ทศภูมิ
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
ทศภูมิ หรือ โพธิสัตว์ทศภูมิ เป็นคติว่าด้วยลำดับการบรรุลธรรมของพระโพธิสัตว์ คำว่า "ภูมิ" แปลว่า "แผ่นดิน" แต่ในที่นี้หมายถึงลำดับขั้น หากเทียบกับฝ่ายเถรวาทคือคำว่า "ภูมิธรรม" ทศภูมิทั้ง 10 ลำดับ หรือ ภูมิทั้งสิบ (十地) ปรากฏอยู่ในแนวคิดของฝ่ายมหายาน และวัชรยาน โดยมีรายละเอียดเป็นพิเศษในอวตังสกสูตร หรือ พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค มีดังนี้
- ประมุทิตาภูมิ (歡喜地) พระโพธิสัตว์ปราโมทย์ยินดีที่มีดวงตาเห็นธรรมบ้างแล้ว และมีความยินดีในความไร้ทุกข์ของสัตว์ ภูมินี้บำเพ็ญหนักในทานบารมี[1] [2][3]
- วิมลาภูมิ (離垢地) พ้นแล้วจากมลทิน กล่าวคือ พระโพธิสัตว์ละมิจฉาจริยาได้เด็ดขาด ปฏิบัติแต่ในสัมมาจริยา แม้แต่ในความฝันก็ไม่กระทำเรื่องอกุศล ภูมินี้มีศีลบารมีเป็นใหญ่[4] [5][6]
- ประภากรีภูมิ (發光地) ประหนึ่งว่าได้แสงโอภาสเผาผลาญอกุศลมูลเสียสิ้น กล่าวคือ พระโพธิสัตว์ทำลายอวิชาได้เด็ดขาด มีความอดทน (ตบะ) ทุกประการ ภูมินี้มีขันติบารมีเป็นใหญ่[7][8] [9]
- อรจิษมตีภูมิ (焰慧地 ) พระโพธิสัตว์มีปัญญาเรืองรอง หลุดพ้นจากการยึดติด ประกาศภูมิรู้ชัด อีกทั้งยังมีความเพียรในการบำเพ็ญธรรม (สมาธิ) ภูมินี้มีวิริยะบารมีเป็นใหญ่[10][11] [12]
- สุทุรชยาภูมิ (難勝地) หมายความว่า ผู้อื่นชนะยาก ผู้อื่นนี้คืออกุศลทั้งปวงไม่อาจเอาชนะพระโพธิสัตว์โดยง่าย ทั้งยังแทงตลอดในอริยสัจจ์ 4 ภูมินี้มีญาณบารมีเป็นใหญ่[13] [14][15]
- อภิมุขีภูมิ (現前地) พระโพธิสัตว์บำเพ็ญยิ่งในปัญญาบารมี เพื่อรู้แจ้งเห็นชัดในปฏิจจสมุปบาท ภูมินี้มีปัญญาบารมีเป็นใหญ่ ระดับนี้พระโพธิสัตว์อาจเข้านิพพานได้แล้ว แต่ด้วยมหากรุณา เพื่อเกื้อหนุสัตว์โลก ทำให้ดำรงเพื่อเกื้อนหนุนสรรพสัตว์ต่อไป [16][17][18]
- ทูรังคมาภูมิ (遠行地) พระโพธิสัตว์มีอุบายอันฉลาดแม้บำเพ็ญกุศลน้อย แต่ได้ผลแก่สรรพสัตว์มาก ภูมินี้มีอุบายบารมีเป็นใหญ่ นอกจากจากนี้ พระโพธิสัตว์ละสภาวะสาวกยาน กับปัจเจกโพธิยาน ซึ่งเป็นธรรมเครื่องกั้นพุทธภูมิ จึงได้ชื่อว่า ทูรังคมา คือ ก้าวไปไกลเกินกว่ายานอื่น[19] [20][21]
- อจลาภูมิ (不動地) พระโพธิสัตว์มั่นคงไม่คลอนแคลน บำเพ็ญหนักในปณิธานบารมี ในระดับนี้พระโพธิสัตว์มีสถานะเท่าพระอรหันต์แล้ว ถือว่านิพานแล้ว จึงเรียว่า อารยะโพธิสัตว์ หรือพระโพธิสัตว์ผู้เป็นอริยะบุคคล แต่ยังดำรงขันธ์อยู่เพื่อกุศลแก่สรรพสัตว์[22][23]
- สาธุมตีภูมิ (善慧地) พระโพธิสัตว์แตกฉานในอภิญญา และปฏิสัมภิทาญาณ ภูมินี้บำเพ็ญหนักในพละบารมี สามารถแทงทะลุในยานทั้ง 3 คือ สาวกยาน ปัจเจกโพธิยาน และโพธิสัตว์ยาน สามารถวิสัชชนากังขาของสรรพสัตว์ได้ในวจีเดียว [24][25][26][27]
- ธรรมเมฆภูมิ (法雲地) พระโพธิสัตว์เหมือนหนึ่งเมฆล่องลอย ไร้การยึดติดในสภาวะใด บำเพ็ญหนักในญาณบารมีมีจิตอิสระ ไม่ติดในรูปธรรม นามธรรม บำเพ็ญหนักญาณบารมี ทั้งยังโปรดสรรพสัตว์ถ้วนทั่ว เหมือนฝนจากฟ้า หลั่งมาจากเมฆ[28] [29] [30]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค
- ↑ Compassion in Tibetan Buddhism, pp. 140-142.
- ↑ William Edward Soothill, Lewis Hodous. (1934.). A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford.
- ↑ พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค
- ↑ Ibid., pp. 193-194
- ↑ William Edward Soothill, Lewis Hodous. (1934.). A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford.
- ↑ พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค
- ↑ Ibid., p.204
- ↑ William Edward Soothill, Lewis Hodous. (1934.). A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford.
- ↑ พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค
- ↑ Wongch'uk, vol. thi [119], p. 527.5.
- ↑ William Edward Soothill, Lewis Hodous. (1934.). A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford.
- ↑ พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค
- ↑ The Precious Garland, p.85
- ↑ William Edward Soothill, Lewis Hodous. (1934.). A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford.
- ↑ พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค
- ↑ Wonch'uk (vol. thi [119], p. 531.1, มาจาก Sutra on the Ten Bhumis
- ↑ William Edward Soothill, Lewis Hodous. (1934.). A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford.
- ↑ พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค
- ↑ Wonch'uk (vol. thi [119], p. 532.6)
- ↑ William Edward Soothill, Lewis Hodous. (1934.). A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford.
- ↑ พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค
- ↑ William Edward Soothill, Lewis Hodous. (1934.). A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford.
- ↑ พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค
- ↑ Sutra Explaining the Thought, p. 116.3.
- ↑ La Somme du Grand Vehicule d'Asanga, p. 208
- ↑ William Edward Soothill, Lewis Hodous. (1934.). A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford.
- ↑ พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร โพธิสัตวทศภูมิวรรค
- ↑ The Precious Garland, P. 87.
- ↑ William Edward Soothill, Lewis Hodous. (1934.). A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford.