อำเภอบางสะพาน
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
อำเภอบางสะพาน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Bang Saphan |
ภาพมุมสูงจากเขาธงชัย | |
คำขวัญ: พระธาตุเจดีย์สูงเสียดฟ้า มากคุณค่าทองเนื้อเก้า เด่นเรื่องราวการท่องเที่ยว หนึ่งเดียวอุตสาหกรรมเหล็ก ชุมชนใหญ่เล็กรักสามัคคี ไหว้พระดีปู่อินทร์-ปู่ท้วม | |
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เน้นอำเภอบางสะพาน | |
พิกัด: 11°12′54″N 99°30′42″E / 11.21500°N 99.51167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ประจวบคีรีขันธ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 868.0 ตร.กม. (335.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 76,145 คน |
• ความหนาแน่น | 87.73 คน/ตร.กม. (227.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 77140, 77190 (เฉพาะตำบลธงชัยและชัยเกษม), 77230 (เฉพาะตำบลร่อนทองและทองมงคล) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7704 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบางสะพาน ถนนบางสะพาน ตำบลกำเนิดนพคุณ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77140 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บางสะพาน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่มาของทองบางสะพาน ที่เลื่องชื่อ มีการร่อนที่ตำบลร่อนทอง บางสะพานเป็นอำเภอที่มีเศรษฐกิจที่ดีในระดับหนึ่งของประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากมีประชากรมาก และมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม เช่น ชายทะเลบ้านกรูดและเกาะทะลุ
ประวัติ
[แก้]อำเภอบางสะพานเคยมีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวา ชื่อ เมืองกำเนิดนพคุณ บางครั้งที่มีศึกสงครามก็ต้องยุบเมือง ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอเมืองกำเนิดนพคุณ ขึ้นกับเมืองชุมพร (จังหวัดชุมพร) ต่อมาได้รวมกับอำเภอปราณบุรี จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นจังหวัดปราณบุรี ตั้งที่ตำบลเกาะหลัก[1] ทำให้อำเภอเมืองกำเนิดนพคุณ เป็นอำเภอหนึ่งของเมืองปราณบุรี (จังหวัด) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์[2] อำเภอกำเนิดนพคุณก็ยังขึ้นตรงกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ต่อมา
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอบางสะพานตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอทับสะแก
- ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคตะนาวศรี (ประเทศพม่า)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอบางสะพานแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 71 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[3] |
---|---|---|---|---|
1. | กำเนิดนพคุณ | Kamnoet Nopphakhun | 8
|
9,663
|
2. | พงศ์ประศาสน์ | Phong Prasat | 10
|
10,159
|
3. | ร่อนทอง | Ron Thong | 12
|
17,012
|
4. | ธงชัย | Thong Chai | 11
|
10,116
|
5. | ชัยเกษม | Chai Kasem | 12
|
11,631
|
6. | ทองมงคล | Thong Mongkhon | 10
|
10,428
|
7. | แม่รำพึง | Mae Ramphueng | 8
|
7,077
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอบางสะพานประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกำเนิดนพคุณ
- เทศบาลตำบลบ้านกรูด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลธงชัย
- เทศบาลตำบลร่อนทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลร่อนทอง
- องค์การบริหารส่วนตำบลกำเนิดนพคุณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำเนิดนพคุณ (นอกเขตเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพงศ์ประศาสน์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่อนทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลร่อนทอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธงชัย (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านกรูด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยเกษมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทองมงคล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทองมงคลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่รำพึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่รำพึงทั้งตำบล
