ข้ามไปเนื้อหา

รถไฟความเร็วสูงจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟความเร็วสูงจีน
中国铁路高速
China Railway High-speed
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของกระทรวงรถไฟจีน
ที่ตั้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟความเร็วสูง
ผู้ดำเนินงานการรถไฟจีน
ประวัติ
เปิดเมื่อ18 เมษายน พ.ศ. 2550
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง8,358 กิโลเมตร [1]
รางกว้างรางมาตรฐาน (1.435 เมตร)
ระบบจ่ายไฟ25 kV 50 Hz
ความเร็ว250-480 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รถไฟความเร็วสูงจีน
อักษรจีนตัวเต็ม中國鐵路高速
อักษรจีนตัวย่อ中国铁路高速

รถไฟความเร็วสูงจีน (อักษรย่อ CRH); จีนตัวย่อ: 中国铁路高速; จีนตัวเต็ม: 中國鐵路高速; พินอิน: Zhōngguó tiělù gāosù) เป็นระบบรถไฟความเร็วสูงที่บริหารงานโดยการรถไฟจีน

เหอเสีย ห้าว (จีนตัวย่อ: 和谐号; จีนตัวเต็ม: 和諧號; พินอิน: Héxié Hào) (ความหมาย: สามัคคี) เป็นชื่อสำหรับระบบรถไฟความเร็วสูงของจีน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า "China Railway High-speed" อักษรย่อ "CRH" ซึ่งได้เริ่มดำเนินการ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2550

รถไฟความเร็วสูงแต่ละขบวนจะถูกจัดให้มีความจุสำหรับผู้โดยสาร ประมาณ 568-588 คน สำหรับ 8 ตู้ และ 1,100-1,200 คน สำหรับ 16 ตู้ หรือขึ้นอยู่กับการต่อตัวของรถไฟ [2]

ประเภทรถไฟ

[แก้]

การออกแบบระบบรถไฟความเร็วสูงทั้งหมดได้ถูกออกแบบมาจากต่างประเทศ โดยได้กำหนดให้รุ่น CRH-1 ถึง CRH-5 สำหรับการเดินทางที่รวดเร็วระหว่างเมือง ซึ่งจีนก้ได้ศึกษาและวิจัยระบบเหล่านั้น และพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเป็นของตนเอง ในปัจจุบัน จีนได้ถือครองสิทธิบัตรใหม่ ๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบภายในของรถไฟความเร็วสูง และจีนยังได้ออกแบบส่วนประกอบใหม่เพื่อให้รถไฟสามารถวิ่งที่ความเร็วมากขึ้นกว่าการออกแบบแบบเดิมๆของรถไฟต่างประเทศ จนในปัจจุบัน จีนมีแบบรถไฟความเร็วสูงต่างๆมากมาย ใช้งานไปตามแต่ละสภาพภูมิประเทศ และเศรษฐกิจ ดังนี้

