ตำบลลำสนธิ

พิกัด: 15°18′14.8″N 101°21′33.7″E / 15.304111°N 101.359361°E / 15.304111; 101.359361
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลลำสนธิ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Lam Sonthi
ภาพถ่ายจากภูเขาฝั่งอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ เบื้องล่างเป็นพื้นที่ของตำบลลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
ภาพถ่ายจากภูเขาฝั่งอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ เบื้องล่างเป็นพื้นที่ของตำบลลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
ประเทศไทย
จังหวัดลพบุรี
อำเภอลำสนธิ
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด25.57 ตร.กม. (9.87 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด3,239 คน
 • ความหนาแน่น126.67 คน/ตร.กม. (328.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 15190
รหัสภูมิศาสตร์161001
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิ
อุโมงค์เขาพังเหย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของประเทศไทย และเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดบนเส้นทางรถไฟสายชุมทางแก่งคอย-ชุมทางบัวใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ 2 ตำบลลำสนธิ
อุโมงค์เขาพังเหย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของประเทศไทย และเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดบนเส้นทางรถไฟสายชุมทางแก่งคอย-ชุมทางบัวใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ 2 ตำบลลำสนธิ
อบต.ลำสนธิตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี
อบต.ลำสนธิ
อบต.ลำสนธิ
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิ
พิกัด: 15°18′14.8″N 101°21′33.7″E / 15.304111°N 101.359361°E / 15.304111; 101.359361
ประเทศ ไทย
จังหวัดลพบุรี
อำเภอลำสนธิ
จัดตั้ง • 7 ตุลาคม 2518 (สภาตำบลลำสนธิ)
 • 25 ธันวาคม 2539 (อบต.ลำสนธิ)
พื้นที่
 • ทั้งหมด25.57 ตร.กม. (9.87 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[2]
 • ทั้งหมด3,239 คน
 • ความหนาแน่น126.67 คน/ตร.กม. (328.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06161005
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลลำสนธิ อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี 15190
เว็บไซต์lamsonthi.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ลำสนธิ เป็น 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี เป็นตำบลที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตัดผ่าน (สายชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่) เป็นที่ตั้งของอุโมงค์เขาพังเหย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของประเทศไทย มีพื้นที่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา[3] และเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการของอำเภอ

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลลำสนธิมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ประวัติ[แก้]

ในแผนที่เดินทัพในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีปรากฏว่า จุด "สนธิกำลัง" อยู่ที่บริเวณนี้ ในการที่จะยาตราทัพไปสู่ที่ราบสูงโคราช และสู่หัวเมืองลาว ทั้งเวียงจันทน์ และหลวงพระบาง โดยที่เส้นทางคมนาคมในสมัยโบราณนั้นใช้เส้นทางตามลำน้ำเป็นหลัก กองทัพจากศูนย์กลางคือ กรุงเทพมหานครจะไปยังหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือหรือแดนลาวนี้ ต้องรวมพลกันที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองที่อยู่เหนือขึ้นไป เช่น เมืองสวรรค์ (อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท) เมืองอินทร์ (อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี) เมืองพรหม (อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี) เมืองป่าโมก เมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในอ่างทอง จะมารวมพลบรรจบกันกับทัพเมืองหลวงที่กรุงเก่า คือพระนครศรีอยุธยา แล้วเดินทางโดยเรือแพไปตามลำน้ำป่าสัก ที่วัดหลวงพ่อพนัญเชิงไปบรรจบกำลังกับเมืองสระบุรี ที่เตรียมรับอยู่ ณ ตำบลแก่งคอย (อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี) ซึ่งมีแก่งหินใหญ่ขวางลำน้ำป่าสักอยู่ ต้องคอยท่าเปลี่ยนเรือแพชุดใหม่กันที่นั่น อันเป็นจุดนัดพบ คือแก่งคอยไปตามลำน้ำป่าสักที่มีกำลังของเมืองชัยบาดาลรออยู่ ณ จุดหมายของการรวมทัพใหญ่ที่บริเวณเมืองบัวชุม และหัวเมืองทางเหนือของแม่น้ำป่าสักขึ้นไปคือ เมืองวิเชียรบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองหล่มสัก เมืองหล่มเก่า (อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์-รวมทั้งอำเภอวิเชียรบุรี ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของเพชรบูรณ์) ได้ล่องเรือมาตามแม่น้ำป่าสักจากเหนือลงใต้ มาบรรจบกับกองทัพที่ทวนน้ำจากใต้ขึ้นเหนือ บริเวณที่มาพบกันนั้น คือจุดที่ลำน้ำสายหนึ่งมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก แล้วจัดกระบวนทัพเป็นกระบวนบก จัดหมวดหมู่กรมกองกันอยู่บริเวณเชิงเทือกเขาสูงชัน ที่ตระหง่านอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นการ "สนธิกำลัง" กันอย่างสมบูรณ์ เพื่อยาตราต่อไปยังที่หมาย

