มินิชิงกันเซ็ง
หน้าตา
มินิชิงกันเซ็ง (ญี่ปุ่น: ミニ新幹線; โรมาจิ: Mini-shinkansen) เป็นชื่อที่ตั้งให้สำหรับแนวคิดในการเปลี่ยนราง จากรางแบบแนร์โรว์เกจ 1,067 มม. เป็นรางมาตรฐาน 1,435 มม. เพื่อให้สามารถนำรถไฟความเร็วสูง ชิงกันเซ็งมาวิ่งได้ โดยปัจจุบันมีเส้นทางมินิชิงกันเซ็งแล้ว 2 เส้นทาง ได้แก่ ยะมะงะตะ ชิงกันเซ็ง และ อะกิตะ ชิงกันเซ็ง
สาเหตุที่เรียกว่า "มินิชินกันเซ็ง" เนื่องจากชิงกันเซ็งที่สามารถนำมาวิ่งในเส้นทางนี้ จะเป็นชิงกันเซ็งที่มีความกว้าง 2,947 มม. ต่างจากชิงกันเซ็งในสายปกติที่มีความกว้าง 3,380 มม. เนื่องด้วยข้อจำกัดทางด้านระยะห่างระหว่างราง ที่มีพื้นที่ไม่พอให้รถขนาด 3,380 มม. มาทำขบวน
รุ่นที่รองรับ
[แก้]รายชื่อรุ่นที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นมาสำหรับทำขบวนในสายมินิชิงกันเซ็ง
- ชิงกันเซ็ง 400 ซีรีส์ , ยะมะงะตะ ชิงกันเซ็ง (ประจำการ 1992-2010)
- ชิงกันเซ็ง E3 ซีรีส์ , อะกิตะ ชิงกันเซ็ง (ตั้งแต่ 1997) และ ยะมะงะตะ ชิงกันเซ็ง (ตั้งแต่ 1999)
- E926 East i (ดอกเตอร์เยลโลว์), รถไฟตรวจสอบลวดจ่ายไฟเหนือหัว (ตั้งแต่ 2001)
- E955 Fastech 360Z รถไฟต้นแบบ (2006-2008)
- ชิงกันเซ็ง E6 ซีรีส์ , อะกิตะ ชิงกันเซ็ง (ตั้งแต่ 2013)