นางรูธ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางรูธ 1
ม้วนหนังสือเขียนด้วยมือของหนังสือนางรูธโดยอาลักษณ์ Elihu Shannon แห่ง Kibbutz Saad, อิสราเอล (ราว ค.ศ. 2005)
หนังสือหนังสือนางรูธ
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูFive Megillot
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู2
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์8

นางรูธ 1 (อังกฤษ: Ruth 1) เป็นบทแรกของหนังสือนางรูธในคัมภีร์ฮีบรูของพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเคทูวีม (ข้อเขียน)[3][4] บทที่ 1 ของหนังสือนางรูธประกอบด้วยเรื่องราวที่เอลีเมเลคพ่อบิดาของรูธหนีการกันดารอาหารมาอาศัยที่โมอับและเสียชีวิตที่นั่น (นางรูธ 1:1-5), นาโอมีกลับไปบ้านและรูธได้ติดตามไปด้วย (นางรูธ 1:6-18) แล้วพวกเธอก็มาถึงเบธเลเฮม (นางรูธ 1:19-22)[5]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 22 วรรค

รูปแบบของต้นฉบับ[แก้]

บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูเป็น Masoretic Text ได้แก่ Aleppo Codex (ศตวรรษที่ 10) และ Codex Leningradensis (ค.ศ. 1008)[6] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q104 (4QRutha; ราว 50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 1–12[7][8][9] และ 4Q105 (4QRuthb; 30 ปีก่อนคริสตกาล- ค.ศ. 68) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 1‑6, 12‑15,[7][10][11] โดยมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยจาก Masoretic Text[12]

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของเซปทัวจินต์ ได้แก่ There is also a translation into Koine Greek known as the Septuagint, made in the last few centuries BC. Extant ancient manuscripts of the Septuagint version include Codex Vaticanus (B; B; ศตวรรษที่ 4) และ Codex Alexandrinus (A; A; ศตวรรษที่ 5)[13][a]

ชุดสามเรื่องของเบธเลเฮม[แก้]

วรรค 1[แก้]

ภาพวาดคัมภีร์ไบเบิลของนางรูธ 1:1, Sweet Media (1984)
ในสมัยที่พวกผู้วินิจฉัยครอบครองอยู่นั้น เกิดกันดารอาหารขึ้นในแผ่นดิน มีชายคนหนึ่งเป็นชาวเมืองเบธเลเฮมในยูดาห์ ไปอาศัยอยู่ในดินแดนโมอับพร้อมกับภรรยาและบุตรชายสองคน[15]
  • "ในสมัยที่พวกผู้วินิจฉัยครอบครองอยู่นั้น": แปลตรงตัวว่า "เมื่อผู้วินิจฉัยทำการวินิจฉัย"[16][17] เรื่องเล่าในหนังสือนางรูธเกิดขึ้นในช่วงต้นของยุคผู้วินิจฉัย แม้ว่าไม่สามารถระบุวันเวลาที่แน่ชัดได้[5]

วรรค 2[แก้]

ชายคนนั้นชื่อเอลีเมเลค ภรรยาชื่อนาโอมี บุตรสองคนชื่อมาห์โลนและคิลิโอน เป็นชาวเอฟราธาห์จากเมืองเบธเลเฮมในยูดาห์ พวกเขาเดินทางเข้าไปในดินแดนโมอับและอาศัยอยู่ที่นั่น[18]

วรรค 3[แก้]

แต่เอลีเมเลค สามีของนางนาโอมีตาย ทิ้งนางไว้กับบุตรชายทั้งสอง[19]

วรรค 4[แก้]

บุตรชายสองคนนี้ แต่งงานกับหญิงชาวโมอับ คนหนึ่งชื่อว่าโอรปาห์ และอีกคนหนึ่งชื่อรูธ เขาทั้งหลายอยู่ที่นั่นประมาณสิบปี[20]

วรรค 5[แก้]

แล้วมาห์โลนและคิลิโอนก็ตาย เหลือแต่นาโอมีที่ต้องอยู่อย่างไม่มีสามีและบุตรชายทั้งสอง[21]

วรรค 6[แก้]

แล้วนางพร้อมกับบุตรสะใภ้ทั้งสอง ก็ลุกขึ้นเดินทางกลับจากดินแดนโมอับ เพราะว่าเมื่ออยู่ที่โมอับนั้น นางได้ยินว่า พระยาห์เวห์ได้ทรงเยี่ยมเยียนชนชาติของพระองค์ และประทานอาหารแก่เขาทั้งหลาย[22]
  • "บุตรสะใภ้": จากภาษาฮีบรู כַּלּתֶיהָ - แปลตรงตัวว่า "เจ้าสาวของเธอ" มีความหมายว่า "เจ้าสาวของบุตรชายของเธอ"[16]

