โอลิมปิกฤดูร้อน 2000

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 27
Games of the XXIV Olympiad
เมืองเจ้าภาพออสเตรเลีย ซิดนีย์ ออสเตรเลีย
คำขวัญแบ่งปันจิตใจ กล้าที่จะฝัน เกมแห่งสหัสวรรษใหม่
(อังกฤษ: Share the Spirit Dare to Dream The Games of New Millennium)
ประเทศเข้าร่วม199 (+ นักกีฬาอิสระ 4 คน (IOA))
นักกีฬาเข้าร่วม10,651 (6,582 ชาย 4,069 หญิง)
กีฬา28 ชนิด
พิธีเปิด15 กันยายน พ.ศ. 2543
พิธีปิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ประธานพิธีวิลเลียม ดีนน์
(ผู้สำเร็จราชการแห่งออสเตรเลีย)
นักกีฬาปฏิญาณเรเชลล์ ฮอกส์
ผู้ตัดสินปฏิญาณปีเตอร์ เคอรร์
ผู้จุดคบเพลิงคาธี ฟรีแมน
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาออสเตรเลีย

มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 27 ประจำปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) หรือในอีกชื่อว่า มหกรรมกีฬาแห่งสหัสวรรษ เป็นงานกีฬาระดับโลกจัดขึ้นที่นครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติในห้วงรอยต่อของสหัสวรรษ ซึ่งกว่าการแข่งขันจะเริ่มต้นในวันที่ 15 กันยายน 2543 และไฟในกระถางคบเพลิงดับลงในวันที่ 1 ตุลาคม ของปีเดียวกัน ทีมงานจัดการแข่งขันได้ทำการบ้านอย่างหนักตลอดเวลา 7 ปีนับแต่ได้รับมอบสิทธิ์ให้เป็นผู้รับหน้าเสื่อจัดการแข่งขัน

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ[แก้]

ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 ในการประชุมใหญ่ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี.) ครั้งที่ 101 ที่โมนาโก วันนั้นได้ถูกกำหนดให้เป็นวันชี้ชะตาถึงเมืองจากประเทศต่างๆ ที่ได้เสนอตัวเข้าชิงชัยสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 27 ซึ่งเมืองในกลุ่มนั้น ประกอบด้วย ซิดนีย์ของออสเตรเลีย ปักกิ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน เบอร์ลินของเยอรมัน อิสตันบูลของตุรกี แมนเชสเตอร์ของอังกฤษ โดยมีบราซิเลียของบราซิล มิลานของอิตาลี รวมถึงทัชเคนต์ของอุซเบกิสถาน ที่ได้ถอนตัวก่อนการตัดสินรอบแรก

และเป็นนครซิดนี่ย์ ของออสเตรเลีย ที่สามารถเอาชนะคู่แข่งสำคัญอย่าง กรุงปักกิ่ง ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ในการประกาศผลรอบสุดท้ายด้วยคะแนนฉิวเฉียด 45 : 43 โดยเหตุผลสำคัญๆ ที่คณะกรรมการรณรงค์การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ 2543 ของซิดนีย์ ใช้เป็นไพ่ตายนอคกรุงปักกิ่ง คือ เรื่องของเศรษฐกิจ และระบบการปกครอง รวมถึงการดึงเรื่องของสิทธิประโยชน์มาเป็นจุดขาย กล่าวคือ นักกีฬาและเจ้าหน้า ที่จากทุกชาติที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกของสหพันธ์กีฬาระดับนานาชาติมาแล้วนั้น คณะกรรมการโอลิมปิกแต่ละชาติไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายการเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหารเลยนั่นเอง

คะแนนผลการตัดสินคัดเลือกประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพ
เมือง ประเทศ รอบ 1 รอบ 2 รอบ 3 รอบ 4
ซิดนีย์ ออสเตรเลีย 30 30 37 45
ปักกิ่ง จีน 32 37 40 43
แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร 11 13 11 -
เบอร์ลิน เยอรมนี 9 9 - -
อิสตันบูล ตุรกี 7 - - -

สัญลักษณ์[แก้]

สำหรับมัสค็อต หรือสัตว์นำโชคของการแข่งขันซิดนี่ย์เกมส์ 2543 ครั้งนี้มากันเป็นชุดมีทั้งสิ้น 3 ตัว ประกอบด้วย

  • "เม่นน้อย" น่ารักน่าชัง ที่ชื่อเก๋ไก๋ว่า "มิลลี่" มีที่มาจาก มิลเลนเนี่ยม (สหัสวรรษ)
  • "นกคูคาบูร่า" ที่ชื่อ "โอลลี่" ที่มาจาก "โอลิมปิก"
  • "ตุ่นปากเป็ด" ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ซิด" ที่บ่งบอกถึง "ซิดนี่ย์" สังเวียนชิงชัยหลักนั่นเอง

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน[แก้]

ประเทศที่ร่วมแข่งขัน[แก้]

แผนที่แสดงประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน (สีเขียว)

สรุปเหรียญการแข่งขัน[แก้]

ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก
 อันดับ  ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 สหรัฐ 40 24 33 97
2 รัสเซีย 32 28 28 88
3 จีน 28 16 15 59
4 ออสเตรเลีย (เจ้าภาพ) 16 25 17 58
5 เยอรมนี 13 17 26 56
6 ฝรั่งเศส 13 14 11 38
7 อิตาลี 13 8 13 34
8 เนเธอร์แลนด์ 12 9 4 25
9 คิวบา 11 11 7 29
10 สหราชอาณาจักร 11 10 7 28

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า โอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ถัดไป
โอลิมปิกฤดูร้อน 1996
(แอตแลนตา สหรัฐ)
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
(15 กันยายน - 1 ตุลาคม ค.ศ. 2000)
โอลิมปิกฤดูร้อน 2004
(เอเธนส์ กรีซ)