จตุกโกฏิ
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
“จตุกโกฏิ” หรือ “จตุกโกณะ” แปลว่า สี่มุม (Tetra-Lemma, or Four Coners, or Four Alternatives).
จตุกโกฏิ เป็นวิธีคิดแบบหนึ่งของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คล้ายกับลัทธิของสัญชัยเวลัฏฐบุตรในสมัยพุทธกาล โดยมีหลักการดังนี้ :-
1. It is A (Positive Thesis-Affirmation)
2. It is not A (Negative Counter-Thesis-Negation)
3. It is both A and not A (Conjunctive Affirmation of the first two)
4. It is neither A nor not A (Disjunctive Denial of the first two)
โกฏิที่ ๑ เป็นบทตั้งยืนยัน
โกฏิที่ ๒ เป็นบทตั้งแย้งปฏิเสธ
โกฏิที่ ๓ เป็นบทตั้งโดยการรวมโกฏิที่ ๑ และ ๒ เพื่อสร้างข้อเลือกที่ ๓
โกฏิที่ ๔ เป็นบทตั้งที่ปฏิเสธทั้งหมด เพื่อสร้างข้อเลือกที่ ๔
ประเด็นสำคัญอยู่ที่โกฏิที่ ๔ ซึ่งมุ่งที่จะทำให้หมดหนทางที่เราอาจจะกล่าวถึงบางสิ่งบางอย่างต่อไป (It is meant to exhaust the ways) อยู่ในฐานะเป็น “อุตตระ” หมุนกลับไปลบล้างแบบที่ ๑-๓ ได้ทั้งหมด ทฤษฎีจตุกโกฏิถูกสร้างขึ้นมา เพื่อที่จะบอกว่า การตอบปัญหาเกี่ยวกับโลกและชีวิตโดยใช้คำว่า “ใช่(Yes)” หรือ “ไม่ใช่(No)” นั้นเป็นการให้คำตอบที่ไม่ยุติธรรมต่อสัจภาวะ ไม่สามารถให้เข้าถึงคำตอบที่ถูกต้องได้ ยิ่งอธิบายความมากก็ยิ่งห่างไกลจากสัจภาวะ จตุกโกฏิของนาคารชุนเพื่อจะพิสูจน์ว่าทรรศนะใด ๆ ก็ตามที่ใครก็ตามแสดงออกมาล้วนไม่ถูกต้อง นาคารชุนสร้างจตุกโกฏิขึ้นมาไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะพิสูจน์ทรรศนของตนเอง ดังข้อความว่า
"ถ้าข้าพเจ้าสร้างสมมติฐาน(หรือบทตั้ง)ขึ้นมา พวกคุณอาจจะพบความบก พร่องเกี่ยวกับสมมติฐานนั้นได้ เนื่องจากข้าพเจ้าไม่มีสมมติฐานที่จะสร้าง ปัญหาที่จะพิสูจน์ว่ามันจริงหรือไม่จริง จึงไม่เกิดขึ้น"
นาคารชุนถือคติว่า “เมื่อไม่มีแผลบนฝ่ามือ ยาพิษก็ไม่สามารถซึมซาบเข้าไปได้” และท่านได้นำวิภาษวิธีแบบจตุกโกฏิไปใช้ตอบโต้คน ๒ พวก คือ (๑)พวกยึดถือคัมภีร์อย่างเคร่งครัด และมีศรัทธาโดยไม่ต้องพิสูจน์-Dogmatist=พวกสิทธันตนิยม (๒)พวกเหตุผลนิยม พยายามอธิบายธรรมชาติโดยกระบวนการแห่งเหตุผล-Rationalist[1]