ข้ามไปเนื้อหา

เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ก้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสียงเสียดแทรก
เพดานอ่อน ก้อง
ɣ
หมายเลขไอพีเอ141
การเข้ารหัส
เอนทิตี (ฐาน 10)ɣ
ยูนิโคด (ฐาน 16)U+0263
เอกซ์-แซมปาG
เคอร์เชินบอมQ
ตัวอย่างเสียง

 

เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ก้อง (อังกฤษ: voiced velar fricative) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา แต่ไม่ปรากฏในภาษาไทยในปัจจุบัน จะมีเสียงภาษาไทยสมัยโบราณคือ ตัว ฅ สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ ⟨ɣ⟩ เป็นรูปแปรหนึ่งของตัวอักษรกรีก γ (แกมมา) ซึ่งแทนเสียงนี้ในภาษากรีกสมัยใหม่ (เป็นสัญลักษณ์คนละตัวกับ ⟨ɤ⟩ ซึ่งแทนเสียงสระเออะ/เออของภาษาไทย) นอกจากนี้ บางครั้งมีการใช้สัญลักษณ์ ⟨ɣ⟩ แทนเสียงเปิด เพดานอ่อน (velar approximant) แต่ที่จริงหากเขียนโดยมีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับอยู่ด้วยเป็น ⟨ɣ̞⟩ หรือ ⟨ɣ˕⟩ ก็จะถูกต้องกว่า

ลักษณะ

[แก้]

ลักษณะต่าง ๆ ของเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ก้อง ได้แก่

  • ลักษณะการออกเสียง เป็นเสียงเสียดแทรก กล่าวคือ เสียงนี้เกิดจากการบีบกลุ่มลม (ที่มาจากปอด) ให้ผ่านช่องแคบ ๆ บริเวณตำแหน่งการเกิดเสียง
  • ตำแหน่งเกิดเสียง เป็นเสียงจากเพดานอ่อนหรือกัณฐชะ กล่าวคือ เสียงนี้เกิดจากการยกลิ้นส่วนหลัง (โคนลิ้น) ขึ้นไปใกล้เพดานอ่อน (ส่วนหลังของเพดานปาก) แต่ไม่แตะสนิท เหลือช่องแคบ ๆ ให้ลมพอจะผ่านในลักษณะเสียดแทรกออกไปได้ตลอด
  • ลักษณะเสียงพูด เป็นเสียงก้องหรือโฆษะ กล่าวคือ เส้นเสียงจะสั่นขณะที่ออกเสียงนี้
  • เสียงนี้เป็นเสียงพยัญชนะช่องปาก กล่าวคือ ลมจะถูกปล่อยให้ออกมาทางปาก (ไม่ใช่ทางจมูก)
  • เสียงนี้เป็นเสียงพยัญชนะกลางลิ้น กล่าวคือ เสียงนี้เกิดขึ้นจากการที่กระแสลมถูกปล่อยให้ผ่านออกมาเหนือบริเวณกลางแผ่นลิ้น มากกว่าจะออกไปทางข้างลิ้น
  • กลไกกระแสลม เป็นกระแสลมออกจากปอด กล่าวคือ เสียงนี้เกิดขึ้นจากการดันกระแสลมออกจากปอดและผ่านทางช่องเสียง มากกว่าที่จะเกิดจากช่องเส้นเสียงหรือจากปากโดยตรง

