ผู้วินิจฉัย 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้วินิจฉัย 4
หน้าของหนังสือผู้วินิจฉัยในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือผู้วินิจฉัย
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู2
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม (สัตตบรรณ)
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์7

ผู้วินิจฉัย 4 (อังกฤษ: Judges 4) เป็นบทที่ 4 ของหนังสือผู้วินิจฉัยในพันธสัญญาเดิมหรือคัมภีร์ฮีบรู[1] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเขียนโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอล[2][3] แต่นักวิชาการสมัยใหม่มองว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สายเฉลยธรรมบัญญัติซึ่งครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติถึงหนังสือพงศ์กษัตริย์ฉบับที่ 2 เชื่อว่าเขียนโดย เขียนโดยผู้เขียนศาสนายาห์เวห์ผู้รักชาติและศรัทธาในสมัยของโยสิยาห์กษัตริย์ยูดาห์นักปฏิรูปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 4 ของหนังสือผู้วินิจฉัยบันทึกถึงกิจกรรมของผู้วินิจฉัยเดโบราห์[5] อยู่ในส่วนที่ประกอบด้วยผู้วินิจฉัย 3:1 ถึง 5:31[6]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 24 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ XJudges (XJudg, X6; 50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 5–8[8][9][10]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[11][a]

วิเคราะห์[แก้]

การศึกษาด้านภาษาศาสตร์โดยชิสโฮล์มเผยให้เห็นว่าเนื้อหาส่วนกลางของหนังสือผู้วินิจฉัย (ผู้วินิจฉัย 3:7–16:31) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงตาม 6 คำสร้อยที่กล่าวว่าชาวอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์:[13]

ช่วงที่ 1

A 3:7 ויעשו בני ישראל את הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์[14]
B 3:12 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
และคนอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก
B 4:1 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรของพระยาห์เวห์อีก

ช่วงที่ 2

A 6:1 ויעשו בני ישראל הרע בעיני יהוה
แล้วคนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรของพระยาห์เวห์
B 10:6 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก
B 13:1 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลได้ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก

นอกจากนี้จากหลักฐานทางภาษา คำกริยาที่ใช้อธิบายการที่พระเจ้าทรงตอบสนองต่อบาปของชาวอิสราเอลก็มีรูปแบบซ้ำ ๆ และสามารถจัดกลุ่มให้เข้ากับการแบ่งส่วนข้างต้น:[15]

ช่วงที่ 1

3:8 וימכרם, "ทรงขายพวกเขา," จากรากศัพท์ מָכַר, makar
3:12 ויחזק, "ทรงเสริมกำลัง" จากรากศัพท์ חָזַק, khazaq
4:2 וימכרם, "ทรงขายพวกเขา" จากรากศัพท์ מָכַר, makar

ช่วงที่ 2

6:1 ויתנם, "ทรงมอบพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ נָתַן, nathan
10:7 וימכרם, "ทรงขายพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ מָכַר, makar
13:1 ויתנם, "ทรงมอบพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ נָתַן, nathan

เดโบราห์ (4:1–16)[แก้]

บทนี้เปิดเรื่องด้วยรูปแบบการเล่าเรื่องตามแบบแผนของหนังสือผู้วินิจฉัย เชื่อมโยงกับสมัยเอฮูดเป็นผู้วินิจฉัยโดยไม่ได้อ้างอิงถึงชัมการ์ (ผู้ซึ่งจะถูกกล่าวถึงในภายในหลังในผู้วินิจฉัย 5) เพื่อแนะนำผู้เผยพระวจนะหญิงเดโบราห์ในฐานะผู้ช่วยกู้และผู้วินิจฉัย (วรรค 4) ภายหลังจากที่ชาวอิสราเอลทูลร้องทุกข์ต่อพระเจ้าให้ทรงช่วยจากการกดขี่[16]