วรรค 16[แก้]

ภาพวาดคัมภีร์ไบเบิลของนางรูธ 1: รูธยังอยู่กับนาโอมี ส่วนโอรปาห์จากพวกเขาไป, Sweet Media (1984)
แต่รูธตอบว่า "ขอแม่อย่าวิงวอนให้ลูกจากแม่หรือเลิกตามแม่กลับไปเลย เพราะแม่จะไปไหนลูกจะไปด้วย และแม่จะอาศัยอยู่ที่ไหนลูกก็จะอยู่ที่นั่นด้วย ชนชาติของแม่จะเป็นชนชาติของลูก และพระเจ้าของแม่ก็จะเป็นพระเจ้าของลูก"[23]

วรรค 20[แก้]

นาโอมีตอบเขาว่า "ขออย่าเรียกฉันว่านาโอมีเลย ขอเรียกฉันว่า มาราเถอะ เพราะว่าองค์ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ได้ทรงทำให้ชีวิตฉันขมขื่นยิ่งนัก"[24]

วรรค 21[แก้]

"เมื่อฉันจากเมืองนี้ไป ฉันมีทุกอย่างครบบริบูรณ์ พระยาห์เวห์ทรงพาฉันกลับมาตัวเปล่า จะเรียกฉันว่านาโอมีทำไมเล่า? ในเมื่อพระยาห์เวห์ทรงให้ฉันทุกข์ใจ และองค์ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ทรงให้ฉันต้องประสบเหตุร้ายเช่นนี้"[26]

วรรค 22[แก้]

ดังนั้นนาโอมีพร้อมกับรูธบุตรสะใภ้ชาวโมอับก็กลับมาจากดินแดนโมอับ และเขาทั้งสองมายังเมืองเบธเลเฮมในต้นฤดูเกี่ยวข้าวบาร์เลย์[27]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: หนังสือผู้วินิจฉัย, หนังสือซามูเอล, มัทธิว 2, ลูกา 2
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือนางรูธทั้งเล่มขาดหายไปจาก Codex Sinaiticus ที่หลงเหลืออยู่[14]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Collins 2014.
    2. Hayes 2015.
    3. Metzger, Bruce M., et al. The Oxford Companion to the Bible. New York: Oxford University Press, 1993.
    4. Bruce C. Birch, Thomas B. Dozeman, Nancy Kaczmarczyk . 1998. The New Interpreter's Bible: Volume:II. Nashville: Abingdon.
    5. 5.0 5.1 Robert Jamieson, Andrew Robert Fausset; David Brown. Jamieson, Fausset, and Brown's Commentary On the Whole Bible. 1871. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
    6. Würthwein 1995, pp. 36–37.
    7. 7.0 7.1 Dead sea scrolls - Ruth
    8. Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill. pp. 735. ISBN 9789004181830. สืบค้นเมื่อ May 15, 2017.
    9. Fitzmyer, Joseph A. (2008). A Guide to the Dead Sea Scrolls and Related Literature. Grand Rapids, MI: William B. Eerdmans Publishing Company. p. 42. ISBN 9780802862419. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019.
    10. Fitzmyer 2008, p. 42.
    11. Ulrich 2010, p. 736.
    12. Emmerson 2007, p. 192.
    13. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    14. Shepherd, Michael (2018). A Commentary on the Book of the Twelve: The Minor Prophets. Kregel Exegetical Library. Kregel Academic. p. 13. ISBN 978-0825444593.
    15. นางรูธ 1:1 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน (THSV11)
    16. 16.0 16.1 16.2 Joseph S. Exell; Henry Donald Maurice Spence-Jones (Editors). The Pulpit Commentary. 23 volumes. First publication: 1890. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
    17. Note [a] on Ruth 1:1 in NKJV.
    18. นางรูธ 1:2 THSV11
    19. นางรูธ 1:3 THSV11
    20. นางรูธ 1:4 THSV11
    21. นางรูธ 1:5 THSV11
    22. นางรูธ 1:6 THSV11
    23. นางรูธ 1:16 THSV11
    24. นางรูธ 1:20 THSV11
    25. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ barnes
    26. นางรูธ 1:21 THSV11
    27. นางรูธ 1:22 THSV11

    บรรณานุกรม[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]