นางงามจักรวาล 2007

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางงามจักรวาล 2007
พิธีกร
ศิลปินรับเชิญRBD
สถานที่จัดโอดิทอเรีย เนชั่นแนล เม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก
ถ่ายทอดทาง
เข้าร่วมประกวด77
ผ่านเข้ารอบ15
เข้าร่วมครั้งแรก
ถอนตัว
กลับมาเข้าร่วม
ผู้ชนะเลิศริโยะ โมริ
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
นางงามมิตรภาพหนิงหนิง ชาง
ธงของประเทศจีน จีน
ชุดประจำชาติยอดเยี่ยมอักนิ ปราทิสทา
ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย[1]
ขวัญใจช่างภาพแอนนา เทเรซา ลิคาโรส
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
← 2006
2008 →

นางงามจักรวาล 2007 (อังกฤษ: Miss Universe 2007) เป็นการจัดการประกวดนางงามจักรวาลครั้งที่ 56 จัดในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 [2](ตามเวลาในประเทศไทย) ณ ประเทศเม็กซิโก โดย ซูเลย์กา ริเบรา เมนโดซา นางงามจักรวาล 2006 จากปวยร์โตรีโก มอบมงกุฎให้แก่ ริโยะ โมริ[3] จากประเทศญี่ปุ่น ครองตำแหน่งนางงามจักรวาล 2007 โดยเป็นการชนะเลิศครั้งที่สองของประเทศญี่ปุ่น และเป็นครั้งที่สองที่ประเทศในทวีปเอเชียได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาลในศตวรรษที่ 21 (หลังจากอินเดียในปี ค.ศ. 2000)

ผลการประกวด[แก้]

ลำดับที่[แก้]

ผลการประกวด ผู้เข้าประกวด
นางงามจักรวาล 2007
รองอันดับ 1
รองอันดับ 2
รองอันดับ 3
รองอันดับ 4
10 คนสุดท้าย
15 คนสุดท้าย

คะแนนรอบตัดสิน[แก้]

รางวัลพิเศษ[แก้]

รางวัล ผู้ชนะ
นางงามมิตรภาพ
  • ธงของประเทศจีน จีน – หนิงหนิง ชาง
ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม
ขวัญใจช่างภาพ

ลำดับการประกาศชื่อ[แก้]

กรรมการตัดสิน[แก้]

  • โทนี่ โรโม - นักกีฬาอเมริกันฟุตบอล
  • เจมส์ ไคสัน ลี - นักแสดง
  • นีน่า กราเซีย - กรรมการจากรายการ Project Runway
  • เดฟ นาวาร์โร - นักร้องเพลงร็อค
  • ดายานาร่า ตอร์เรส - นางงามจักรวาล 1993
  • มอริซิโอ อิสลาส - นักแสดง
  • ลินด์เซย์ คลูไบน์ - นางแบบจากรายการ Deal or No Deal
  • มาร์ค โบเวอร์ - แฟชั่นดีไซน์เนอร์
  • คริสเตียน มาร์เทล - นางงามจักรวาล 1953
  • มิเชล ควาน - นักกีฬาสเก็ตน้ำแข็งเจ้าของแชมป์โลก

ผู้เข้าประกวด[แก้]

มี 77 ผู้เข้าประกวด ดังต่อไปนี้

รายละเอียดในปี 2007[แก้]

  • ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาล เป็นคนที่ 2 ของประเทศและเป็นชาวเอเชียคนที่ 10 ของทวีปเอเชีย
  •  สหรัฐ ผ่านเข้ารอบได้เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน
  • ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก ผ่านเข้ารอบได้เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน
  • ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย ผ่านเข้ารอบได้เป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่เข้าร่วมการประกวด
  • การประกวดในปีนี้ถูกเรียกว่าเป็นปีแห่งพลังของเอเชีย หลังจากการประกวดในปี 1988 เป็นต้นมา โดยในปีนี้ผู้เข้าประกวดจากเอเชียสามารถผ่านเข้ารอบได้ถึง 4 คน (ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น, ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้, ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย และ  ไทย) รวมถึง 2 รางวัลพิเศษก็ตกเป็นของผู้เข้าประกวดจากทวีปเอเชียเช่นกัน (ธงของประเทศจีน จีน และ ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์)
  •  สหรัฐ ถูกโห่ไล่ในรอบโชว์ชุดประจำชาติ และในการโชว์ตัวก่อนการประกวดจริง นอกจากนี้ยังเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มโดยเธอล้มกระแทกลงไปนั่งกับพื้น ในระหว่างการประกวดในรอบชุดราตรี แต่ท้ายที่สุดแล้วเธอถูกเรียกให้ผ่านเข้ารอบ 5 คนสุดท้าย ในขณะที่ผู้เข้าประกวดจากประเทศเม็กซิโกเจ้าภาพนั้นไม่ผ่านเข้ารอบ ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจของกองเชียร์เจ้าภาพเป็นอย่างมาก เธอโดนโห่ไล่ตลอดเวลาในการตอบคำถามในรอบสุดท้าย รวมทั้งเสียงตะโกน เม็กซิโก! เม็กซิโก! จนกระทั่งเธอกล่าวคำทักทายเป็นภาษาสเปน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มีการเชื่อมโยงเรื่องราวเข้าด้วยกัน ระหว่างเรื่องที่สาวงามจากสหรัฐอเมริกาได้เข้ารอบทั้งๆที่ลื่นล้ม กับเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก โดยเฉพาะเรื่องของผู้อพยพผิดกฎหมาย โดยเหตุการณ์ที่คล้ายกันนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการประกวดนางงามจักรวาลในปี 1993 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเม็กซิโก โดยมีเสียงโห่ไล่นางงามจากสหรัฐอเมริกาที่สามารถผ่านเข้ารอบได้ แต่นางงามจากเม็กซิโกเจ้าภาพนั้นตกรอบ
  • ธงของปวยร์โตรีโก ปวยร์โตรีโก ได้ตำแหน่งรองอันดับ 1 ในปี 2005 และได้เป็นนางงามจักรวาล ในปี 2006 เช่นเดียวกับ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ที่ได้ตำแหน่งรองอันดับ 1 ในปี 2006 และได้เป็นนางงามจักรวาล ในปี 2007
  • ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ชนะรางวัล ขวัญใจช่างภาพ เป็นครั้งที่ 7 (3 ครั้งติดต่อกัน)
  • ธงของประเทศจีน จีน ชนะรางวัล นางงามมิตรภาพ เป็นครั้งแรก
  • ปีนี้เป็นปีแรกที่ไม่มีการมอบรางวัล ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม นับตั้งแต่มีการมอบรางวัลมา

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "3. Agni Pratistha, national costume bertema "Dayak"". Times of Indonesia. สืบค้นเมื่อ January 23, 2017.
  2. "ร่วมเชียร์น้องกวางลุ้นนางงามจักรวาล". Sanook. สืบค้นเมื่อ 2006-05-28.
  3. "Miss Japan crowned Miss Universe 2007". TODAY. สืบค้นเมื่อ 2006-05-28.[ลิงก์เสีย]
  4. Walters, Basil (2007-04-01). "Rastafarians embrace first beauty queen". Jamaica Observer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-10. สืบค้นเมื่อ 2007-04-18.

แหล่งข้อมูล[แก้]