เดโบราห์นำพระบัญชาที่ได้รับโดยตรงจากพระเจ้ามาแจ้งแก่บาราคซึ่งเป็นผู้นำของชาวอิสราเอลให้เข้ารบของทหารของยาบิน ที่นำโดยแม่ทัพสิเสรา และด้วยเหตุนี้จึงแสดงให้เห็นว่าพระยาห์เวห์เป็นจอมทัพสูงสุดในสงครามศักดิ์สิทธิ์ที่ต่อสู้โดยประชากรของพระองค์[16]

โครงสร้างของส่วนนี้ประกอบด้วยวรรค 6–16 ดังต่อไปนี้:[17]

A การบัญชาของเดโบราห์และการตอบสนองของบาราค (4:6–9)
a. เดโบราห์บัญชาบาราคให้รวบรวมพลและรับรองชัยชนะ (4:6–7)
b. บาราคขอให้เดโบราห์ไปด้วย (4:8)
c. บาราคได้ตามคำขอ แต่จะไม่ได้รับเกียรติ (4:9)
B บาราคจัดกำลังพล (4:10)
a. บาราคเรียก (z'q) กำลังพลไปที่เคเดช (4:10a1)
b. บาราคขึ้นไป (ʼlh) กับกำลังพล (4:10a2–b)
B' สิเสราจัดกำลังพล (4:12–13)
a. สิเสราได้ยินว่าบาราคขึ้นไป (ʼlh) แล้ว (4:12)
b. สิเสราเรียก (z'q) กำลังพลไปที่แม่น้ำคีโชน (4:13)
A' การบัญชาของเดโบราห์และการตอบสนองของบาราค (4:14–16)
a. เดโบราห์บัญชาบาราคให้เข้ารบและรับรองชัยชนะ (4:14a)
b. บาราคลงไปรบ (4:14b)
c. บาราคได้ชัยชนะ แต่ไม่ได้ตัวสิเสรา (4:15–16)

ในวรรค 12-16 รูปแบบไถ่ของชาวอิสราเอลสมบูรณ์ด้วยชัยชนะของผู้ด้อยกว่าตามคำเผยพระวจนะโดยผู้เผยพระวจนะหญิงเดโบราห์[16]

วรรค 4[แก้]

ยังมีผู้เผยพระวจนะหญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้วินิจฉัยคนอิสราเอลในเวลานั้น ชื่อเดโบราห์ ภรรยาของลัปปิโดท[18]

ยาเอลสังหารสิเสรา (4:17–24)[แก้]

"ยาเอลสังหารสิเสรา" ภาพวาดโดย Palam il Giovane (ค.ศ. 1550-1628)

โครงสร้างของส่วนนี้เป็นดังนี้:[19]

สิเสรามาที่เต็นท์ของยาเอล (4:17)

A ยาเอลเชิญให้สิเสราเข้ามาในเต็นท์ของเธอ (4:18a)
B สิเสราเข้ามาและขอให้ช่วยเหลือ (4:18b–20)
C ยาเอลสังหารสิเสรา (4:21)

บาราคมาที่เต็นท์ของยาเอล (4:22a1)

A' ยาเอลเชิญให้บาราคเข้ามาในเต็นท์ของเธอ (4:22a2)
B' บาราคเข้าไปตามคำเชิญ (4:22b1)
C' ยาเอลแสดงสิเสราที่ถูกสังหารแก่บาราค (4:22b2)