  • CRH1 ได้รับการร่วมพัฒนาจากบริษัท บอมบาร์ดิเอร์ รถไฟรหัส Aและ B นี้มีชื่อเล่นว่า "เมรโทร" หรือ "ขนมปัง" มีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง
    • CRH1A; ขนาด 8 ตู้
    • CRH1B; ขนาด 16 ตู้
    • CRH1E; มีชื่อเล่นว่า "กิ้งก่า" ประเภทตู้นอน ขนาด 16 ตู้
  • CRH2; มีชื่อเล่นว่า "ดาบเงินใหญ่" (ปลาชนิดหนึ่ง) รถรุ่นนี้ได้มาจากชิงกันเซ็ง ซีรีส์ E2
    • CRH2A; ในปี 2549 ประเทศจีนได้เปิดตัว CRH2 ที่ปรับเปลี่ยนจากรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นชุด ชิงกันเซ็ง E2-1000 โดยผลิตในญี่ปุ่น
    • CRH2B; ขนาด 16 ตู้ ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง
    • CRH2C (รุ่น 1); รุ่นที่ปรับเปลี่ยนมาจาก CHR2 ความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง
    • CRH2C (รุ่น 2); รุ่นที่ปรับเปลี่ยนมาจาก CHR2C (รุ่น 1) ความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง
    • CRH2E; ประเภทตู้นอนขนาด 16 ตู้
  • CRH3C; มีชื่อเล่นว่า "กระต่าย" รถรุ่นนี้มีต้นแบบมาจาก ซีเมนส์ เวลาโร ซี (ขั้น 403) มีขนาด 8 ตู้ ความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • CRH5A; รุ่นนี้ได้มาจาก อัลสตอม Pendolino ETR600 มีขนาด 8 ตู้ ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • CRH6; ถูกออกแบบให้วิ่งได้หลายความเร็วระดับปฏิบัติการ คือ 160, 200 และ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง เริ่มใช้งานในปี พ.ศ. 2554
  • CRH380A; ความเร็วสูงสุด 380 กิโลเมตร/ชั่วโมง เริ่มใช้งานในปี พ.ศ. 2553
    • CRH380A; ขนาด 8 ตู้
    • CRH380AL; ขนาด 16 ตู้
  • CRH380B; พัฒนามาจาก CHR3 ออกแบบสำหรับเดินทางไปถังชาน และฉางชุน มีความเร็วสูงสุด 380 กิโลเมตร/ชั่วโมง
    • CRH380B; ขนาด 8 ตู้
    • CRH380BL; ขนาด 16 ตู้
  • CRH380CL; ออกแบบสำหรับเดินทางไปยังฉางชุน ความเร็วสูงสุด 380 กิโลเมตร/ชั่วโมง เริ่มใช้งานในปี พ.ศ. 2555
  • CRH380D; ความเร็วสูงสุด 380 กิโลเมตร/ชั่วโมง
    • CRH380D; ขนาด 8 ตู้
    • CRH380DL; ขนาด 16 ตู้
รุ่น ความเร็วสูงสุด
ที่ทดสอบได้
(กิโลเมตร/ชั่วโมง)
ความเร็วสูงสุด
ที่ออกแบบ
(กิโลเมตร/ชั่วโมง)
จำนวนที่นั่ง กำลังไฟฟ้า ปีที่เริ่มใช้งาน
CRH1A
278
250
668, 611, 645 5,300 kW 2550
CRH1B
292
250
1299 11,000 kW 2552
CRH1E
250
618, 642 11,000 kW 2552
CRH2A
282
250
610, 588 4,800 kW 2550
CRH2B
275
250
1230 9,600 kW 2551
CRH2C (รุ่น 1)
394.2
300
610 7,200 kW 2551
CRH2C (รุ่น 2)
350
610 8,760 kW 2553
CRH2E
250
630 9,600 kW 2551
CRH3C
394.3
350
600, 556 8,800 kW 2551
CRH5A
250
622, 586, 570 5,500 kW 2550
CRH380A
416.6
380
494 9,600 kW 2553
CRH380AL
486.1
380
1027 20,440 kW 2553
CRH380B
380
9,200 kW 2554 (แผน)
CRH380BL
487.3
380
1004 18,400 kW 2553
CRH380CL
380
19,200 kW 2555 (แผน)
CRH380D
380
495 10,000 kW 2555 (แผน)
CRH380DL
380
1013 20,000 kW 2555 (แผน)
CRH6
220
586 2554 (แผน)

รถไฟในความดูแล

[แก้]

จากข้อมูลที่เผยแพร่โดย Sinolink Securities;[3][4]

รุ่น 2006 2007 2008 2009
2010
2011
อนาคต
(แผน)

รวม
CRH1A 8 18 12 2 20 20 106 80
CRH2A 19 41 15 25 100
CRH5A 27 29 4 30 20 30 140
CRH1B 4 9 7 20
CRH1E 3 8 9 20
CRH2B 10 10
CRH2E 6 14 20
CRH2C 10 20 30 60
CRH3C 7 36 37 80
CRH380A 40 40
CRH380AL 6 94 100
CRH380B 20 201 40
CRH380BL 11 49 551 115
CRH380CL 251 25
CRH380D 702 70
CRH380DL 02 0
CRH6 24 24
รวม 27 86 78 88 204 237 330 1050
สะสม 27 113 191 279 483 744 1050 1050
  • ^1 CRH380B และ CRH380C ทั้งหมดจะถูกส่งมอบภายใน ค.ศ. 2012
  • ^2 CRH380D ทั้งหมดจะถูกส่งมอบภายใน ค.ศ. 2014

รูปภาพรถไฟความเร็วสูงจีน

[แก้]

อุบัติเหตุ

[แก้]

23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นเมื่อเวลา 20.27 น. รถไฟความเร็วสูงขบวน D301 (ปักกิ่ง-ฝูเจี้ยน) ได้พุ่งชนท้ายรถไฟความเร็วสูงขบวน D3115 (หางโจว-ฝูเจี้ยน) ขณะที่กำลังจอดนิ่งอยู่เนื่องจากเสียการควบคุมหลังจากที่ถูกฟ้าผ่า ที่เมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง ทำให้ตู้รถไฟ 4 ตู้ของขบวนรถไฟ D301 ตกจากสะพานสูง 20-30 เมตร และอีกตู้ห้อยอยู่บนสะพาน มีผู้เสียชีวิตกว่า 40 คน และบาดเจ็บมากกว่า 200 คน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dingding, Xin (2010-03-15). "Fast train to open a year ahead of schedule". China Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 2010-04-29.
  2. "International Railway Journal - Rail And Rapid Transit Industry News Worldwide". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-15. สืบค้นเมื่อ 2012-03-03.
  3. "中国南车研究报告:国金证券-中国南车-601766-通往春天的铁路设备龙头". docin.com (ภาษาจีน).
  4. "国金证券-中国北车-601299-动车交付单价已触底,毛利率回升可期". docin.com (ภาษาจีน).