"ลำน้ำที่มาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก และกำลังที่มาทางเรือได้จัดเป็นกระบวนบกนั้น มีชื่อว่า ลำน้ำสนธิ และบริเวณที่จัดกระบวนทัพ พักผ่อนไพร่พล ดำเนินการสนธิกำลังกันนั้น คือบ้านลำสนธิ หรือบ้านสนธิ"

เดิมหมู่บ้านลำสนธิเป็นหมู่บ้านในการปกครองตำบลหนองยายโต๊ะ อำเภอชัยบาดาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 หมู่บ้านได้ย้ายมาขึ้นการปกครองกับตำบลหนองรี[4] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2518 ได้แบ่งหมู่ที่ 3–7 และหมู่ที่ 10 ของตำบลหนองรี ตั้งขึ้นเป็น "ตำบลลำสนธิ"[5] ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลลำสนธิ[6] โดยเสนอให้รวมท้องที่ตำบลเขารวก ตำบลกุดตาเพชร ตำบลหนองรี ตำบลซับสมบูรณ์ เพื่อรวมขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ปีต่อมา พ.ศ. 2530 กรมการปกครองได้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งกิ่งอำเภอ ซึ่งจังหวัดลพบุรีได้เสนอขอตั้งกิ่งอำเภอลำสนธิในท้องที่อำเภอชัยบาดาล ซึ่งกรมการปกครองได้บรรจุเข้าแผนการจัดตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2530 - 2534)

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2532 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลลำสนธิ ตำบลซับสมบูรณ์ ตำบลหนองรี ตำบลกุดตาเพชร และตำบลเขารวก ออกจากการปกครองของอำเภอชัยบาดาล รวมตั้งเป็น "กิ่งอำเภอลำสนธิ"[7] ตามชื่อตำบลลำสนธิ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น "อำเภอลำสนธิ"[8] เป็นอำเภอที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 10 จาก 11 อำเภอของจังหวัดลพบุรี

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลลำสนธิแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านลำสนธิ (Ban Lam Sonthi) หมู่ 5 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองยายโต๊ะ (พ.ศ. 2514)[4]

หมู่ 3 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองรี (พ.ศ. 2518)[5]

หมู่ 2 บ้านท่าเยี่ยม (Ban Tha Yiam) หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองยายโต๊ะ (พ.ศ. 2514)[4]

หมู่ 4 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองรี (พ.ศ. 2518)[5]

หมู่ 3 บ้านโพธิ์งาม (Ban Pho Ngam) หมู่ 5 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองรี (พ.ศ. 2518)[5]
หมู่ 4 บ้านโค้งกุญชร (Ban Khong Khunchon) หมู่ 6 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองรี (พ.ศ. 2518)[5]
หมู่ 5 บ้านหนองนา (Ban Nong Na) หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองรี (พ.ศ. 2518)[5]
หมู่ 6 บ้านโค้งลำสนธิ (Ban Khong Lam Sonthi) หมู่ 10 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองรี (พ.ศ. 2518)[5]

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลลำสนธิ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำสนธิทั้งหมด ซึ่งเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลลำสนธิและยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[9]

ภาพถ่ายจากภูเขาฝั่งอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ เบื้องล่างเป็นพื้นที่ของตำบลลำสนธิ จังหวัดลพบุรี

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลลำสนธิประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 3,239 คน แบ่งเป็นชาย 1,597 คน หญิง 1,642 คน (เดือนธันวาคม 2564)[10] เป็นตำบลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ในอำเภอลำสนธิ

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2564[11] พ.ศ. 2563 [12] พ.ศ. 2562[13] พ.ศ. 2561[14] พ.ศ. 2560[15] พ.ศ. 2559[16] พ.ศ. 2558[17]
โค้งลำสนธิ 656 650 644 628 627 640 626
หนองนา 638 632 629 641 633 629 628
โพธิ์งาม 568 567 558 566 578 579 579
ลำสนธิ 510 519 531 537 540 550 547
ท่าเยี่ยม 397 399 397 392 393 389 383
โค้งกุญชร 338 345 348 342 344 327 328
*ทะเบียนบ้านกลาง 132 142 355 362 356 364 371
รวม 3,239 3,254 3,462 3,468 3,471 3,478 3,462

อ้างอิง[แก้]

  1. พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิ.
  2. ประชากรในเขตอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  3. "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าซับลังกา ในท้องที่ตำบลกุดตาเพชร และตำบลลำสนธิ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๒๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (235 ก): (ฉบับพิเศษ) 13-15. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2529
  4. 4.0 4.1 4.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอโคกสำโรง และอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (87 ง): 2215–2222. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2514
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชัยบาดาลและอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (207 ง): 2485–2518. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2518
  6. "กระทู้ถามที่ ๘๐ ร. เรื่อง ขอตั้งกิ่งอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ของ นายนิยม วรปัญญาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (22 ง): (ฉบับพิเศษ) 38-42. วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอลำสนธิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (40 ง): 1885. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2022-09-21. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2532
  8. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-09-21. วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-09-21. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.