การปรากฏ

[แก้]
ภาษา ตัวอย่างคำ สัทอักษรสากล ความหมาย หมายเหตุ
อาเลกาโน gamó [ɣɑmɤʔ] 'แตงกวา'
อังกอร์ ranihı [ɾɑniɣə] 'พี่ชาย'
อังกัส γür [ɣyr] 'เลือก'
อาหรับ غرفة [ˈɣurfɐ] 'ห้อง' อาจเป็นเสียงหลังเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่แล้วแต่สำเนียง
อาซู [fiɣo] 'ไต'
อาเซอร์ไบจาน ağac [aɣad​ʒ] 'ต้นไม้'
กาตาลา[1] bolígraf boníssim [buˈliɣɾəv buˈnisim] 'ปากกาลูกลื่นที่ดีเยี่ยม'
เชเชน гӀала/ġala [ɣa:la] 'เมือง'
ดิงกา ɣo [ɣo] 'เรา' (กรรม)
ดัตช์ gaan [ɣaːn] 'ไป' พบมากในภาษาถิ่นเหนือ
จอร์เจีย[2] ღარიბი [ɣɑribi] 'จน' อาจเป็นเสียงหลังเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่แล้วแต่สำเนียง
คุชราต વા [ʋɑ̤̈ɣəɽ̃] 'เสือตัวเมีย'
ฆารี cheghe [tʃeɣe] 'ห้า'
กรีก γάλα [ˈɣala] 'นม'
กเวโน [ndeɣe] 'นก'
กวิชอิน videeghàn [viteːɣân] 'หน้าอกของเขา/เธอ'
ฮาน dëgëghor [təkəɣor] 'ฉันกำลังเล่น'
ไอริช dhorn [ɣoːɾˠn̪ˠ] 'กำปั้น'
อิวาจา [mulaɣa] 'ปูเสฉวน'
ญี่ปุ่น[3] はげ [haɣe] 'ศีรษะล้าน' โดยเฉพาะในสำเนียงพูดที่เร็วและ/หรือไม่เป็นทางการ
นาวาโฮ ’aghá [ʔaɣa] 'ดีที่สุด'
อุตซิตา กาสกง digoc [diˈɣuk] 'พูด (บุรุษที่ 3 เอกพจน์ อดีต)'
เปอร์เซีย کاغذ [kɒɣæz] 'กระดาษ'
โปแลนด์ niechże [ɲeɣʐɛ] 'ปล่อยให้,' 'สมมุติ'
โปรตุเกส สำเนียงโปรตุเกส[4] agora [əˈɣorə] 'ขณะนี้' เป็นหน่วยเสียงย่อยของหน่วยเสียง /g/ ในภาษาถิ่นเหนือและกลาง[5]
สำเนียงบราซิลบางสำเนียง[6] carro [ˈkaɣu] 'รถยนต์' พยัญชนะมีเสียง [r]
เกวียงเหนือ ? [ɣnəʂ] 'เดือนกุมภาพันธ์'
โรมานี ลิทัวเนีย γoines [ɣoines] 'ดี'
ซาร์ดิเนีย ภาษาถิ่นนูโอโร ghere [ˡsuɣɛrɛ] 'ดูด'
สินธุ غم [ɣəmʊ] 'ความโศกเศร้า'
สวาฮิลี ghali [ɣali] 'แพง'
ตาดักซาฮัก ? [zoɣ] 'สงคราม'
ทาจิก ғафс [ɣafs] 'หนา'
ตุรกี ağ [aɣatʃ] 'ต้นไม้' บางภาษาถิ่น
ทุตโชเน ทุตโชเนเหนือ ihghú [ihɣǔ] 'ฟัน'
ทุตโชเนใต้ ghra [ɣra] 'ทารก'
เวียดนาม g [ɣe] 'ความน่าสะพรึงกลัว'

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wheeler (2005: 10)
  2. Shosted & Chikovani (2006: 255)
  3. Okada (1991: 95)
  4. Cruz-Ferreira (1995: 92)
  5. Mateus & d'Andrade (2000: 11)
  6. Barbosa & Albano (2004: 228)

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Barbosa, Plínio A. (2004), "Brazilian Portuguese", Journal of the International Phonetic Association 34 (2): 227-232.
  • Cruz-Ferreira, Madalena (1995), "European Portuguese", Journal of the International Phonetic Association 25 (2): 90-94.
  • Mateus, Maria Helena & Ernesto d'Andrade (2000), The Phonology of Portuguese, Oxford University Press, ISBN 0-19-823581-X
  • Okada, Hideo (1991), "Japanese", Journal of the International Phonetic Association 21 (2): 94-97.
  • Shosted, Ryan K. & Chikovani Vakhtang (2006), "Standard Georgian", Journal of the International Phonetic Association 36 (2): 255-264.
  • Wheeler, Max W (2005), written at Oxford, The Phonology Of Catalan, Oxford University Press, ISBN 0-19-925814-7