อำเภอสิเกา
อำเภอสิเกา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Sikao |
คำขวัญ: พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ งามท้องทะเล เสน่ห์เกาะแก่ง แหล่งหอยตะเภา ภูเขาล้านปี | |
แผนที่จังหวัดตรัง เน้นอำเภอสิเกา | |
พิกัด: 7°34′18″N 99°20′42″E / 7.57167°N 99.34500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ตรัง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 524.0 ตร.กม. (202.3 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 38,442 คน |
• ความหนาแน่น | 73.36 คน/ตร.กม. (190.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 92150, 92000 (เฉพาะตำบลนาเมืองเพชร) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9205 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสิเกา ถนนตรัง-สิเกา ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
สิเกา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง
ประวัติ
[แก้]อำเภอสิเกา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอำเภอ ขึ้นต่อจากเมืองกันตัง (เมืองตรังในขณะนั้น) เมื่อปี พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เหตุผลที่เลือกตั้งตัวอำเภอในที่ตั้งปัจจุบันบริเวณคลองสิเกา คือ เพื่อป้องกันข้าศึกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ญี่ปุ่นขึ้นเมือง) โดยเมื่อก่อน อำเภอสิเกามีพื้นที่กว้างขวางกว่าปัจจุบัน คือ พื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือทั้งหมดของจังหวัด นับตั้งแต่ชายเขตอำเภอห้วยยอด[1] ในปี พ.ศ. 2464 อำเภอสิเกา หรือ "สิเก๊า" ตามราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง มีตำบลในเขตการปกครองทั้งหมด 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลสิเก๊า ตำบลเขาไม้แก้ว ตำบลกะลาเส ตำบลวังมะปราง ตำบลเขาเศษ (ตำบลเขาวิเศษในปัจจุบัน) ตำบลท่าสะบ้า ตำบลนาเหมืองเพ็ชร์ (ตำบลนาเมืองเพชรในปัจจุบัน) ตำบลไม้ฝาด[2] และตำบลหนองตรุด[3]
- วันที่ 3 กันยายน 2489 โอนพื้นที่ตำบลหนองตรุด อำเภอสิเกา ไปขึ้นกับอำเภอเมืองตรัง[4]
- วันที่ 30 ธันวาคม 2490 ตั้งตำบลเขาไม้แก้ว แยกออกจากตำบลบ่อหิน[5]
- วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลสิเกา ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ่อหิน[6]
- วันที่ 21 เมษายน 2524 ตั้งตำบลวังมะปรางเหนือ แยกออกจากตำบลวังมะปราง[7]
- วันที่ 1 กันยายน 2524 แยกพื้นที่ตำบลเขาวิเศษ ตำบลวังมะปราง ตำบลวังมะปรางเหนือ ตำบลอ่าวตง และตำบลท่าสะบ้า อำเภอสิเกา ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังวิเศษ[8] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอสิเกา
- วันที่ 21 พฤษภาคม 2533 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวังวิเศษ อำเภอสิเกา เป็น อำเภอวังวิเศษ[9]
- วันที่ 28 ธันวาคม 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลควนกุน ในท้องที่บางส่วนของตำบลกะลาเส[10]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลสิเกา และสุขาภิบาลควนกุน เป็นเทศบาลตำบลสิเกา และเทศบาลตำบลควนกุน ตามลำดับ[11] ด้วยผลของกฎหมาย
ภูมิศาสตร์
[แก้]อำเภอสิเกาตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอคลองท่อม (จังหวัดกระบี่) และอำเภอวังวิเศษ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวังวิเศษ อำเภอเมืองตรัง และอำเภอกันตัง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกันตัง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับช่องแคบมะละกา
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอสิเกาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 40 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[12] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | บ่อหิน | Bo Hin | 9
|
8,647
|
|
2. | เขาไม้แก้ว | Khao Mai Kaeo | 9
|
6,745
| |
3. | กะลาเส | Kalase | 8
|
8,397
| |
4. | ไม้ฝาด | Mai Fat | 7
|
9,435
| |
5. | นาเมืองเพชร | Na Mueang Phet | 7
|
5,203
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอสิเกาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลสิเกา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ่อหิน
- เทศบาลตำบลควนกุน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกะลาเส
- เทศบาลตำบลนาเมืองเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเมืองเพชรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อหิน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสิเกา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาไม้แก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะลาเส (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลควนกุน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ฝาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไม้ฝาดทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติความเป็นมา - ประวัติอำเภอสิเกา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-30. สืบค้นเมื่อ April 30, 2021.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลภูเก็ต]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 519–530. December 25, 1921.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลภูเก็ต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 381–382. December 3, 1922.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (58 ง): 1288. September 3, 1946.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและตั้งตำบลใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (64 ง): 3554–3557. December 30, 1947.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสิเกา อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 19-20. November 28, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (59 ง): 1099–1101. April 21, 1981.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังวิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (145 ง): 2957. September 1, 1981. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-04-30.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอวังวิเศษ อำเภอคลองหาด อำเภอป่าบอน อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังโป่ง อำเภอควนเนียง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอหนองนาเดิม อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม และอำเภอทองแสนขัน พ.ศ. ๒๕๓๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (83 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-4. 21 พฤษภาคม 2533. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-04-30.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลควนกุน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (225 ง): (ฉบับพิเศษ) 11-12. December 28, 1993.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-04-30.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.