ผู้วินิจฉัย 5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้วินิจฉัย 5
หน้าของหนังสือผู้วินิจฉัยในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือผู้วินิจฉัย
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู2
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม (สัตตบรรณ)
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์7

ผู้วินิจฉัย 5 (อังกฤษ: Judges 5) เป็นบทที่ 5 ของหนังสือผู้วินิจฉัยในพันธสัญญาเดิมหรือคัมภีร์ฮีบรู[1] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเขียนโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอล[2][3] แต่นักวิชาการสมัยใหม่มองว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สายเฉลยธรรมบัญญัติซึ่งครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติถึงหนังสือพงศ์กษัตริย์ฉบับที่ 2 เชื่อว่าเขียนโดย เขียนโดยผู้เขียนศาสนายาห์เวห์ผู้รักชาติและศรัทธาในสมัยของโยสิยาห์กษัตริย์ยูดาห์นักปฏิรูปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 5 ของหนังสือผู้วินิจฉัยบันทึกถึงกิจกรรมของผู้วินิจฉัยเดโบราห์[5] อยู่ในส่วนที่ประกอบด้วยผู้วินิจฉัย 3:1 ถึง 5:31[6]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 31 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[8][a]

วิเคราะห์[แก้]

การศึกษาด้านภาษาศาสตร์โดยชิสโฮล์มเผยให้เห็นว่าเนื้อหาส่วนกลางของหนังสือผู้วินิจฉัย (ผู้วินิจฉัย 3:7–16:31) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงตาม 6 คำสร้อยที่กล่าวว่าชาวอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์:[10]

ช่วงที่ 1

A 3:7 ויעשו בני ישראל את הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์[11]
B 3:12 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
และคนอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก
B 4:1 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรของพระยาห์เวห์อีก

ช่วงที่ 2

A 6:1 ויעשו בני ישראל הרע בעיני יהוה
แล้วคนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรของพระยาห์เวห์
B 10:6 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก
B 13:1 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลได้ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก

นอกจากนี้จากหลักฐานทางภาษา คำกริยาที่ใช้อธิบายการที่พระเจ้าทรงตอบสนองต่อบาปของชาวอิสราเอลก็มีรูปแบบซ้ำ ๆ และสามารถจัดกลุ่มให้เข้ากับการแบ่งส่วนข้างต้น:[12]

ช่วงที่ 1

3:8 וימכרם, "ทรงขายพวกเขา," จากรากศัพท์ מָכַר, makar
3:12 ויחזק, "ทรงเสริมกำลัง" จากรากศัพท์ חָזַק, khazaq
4:2 וימכרם, "ทรงขายพวกเขา" จากรากศัพท์ מָכַר, makar

ช่วงที่ 2

6:1 ויתנם, "ทรงมอบพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ נָתַן, nathan
10:7 וימכרם, "ทรงขายพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ מָכַר, makar
13:1 ויתנם, "ทรงมอบพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ נָתַן, nathan

เพลงแห่งชัยชนะของเดโบราห์ในบทนี้เป็นหนึ่งในผลงานวรรณกรรมของชาวอิสราเอลที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ มีอายุราวศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสตกาล

หัวเรื่อง (5:1)[แก้]

ในวันนั้น นางเดโบราห์กับบาราคบุตรอาบีโนอัมร้องเพลงว่า[13]
  • "ร้องเพลง": คำกริยาภาษาฮีบรูอยู่ในรูปเอกพจน์เพศหญิงเพื่อบ่งบอกว่าบทเพลงที่ตามมาเป็นการประพันธ์ของเดโบราห์ผู้เผยพระวจนะหญิง และขับร้องโดยตัวเธอเอง และช่วยร้องโดยบาราคผู้ซึ่งอาจจะร้องท่อน antistrophe (เปรียบเทียบกับอพยพ 15:1, 21)[14] สลับกันตอบโต้กัน เพราะมีท่อนที่เดโบราห์ร้องไม่ได้ (ซึ่งเกี่ยวกับตัวเธอเอง) เช่นเดียวกับมีท่อนที่บาราคร้องไม่ได้ (ซึ่งเกี่ยวกับตัวเขาเอง)[15] ในคัมภีร์ฮีบรู เพลงสรรเสริญนี้คล้ายกับบทเพลงของโมเสส (อพยพ15; เฉลยธรรมบัญญัติ 32) มีความโดดเด่นในรูปแบบการเขียนว่าเป็นบทกวี[16] ในธรรมเนียมของชาวอิสราเอล 'เพลงแห่งชัยชนะ' เช่นนี้เป็นแนวเพลงที่มักเกี่ยวข้องกับนักประพันธ์เพลงสตรี[17]

บทเพลงของนางเดโบราห์ (5:2–31)[แก้]

โครงสร้างของบทเพลงของนางเดโบราห์เป็นดังนี้:[18]

เนื้อหา วรรค บทของกวี
A. อารัมภบทของบทเพลง
(1) คำสรรเสริญเบื้องต้นแด่พระยาห์เวห์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเล่าให้ฟัง
2 IA
     (2) การเรียกให้ฟังบทเพลง 3
B. การเสด็จมาของพระยาห์เวห์ 4–5
C. สถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนยุทธการ 6–8 IB
D. การเรียกให้เข้าร่วมในยุทธการ 9–13 II
E. การตอบสนองของแต่ละเผ่า 14–18 III
F. ยุทธการ 19–23 IV
G. การเสียชีวิตของสิเสรา 24–27 VA
H. มารดาของสิเสรารอคอยอย่างสูญเปล่า 28–30 VB
I. การภาวนาสรุปแด่พระยาห์เวห์ 31a

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: ผู้วินิจฉัย 3, ผู้วินิจฉัย 4
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือผู้วินิจฉัยทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[9]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, p. 172.
    2. Talmud, Baba Bathra 14b-15a)
    3. 3.0 3.1 Gilad, Elon. Who Really Wrote the Biblical Books of Kings and the Prophets? Haaretz, June 25, 2015. Summary: The paean to King Josiah and exalted descriptions of the ancient Israelite empires beg the thought that he and his scribes lie behind the Deuteronomistic History.
    4. Niditch 2007, p. 177.
    5. Niditch 2007, p. 179.
    6. Chisholm 2009, pp. 251–252.
    7. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    8. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    9. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    10. Chisholm 2009, p. 251.
    11. Judges 3:7 Hebrew Text Analysis. Biblehub
    12. Chisholm 2009, p. 252.
    13. ผู้วินิจฉัย 5:1 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน
    14. Exell, Joseph S.; Spence-Jones, Henry Donald Maurice (Editors). On "Judges 5". In: The Pulpit Commentary. 23 volumes. First publication: 1890. Accessed 24 April 2019.
    15. Kennicott's Remarks on Select Passages of the Old Testament, p. 94. apud Benson, Judges 5
    16. Benson, Joseph. Commentary on the Old and New Testaments: Judges 5, accessed 9 July 2019.
    17. Niditch 2007, p. 181.
    18. Webb 2012, p. 202.

    บรรณานุกรม[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]