ชิงกันเซ็ง E5 และ H5 ซีรีส์
E5 ซีรีส์ | |
---|---|
E5 ซีรีส์ ขบวน ฮายาบูซะ | |
ประจำการ | มีนาคม 2011–ปัจจุบัน |
ผู้ผลิต | ฮิตาชิ, คาวาซากิ เฮวี่ อินดรัสทรีส์ |
สายการผลิต | 2009–ปัจจุบัน |
อยู่ระหว่างผลิต | 310 ตู้ (31 ขบวน) |
จำนวนที่ผลิต | 280 ตู้ (28 ขบวน) |
จำนวนในประจำการ | 280 ตู้ (28 ขบวน) (เมื่อ เม.ย. 2014) |
รูปแบบการจัดขบวน | 10 ตู้ต่อขบวน |
หมายเลขตัวรถ | U1- |
ความจุผู้โดยสาร | 731 ที่นั่ง (658 ชั้นธรรมดา, 55 ชั้นกรีน, 18 ชั้นหนึ่ง)[1] |
ผู้ให้บริการ | JR ตะวันออก |
สายที่ให้บริการ | โทโฮกุชิงกันเซ็ง |
คุณลักษณะ | |
วัสดุตัวถัง | อลูมินัม อัลลอยด์ |
ความยาวทั้งขบวน | 253 m (830 ft) |
ความยาว | 26,500 mm (86 ft 11 in) (ตู้ปลาย) 25,000 mm (82 ft 0 in) (ตู้กลาง)[2] ที่นั่งถูกจัดเรียงแถวหน้ากระดานในรูปแบบ 3+2 มีปลั๊กไฟสำหรับที่นั่งริมหน้าต่างและแถวที่นั่งปลายตู้โดยสาร[3] |
ความกว้าง | 3,350 mm (11 ft 0 in) |
ความสูง | 3,650 mm (12 ft 0 in) |
ความเร็วสูงสุด | 320 km/h (200 mph) |
น้ำหนัก | 453.5 ตันต่อขบวน |
ระบบส่งกำลัง | MT207 AC traction motors (300 kW)[4] |
กำลังขับเคลื่อน | 9,960 kW (13,360 hp) |
ความเร่ง | 1.71 กม./ชั่วโมง/วินาที |
ระบบจ่ายไฟฟ้า | 25 kV AC, 50 Hz จ่ายไฟเหนือหัว |
ตัวรับกระแสไฟ | แหนบรับไฟ |
ระบบเบรก | ระบบคืนกำลังขณะเบรก (Regenerative) |
ระบบความปลอดภัย | DS-ATC |
สามารถทำขบวนร่วมกับ | E3 ซีรีส์/E6 ซีรีส์ |
มาตรฐานทางกว้าง | รางมาตรฐาน 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) |
E5 ซีรีส์ เป็นรุ่นของรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งของญี่ปุ่น ดำเนินงานโดย บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (JR ตะวันออก) ในเส้นทาง โทโฮกุชิงกันเซ็ง เริ่มให้บริการครั้งแรกในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554[5] ในขั้นตอนการออกแบบ เดิมรถไฟรุ่นนี้ถูกออกแบบให้มีความเร็วสูงสุด 300 กม./ชั่วโมง แต่ก็มีการปรับเพิ่มเป็น 320 กม./ชั่วโมง ในขบวน ฮายาบูซะ ระหว่างโตเกียวกับอาโอโมริ จะวิ่งให้บริการผู้โดยสารด้วยความเร็ว 300 กม./ชั่วโมง ส่วนขบวน ฮายาเตะ (ต่อพ่วงกับ E3 ซีรีส์) กับ ยามาบิโกะ จะวิ่งด้วยความเร็ว 275 กม./ชั่วโมง
การจัดขบวน
[แก้]ตู้หมายเลข 1 ถึง 8 เป็นตู้ชั้นธรรมดา ตู้หมายเลข 9 เป็นตู้ชั้นกรีน ตู้หมายแลข 10 เป็นตู้ชั้นกรังซ์ (ชั้นหนึ่ง)
เลขตู้ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รหัสผัง | T1c | M2 | M1 | M2 | M1k | M2 | M1 | M2 | M1s | Tsc |
หมายเลข | E523 | E526-100 | E525 | E526-200 | E525-400 | E526-300 | E525-100 | E526-400 | E515 | E514 |
น้ำหนัก (ตัน) | 41.9 | 45.9 | 46.0 | 46.3 | 46.1 | 46.8 | 46.8 | 46.0 | 45.8 | 42.7 |
จำนวน ที่นั่ง |
29 | 100 | 85 | 100 | 59 | 100 | 85 | 100 | 55 | 18 |
สิ่งอำนวย ความสะดวก |
สุขา | สุขา, โทรศัพท์ | สุขา, เครื่องกระตุกหัวใจ, โทรศัพท์, พื้นที่วีลแชร์ | สุขา | สุขา, พื้นที่วีลแชร์, ห้องพนักงาน |
ตู้หมายเลข 3 และ 7 เป็นตู้ที่มีแหนบรับไฟแขนเดี่ยวติดตั้งอยู่
ภายใน
[แก้]ชั้นกรังซ์มีระยะห่างที่นั่ง 130 เซนติเมตรกับเบาะกว้าง 52 เซนติเมตร สามารถปรับเอนได้สูงสุด 45 องศา ชั้นกรีนมีระยะห่างที่นั่ง 116 เซนติเมตรกับเบาะกว้าง 47.5 เซนติเมตร สามารถปรับเอนได้ 31 องศา ส่วนชั้นธรรมดามีระยะห่างที่นั่ง 104 เซนติเมตร
-
ตู้โดยสารชั้นกรังซ์ (ชั้นหนึ่ง)
-
ตู้โดยสารชั้นกรีน
-
ตู้โดยสารชั้นธรรมดา
-
ที่จ่ายไฟของที่นั่งชั้นธรรมดา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 日本最高の時速320km運転やグランクラスを実現 E5系 [Achieves Japan's highest speed of 320km / h and Gran Class E5 Series]. 完全保存版!新幹線まるわかりBOOK (ภาษาญี่ปุ่น). マイナビ出版. 2016. pp. 74–75. ISBN 9784839960049.
- ↑ JR東日本 E5系新幹線電車(量産先行車) [JR East E5 series shinkansen pre-series train]. 鉄道ダイヤ情報. Vol. 38 no. 304. Tokyo: Kotsu Shimbun. August 2009. pp. 68–69. ASIN B002EJ6WQ6.
- ↑ Osaka, Naoki (10 April 2014). なぜ北陸新幹線は全席コンセント付きなのか [Why does the Hokuriku Shinkansen have power outlets for every seat?]. Toyo Keizai Online (ภาษาญี่ปุ่น). Japan: Toyo Keizai Inc. p. 3. สืบค้นเมื่อ 23 June 2014.
- ↑ 鉄道のテクノロジー 3 JR高速特急Part.1 [Railway Technology 3: JR High-speed Limited Express Trains Part.1]. 三栄書房 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo. July 2009. p. 9. ISBN 978-4-7796-0669-4.
- ↑ 新しい東北新幹線の列車愛称等の決定について [Name selected for new Tohoku Shinkansen services] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). JR East. 11 May 2010. สืบค้นเมื่อ 11 May 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- JR East E5 series เก็บถาวร 2017-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)
- JR East E5 series Hayabusa/Hayate/Yamabiko/Nasuno information (ญี่ปุ่น)