คีวชูชิงกันเซ็ง
คีวชู ชิงกันเซ็ง | |||
---|---|---|---|
800 ซีรีส์ ขบวน สึบาเมะ ที่สถานีชินมินามาตะ | |||
ข้อมูลทั่วไป | |||
ชื่อลำลอง | 九州新幹線 | ||
เจ้าของ | JR คีวชู | ||
ที่ตั้ง | คีวชู | ||
ปลายทาง | |||
จำนวนสถานี | 12 | ||
การดำเนินงาน | |||
รูปแบบ | ชิงกันเซ็ง | ||
ผู้ดำเนินงาน | JR คีวชู | ||
ศูนย์ซ่อมบำรุง | คูมาโมโตะ เซ็นได | ||
ขบวนรถ | 800 ซีรีส์ N700-7000/8000 ซีรีส์ | ||
ประวัติ | |||
เปิดเมื่อ | มีนาคม พ.ศ. 2547 | ||
ข้อมูลทางเทคนิค | |||
ระยะทาง | 256.8 km (159.6 mi) | ||
รางกว้าง | 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) | ||
ระบบจ่ายไฟ | 25 kV AC, 60 Hz จ่ายไฟเหนือหัว | ||
ความเร็ว | 260 km/h (160 mph) | ||
|
รถไฟญี่ปุ่นคีวชู สาย คีวชู ชิงกันเซ็ง (ญี่ปุ่น: 九州新幹線) เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมระหว่างสองเมืองหลักบนเกาะคีวชูอย่าง ฟูกูโอกะ และ คาโงชิมะ โดยที่รถไฟความเร็วสูงสายนี้วิ่งขนานไปกับรางรถไฟเดิมของสายหลักคาโงชิมะ ดำเนินงานโดยบริษัทรถไฟญี่ปุ่นคีวชู (JR คีวชู) โดยที่รถไฟความเร็วสูงสายนี้แบ่งการก่อสร้างออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเริ่มก่อสร้างจากคาโงชิมะเป็นระยะทาง 127 กิโลเมตร เปิดให้บริการในปี 2004 และต่อมาจึงก่อสร้างต่อไปบรรจบกับซันโย ชิงกันเซ็งที่สถานีฮากาตะเป็นระยะทาง 130 กิโลเมตร เปิดให้บริการในปี 2011
สายคาโงชิมะ
[แก้]เส้นทางรถไฟคีวชูชิงกันเซ็งสายคาโงชิมะ (鹿児島ルート) เริ่มก่อสร้างในปี 1991 และส่วนแรกที่ให้บริการระหว่างคาโงชิมะและชินยัตสึชิโระเปิดใช้งานวันที่ 13 มีนาคม 2004 ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระหว่างทั้งสองเมืองจาก 2 ชั่วโมง 10 นาที เป็น 35 นาที และลดระยะเวลาการเดินทางระหว่างฮากาตะกับคาโงชิมะจาก 4 ชั่วโมง เป็น 2 ชั่วโมง โดยเมื่อเส้นทางทั้งสายเปิดใช้งาน ระยะเวลาการเดินทางระหว่างฮากาตะกับคาโงชิมะเหลือประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที ข้อมูลตั้งแต่ปี 2012 ความเร็วสูงสุดของเส้นทางนี้อยู่ที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) บนรางสแตนดาร์ดเกจ
ขบวนซากูระ และ มิซุโฮะ ให้บริการจากสถานีชินโอซากะโดยผ่านซันโย ชิงกันเซ็ง ส่วนขบวนสึบาเมะ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของรถไฟด่วนพิเศษฮากาตะ-คาโงชิมะ ให้บริการจอดทุกสถานี
สายนิชิคีวชู (นางาซากิ)
[แก้]เส้นทางรถไฟชิงกันเซ็งจากฮากาตะไปนางาซากิ เดิมเรียกว่านางาซากิชิงกันเซ็ง (長崎新幹線) ซึ่งวางแผนตั้งแต่ปี 1973 ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นสายนางาซากิ (長崎ルート) แล้วเปลี่ยนชื่ออีกเป็นสายนิชิคีวชู (西九州ルート) ในปี 1995 โดยส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างทาเกโอะ-ออนเซ็นกับนางาซากิเปิดให้บริการวันที่ 23 กันยายน 2022[1]
สถานี
[แก้]- ขบวนสึบาเมะ หยุดจอดทุกสถานี ส่วน ขบวนมิซุโฮะ และ ซากูระ ทุกขบวนจอดที่สถานีเครื่องหมาย "●" ในขณะที่เฉพาะบางขบวนจอดที่สถานีเครื่องหมาย "▲" รถไฟทุกขบวนจอดที่สถานีฮากาตะ คูมาโมโตะ และคาโงชิมะชูโอ
คำอธิบาย
● | จอดทุกขบวน |
---|---|
▲ | จอดบางขบวน |
| | ผ่านทุกขบวน |
สถานี | ญี่ปุ่น | ระยะทาง (กม.) | ระยะทางจาก ชินโอซากะ (กม.) |
ขบวน มิซุโฮะ |
ขบวน ซากูระ |
ขบวน สึบาเมะ |
เชื่อมต่อกับ | ที่ตั้ง | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เส้นทางคาโงชิมะ | ||||||||||
เปิดให้บริการในปัจจุบัน | ||||||||||
↑ เชื่อมต่อกับ สถานีชินโอซากะ โดย ชิงกันเซ็ง สายซันโย (เฉพาะขบวนมิซุโฮะและขบวนซากูระ) ↑ | ||||||||||
ฮากาตะ | 博多 | 0.0 | 553.7 | ● | ● | ● | ฟูกูโอกะ | ฟูกูโอกะ | ||
ชินโทซุ | 新鳥栖 | 26.3 | 580.0 | | | ● | ● | โทซุ | ซางะ | ||
คูรูเมะ | 久留米 | 32.0 | 585.7 | ▲ | ● | ● |
|
คูรูเมะ | ฟูกูโอกะ | |
ชิกูโงะ-ฟูนาโงยะ | 筑後船小屋 | 47.9 | 601.6 | | | ▲ | ● |
|
ชิกูโงะ | ||
ชินโอมูตะ | 新大牟田 | 59.7 | 613.4 | | | ▲ | ● | โอมูตะ | |||
ชินทามานะ | 新玉名 | 76.3 | 630.0 | | | ▲ | ● | ทามานะ | คูมาโมโตะ | ||
คูมาโมโตะ | 熊本 | 98.2 | 651.9 | ● | ● | ● |
|
คูมาโมโตะ | ||
ชินยัตสึชิโระ | 新八代 | 130.0 | 683.7 | | | ▲ | ● |
|
ยัตสึชิโระ | ||
ชินมินามาตะ | 新水俣 | 172.8 | 726.5 | | | ▲ | ● | มินามาตะ | |||
อิซูมิ | 出水 | 188.8 | 742.5 | | | ▲ | ● | Hisatsu Orange Railway Line | อิซูมิ | คาโงชิมะ | |
เซ็นได | 川内 | 221.5 | 775.2 | ▲ | ● | ● |
|
ซัตสึมะเซ็นได | ||
คาโงชิมะชูโอ | 鹿児島中央 | 256.8 | 810.5 | ● | ● | ● |
|
คาโงชิมะ |
แหล่งอ้างอิง
[แก้]- ↑ 西九州新幹線の開業日について [วันเปิดให้บริการสายนิชิคีวชูชิงกันเซ็ง] (PDF). jrkyushu.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). 22 กุมภาพันธ์ 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ญี่ปุ่น)