ในส่วนนี้ สิเสราหาที่ซ่อนตัวจากชาวอิสราเอลที่ไล่ตาม แล้วไปถึงเต็นท์ของยาเอลโดยบังเอิญ ยาเอลจงใจออกไปพบสิเสราและหลอกให้สิเสราตายใจว่าเธอจะช่วยเขาได้ (เปรียบเทียบกับสิ่งที่เอฮูดกระทำแก่เอกโลนในผู้วินิจฉัย 3) [19][20] สิเสราขอน้ำ แต่ยาเอลแสดงการต้อนรับอย่างมีไมตรีจิตตามแบบตะวันออกใกล้โบราณโดยการให้นมแก่สิเสราแทน ("ยาเอล" (ฮีบรู: יָעֵל Yāʿēl) มีความหมายว่า "แพะภูเชา" ("ibex") เธออาจจะนำนมแพะให้กับสิเสรา[19]) และนำผ้ามาคลุมให้แก่สิเสราจนสิเสราเผลอหลับไป ยาเอลจึงใช้ค้อนตอกหลักขึงเต็นท์เข้าที่ขมับของสิเสราจนตาย[21] วีรกรรมนี้ได้รับการขับร้องเป็นบทเพลงด้วยรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างกันเล็กน้อยในบทกวีโบราณของผู้วินิจฉัย 5 วรรค 22 ซึ่งเป็นไปตามคำเผยพระวจนะของเดโบราห์ (4:9)[21]

สองวรรคสุดท้าย (23–24) ประกอบด้วยความเน้นย้ำว่าพระยาห์เวห์ทรงควบคุมยุทธการและช่วยเหลือชาวอิสราเอลจากผู้กดขี่[21]

วรรค 20[แก้]

สิเสราบอกนางว่า "ขอยืนเฝ้าที่ประตูเต็นท์ ถ้ามีใครมาถามว่า 'มีใครมาพักที่นี่บ้าง?' จงบอกว่า 'ไม่มี "[22]

คำกล่าวสุดท้ายของสิเสราต่อยาเอล (ก่อนที่สิเสราจะถูกยาเอลสังหาร) มีการแฝงนัย โดยเป็นการเล่นคำกับคำว่า "ใคร" (ภาษาฮีบรู ʼiš) "ใคร" คำแรกใช้กล่าวถึงผู้ที่มาที่เต็นท์ ซึ่งก็คือบาราค ส่วน "ใคร" คำที่สองหมายถึงผู้ที่อยู่ในเต็นท์ ซึ่งก็คือสิเสรา และคำตอบควรเป็น "ไม่มี" เพราะสิเสราจะไม่มีชีวิตอยู่แล้วเมื่อบาราคมาถึง[23][19]

โบราณคดี[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: ผู้วินิจฉัย 3, ผู้วินิจฉัย 5
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือผู้วินิจฉัยทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[12]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, p. 172.
    2. Talmud, Baba Bathra 14b-15a)
    3. 3.0 3.1 Gilad, Elon. Who Really Wrote the Biblical Books of Kings and the Prophets? Haaretz, June 25, 2015. Summary: The paean to King Josiah and exalted descriptions of the ancient Israelite empires beg the thought that he and his scribes lie behind the Deuteronomistic History.
    4. Niditch 2007, p. 177.
    5. Niditch 2007, p. 179.
    6. Chisholm 2009, pp. 251–252.
    7. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    8. Ulrich 2010, p. 254.
    9. Dead sea scrolls - Judges
    10. Fitzmyer 2008, p. 162.
    11. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    12. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    13. Chisholm 2009, p. 251.
    14. Judges 3:7 Hebrew Text Analysis. Biblehub
    15. Chisholm 2009, p. 252.
    16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 Niditch 2007, p. 180.
    17. Younger 2002, pp. 140, 142.
    18. ผู้วินิจฉัย 4:4 THSV11
    19. 19.0 19.1 19.2 19.3 Younger 2002, p. 144.
    20. Niditch 2007, pp. 180–181.
    21. 21.0 21.1 21.2 Niditch 2007, p. 181.
    22. ผู้วินิจฉัย 4:20 THSV11
    23. Murray, "Narrative Structure and Technique in the Deborah-Barak Story," 180, 183. Schökel, Alonso, "Erzählkunst", p. 166, apud Webb 2012, p.184

    บรรณานุกรม[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]