ไม่สมบูรณ์ของอิสราเอล คือพระเจ้าทรงปล่อยให้เหล่าศัตรูยังคงอยู่เพื่อทดสอบความซื่อสัตย์ของอิสราเอล[5]

วรรค 9[แก้]

สุสานของโยชูวาใน Kifl Hares ("ทิมนาทเฮเรส") ตามความเชื่อของชาวสะมาเรีย[12]
เขาทั้งหลายก็ฝังท่านไว้ในเขตที่ดินมรดกของท่านที่เมืองทิมนาทเฮเรส ในแดนเทือกเขาเอฟราอิม ทางทิศเหนือของภูเขากาอัช[13]
  • อ้างอิงข้ามเล่ม: โยชูวา 24:30
  • "ทิมนาทเฮเรส" มีความหมายว่า "ส่วนหนึ่งของดวงอาทิตย์" ถูกเขียนด้วยชื่อว่า "ทิมนาทเสราห์" ("ส่วนที่เหลืออยู่") ในโยชูวา 19:50[11]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: โยชูวา 24, ผู้วินิจฉัย 1
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือผู้วินิจฉัยทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[8]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, p. 170.
    2. Talmud, Baba Bathra 14b-15a)
    3. 3.0 3.1 Gilad, Elon. Who Really Wrote the Biblical Books of Kings and the Prophets? Haaretz, June 25, 2015. Summary: The paean to King Josiah and exalted descriptions of the ancient Israelite empires beg the thought that he and his scribes lie behind the Deuteronomistic History.
    4. Niditch 2007, p. 177.
    5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Niditch 2007, p. 179.
    6. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    7. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    8. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    9. ผู้วินิจฉัย 2:1 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
    10. ผู้วินิจฉัย 2:1 Hebrew Text Analysis. Biblehub
    11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Ellicott, C. J. (Ed.) (1905). Ellicott's Bible Commentary for English Readers. ผู้วินิจฉัย 2. London : Cassell and Company, Limited, [1905-1906] Online version: (OCoLC) 929526708. Accessed 28 April 2019.
    12. Conder and Kitchener, 1882, p. 218 - 219
    13. ผู้วินิจฉัย 1:21 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน

    บรรณานุกรม[แก้]

    • Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 978-0195288810.
    • Finkelstein, Israel; Lederman, Zvi, บ.ก. (1997). Highlands of many cultures. Tel Aviv: Institute of Archaeology of Tel Aviv University Publications Section. ISBN 965-440-007-3.
    • Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
    • Hayes, Christine (2015). Introduction to the Bible. Yale University Press. ISBN 978-0300188271.
    • Niditch, Susan (2007). "10. Judges". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 176–191. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
    • Schürer, E. (1891). Geschichte des jüdischen Volkes im Zeitalter Jesu Christi [A History of the Jewish People in the Time of Jesus Christ]. Geschichte de jüdischen Volkes im Zeitalter Jesu Christi.English (ภาษาอังกฤษ). Vol. 1. แปลโดย Miss Taylor. New York: Charles Scribner's Sons.
    • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]