แครอน (ดาวบริวาร)
ภาพถ่ายแครอนจากยาน นิวฮอไรซันส์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 | |
ลักษณะของวงโคจร [1] | |
---|---|
ต้นยุคอ้างอิง 2,452,600.5 | |
กึ่งแกนเอก: | 19,571 ± 4 กม. |
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.00000 ± 0.00007 |
คาบการโคจร: | 6.387230 ± 0.000001 วัน (6 วัน 9 ชั่วโมง 17 นาที 36.7 ± 0.1 วินาที) |
ความเอียง: | 112.78±0.02° (to the ecliptic) 0.00°±0.014° (to Pluto's equator) 119.59±0.02° (to Pluto's orbit) |
ดาวบริวารของ: | ดาวพลูโต |
แครอน (อังกฤษ: Charon) เป็นดาวบริวารของดาวพลูโต ที่ถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2521 โดยเจมส์ คริสตี (James W. Christy) นักดาราศาสตร์แห่งหอดูดาวกองทัพเรือสหรัฐ ทุกวันนี้นักดาราศาสตร์พบว่า แครอนมีขนาดใกล้เคียงกับพลูโต คือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,207 กิโลเมตร ขณะที่พลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2,390 กิโลเมตร และจากนิยามใหม่ของดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แคระ อาจถือได้ว่า แครอนและพลูโตเป็นดาวคู่ที่เป็นดาวเคราะห์แคระอยู่ในแถบไคเปอร์ ภายหลังการค้นพบดาวบริวารอีกสองดวงของพลูโต คือ นิกซ์ (Nix) และไฮดรา (Hydra) เมื่อ พ.ศ. 2548 บางครั้งนักดาราศาสตร์ก็เรียกแครอนว่า พลูโต I
การค้นพบแครอน
[แก้]เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2521 เจมส์ คริสตี ได้พบแครอนโดยบังเอิญ จากการศึกษาภาพถ่ายของพลูโต เพื่อคำนวณหาข้อมูลวงโคจร เขาพบว่าด้านหนึ่งของผิวดาว มีรอยป่องแปลกๆ รอยป่องนี้ดูจะเคลื่อนไปรอบพลูโตทุก 6.4 วัน เขาสรุปว่านั่นคือดาวบริวารของพลูโต [2] และตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า แครอน (Charon) ตามชื่อของ คนพายเรือพาวิญญาณ ข้ามแม่น้ำแห่งความตายไปสู่อาณาจักรของเฮดีส (พลูโต) ในตำนานกรีก และเพื่อเป็นเกียรติแก่ภรรยาของเขา ที่ชื่อ ชาร์ลีน
นักดาราศาสตร์จะได้ศึกษาแครอนและพลูโตอย่างละเอียดในปี พ.ศ. 2558 เมื่อยานนิวฮอไรซันส์ของนาซา ซึ่งถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 เดินทางไปถึงวงโคจรของดาวทั้งสองในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Marc W. Buie, William M. Grundy, Eliot F. Young, Leslie A. Young, S. Alan Stern (2006). "Orbits and photometry of Pluto's satellites: Charon, S/2005 P1, and S/2005 P2". Astronomical Journal. 132: 290. arXiv:astro-ph/0512491.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-14. สืบค้นเมื่อ 2006-09-05.