สถานศึกษา
[แก้]อาชีวะศึกษา
- วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน
โรงเรียนมัธยม
- โรงเรียนธงชัยวิทยา
- โรงเรียนชัยเกษมวิทยา
- โรงเรียนบางสะพานวิทยา
- โรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์
- โรงเรียนธนาคารออมสิน
โรงเรียนประถม
- โรงเรียนอนุบาลบางสะพาน
- โรงเรียนวัดนาผักขวง
- โรงเรียนบ้านดอนทอง
- โรงเรียนบ้านถ้ำเขาน้อย
- โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว
- โรงเรียนบ้านดอนสง่า
- โรงเรียนมัธยมนพคุณ
- โรงเรียนบ้านสวนหลวง
- โรงเรียนบ้านห้วยแก้ว
- โรงเรียนบ้านชะม่วง
- โรงเรียนบ้านหินกอง
- โรงเรียนบ้านทุ่งเชือก
- โรงเรียนบ้านดอนสำนัก
- โรงเรียนธนาคารออมสิน
- โรงเรียนบ้านคลองลอย
- โรงเรียนบ้านวังน้ำเขียว
- โรงเรียนบ้านดอนสูง
- โรงเรียนบ้านหนองระแวง
- โรงเรียนวัดดอนยาง
- โรงเรียนบ้านดอนสำราญ
- โรงเรียนวัดถ้ำคีรีวงศ์
- โรงเรียนบ้านหนองมงคล
- โรงเรียนวัดธงชัยธรรมจักร
- โรงเรียนบ้านอ่าวยาง
- โรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี 1
- โรงเรียนบ้านดงไม้งาม
- โรงเรียนบ้านยางเขา
- โรงเรียนไตรกิตทัตตานนท์
- โรงเรียนบ้านเขามัน
- โรงเรียนบ้านมรสวบ
- โรงเรียนบ้านหนองจันทร์
- โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง
- โรงเรียนบ้านท่าขาม
- โรงเรียนบ้านธรรมรัตน์
- โรงเรียนบ้านทองมงคล
- โรงเรียนบ้านราษฏร์ประสงค์
- โรงเรียนบ้านวังยาว
- โรงเรียนบ้านในล็อก
- โรงเรียนบางสะพาน
แหล่งท่องเที่ยว
[แก้]- วัดถ้ำเขาม้าร้อง
ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางสะพานไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กม. ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลพงศ์ประศาสน์ ภายในถ้ำมีหลายคูหาซึ่งมีผู้ดูแลติดตั้งไฟฟ้าแสงสีต่าง ๆ ประดับประดาทำให้บรรยากาศในถ้ำดูสวยงามน่าสนใจ ผนังถ้ำด้านหนึ่งมีพระพุทธรูปวางเรียงรายตลอดแนว สถานที่กว้างขวางรถยนต์สามารถเข้าถึงปากถ้ำได้
- อ่าวแม่รำพึง
เป็นชายหาดที่ค่อนข้างเงียบสงบ มีถนนเลียบชายหาด มีร้านอาหารทะเล และสถานที่พักริมชายหาดเปิดบริการแก่นักท่องเที่ยว อยู่ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ประมาณ 86 กม. และห่างจากถนนเพชรเกษมตามทางแยกเข้าตัวอำเภอบางสะพานไปประมาณ 17 กม.
- อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม
เป็นอุทยานป่าไม้เบญจพรรณ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งอยู่ใกล้ชุมชนอำเภอบางสะพานเพียง 2 กม. และอยู่ ติดชายทะเล มีป่าไม้ ยางขนาดใหญ่ ให้ความร่มรื่น
- อ่าวบ่อทองหลาง
อยู่ห่างจากอ่าวแม่รำพึงตามถนนเลียบชายหาดประมาณ 4 กม. มีชายหาดโค้งเป็นรูปวงกลมอยู่ริมเชิงเขา หาดทรายขาว สะอาด น้ำทะเลใส สามารถลงเล่นน้ำได้ ริมชายหาดมีร้านขายอาหาร และเครื่องดื่มบริการ
- หาดบ้านกรูด
- ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
ตั้งอยู่บนเขาธงชัย ท้องที่บ้านกรูด ซึ่งแยกจากถนนเพชรเกษมเข้าไปทางซ้ายประมาณ 16 กม. จะพบตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สวยเด่นบนยอดเขาธงชัย หันหน้าออกสู่ทะเล บริเวณรอบ ๆ มีสวนไม้ดอก ไม้ประดับ และสำนักสงฆ์ซึ่งเชื่อกันว่ากรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เคยเสด็จฯ ประทับ ณ ที่แห่งนี้ เพื่อพักทอดสมอเรือรบ
- พระพุทธกิติสิริชัย
เป็นพระรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ เลียนแบบรูปแบบศิลปะคันธารราฐ ลักษณะปางขัดสมาธิหรือปางตรัสรู้ ประดิษฐ์บนฐานดอกบัวประกอบผ้าทิพย์ในพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. พระนามาภิไธยในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์พระบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ[ต้องการอ้างอิง] โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานกระทำพิธีสมโภชและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2539 พระพุทธกิติสิริชัย(คันทาราช) ประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออก องค์พระหันพระพักต์ออกสู่ทะเลตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนยอดเขาธงชัย เป็นพระพุทธรูปประธานภายนอกอาคารเพื่อเป็นพุทธานุสรณ์สำหรับการเคารพกราบไหว้และการสักการะบูชา
- พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ (นามพระราชทาน)
เป็นพระมหาธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ มีความสวยงามวิจิตรตระการตาตามแบบไทยแท้ อันหาดูได้ยากยิ่ง คณะสงฆ์และพสกนิกรผู้จงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศความภักดี โดยร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองราชย์เป็นปีที่ห้าสิบ ออกแบบโดย ม.ร.ว มิตรารุณ เกษมศรี นายช่างสถาปนิกประจำสำนักพระราชวัง โดยฝีมือการออกแบบและก่อสร้างอย่างวิจิตรบรรจง ทรงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมไทยอันยอดเยี่ยม
- เกาะร่ำร่า
เป็นเกาะหินขนาดปานกลางอยู่ที่ตำบลธงชัย (อยู่ระหว่างเขตอำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน) บริเวณรอบเกาะมีแนวประการัง
- เกาะทะลุ เป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นชั้นดีและที่สำคัญคือ ราคาค่าบริการดำน้ำดูปะการัง ถูกมากเมื่อเทียบกับแหล่งดำน้ำอื่นๆของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเกาะทะลุหรือที่บางท่านเรียกว่าเขาทะลุได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอย่างมากมาย หากท่านอยู่ริมทะเลในอ่าวบางสะพานและบางสะพานน้อย ไม่ว่าช่วงไหน คือตั้งแต่อ่าวแม่รำพึงจนถึงหาดบางเบิด จะมองเห็นเกาะทะลุ ซึ่งเป็นเกาะใหญ่อยู่ห่างจากชายฝั่งไปไม่ไกล บนเกาะมีถ้ำทะลุจากด้านหนึ่งของเกาะไปยังอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดเด่นและที่มาของชื่อเกาะทะลุ บนเกาะทะลุมีชายหาดสวยงามสี่แห่ง มีแหล่งปะการังน้ำตื้นสวยงามให้ชมอยู่รอบเกาะ แถมปลายังชุกชุมซะด้วย นักท่องเที่ยวจึงนิยมมาให้อาหารปลาและดำน้ำเล่นกับฝูงปลากันที่นี่ ใช้เวลาเดินทางมายังจุดดำน้ำเกาะทะลุ โดยเรือท่องเที่ยวประมาณ 30-40 นาที
เกาะทะลุ อยู่ในทะเลอ่าวไทย อ. บางสะพานน้อย ห่างจากชาย ฝั่งบริเวณปากคลองบางสะพานน้อยราว 7 กม. มีจุดดำน้ำที่เลื่องชื่ออยู่ 2 จุดโดยเรือท่องเที่ยวจะพาไปดำน้ำชมปะการังจุดละ 1 ชั่วโมง โดยเกาะทะลุมีเกาะบริวารอีกสองเกาะ คือ เกาะสังข์และเกาะสิงห์ ซึ่งเป็นแหล่งชมปะการังน้ำตื้นที่สวยงามอีกที่เช่นกัน
- เกาะสิงห์-เกาะสังข์
ที่นี่เป็นจุดที่สองสำหรับการดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นเป็นเกาะขนาดเล็ก อยู่ใกล้กับเกาะทะลุไปทางด้านทิศใต้ ตัวเกาะคล้ายกับโขดหินที่ลอยอยู่ในทะเล ไม่มีชายหาด รอบเกาะอุดมไปด้วยปะการังสวยๆชนิดต่างๆ คล้ายกับที่เกาะทะลุ แต่จะมีจุดเด่นกว่าตรงที่ เกาะสิงห์มีปะการังมากชนิดกว่า และสวยงามกว่า จึงพลาดไม่ได้สำหรับคนที่ชอบปะการัง
- น้ำตกไทรคู่
การเดินทางไปน้ำตกไทรคู่จะต้องใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3196 จากตัวอำเภอบางสะพานมุ่งหน้าไปตามเส้นทางจนกระทั่งถึงทางแยกไปทางบ้านโป่งโกเลี้ยวขวาเข้าไป เจอสะพานไม้เล็ก ๆ ข้ามห้วยไปประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกไทรคู่ ซึ่งน้ำตกไทรคู่ตั้งอยู่หมู่ 6 ตำบลทองมงคล อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ อยู่ทางทิศตะวันตกของถนนเพชรเกษม บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี น้ำตกไทรคู่แห่งนี้มีทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้นจะมีความสวยงามที่แตกต่างกันไป โดยชั้นที่มีความงามมากที่สุดคือชั้นที่ 5 ซึ่งน้ำตกในชั้นนี้จะมีลักษณะที่เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิดที่บริเวณน้ำตกอีกด้วย
- น้ำตกขาอ่อน
หรือน้ำตกทับมอญ อยู่ติดกับเทือกเขาตะนาวศรี ในพื้นที่ ต.ชัยเกษม อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์น้ำตกแห่งนี้อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษม 15 กม. การเดินทางในปัจจุบันสะดวกสบาย มีเพียงทางเข้าน้ำตกเท่านั้นที่ยังคงเป็นถนนลูกรังอยู่เพียง 1.5 กม. ระหว่างทางนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับบรรยากาศสองข้างทางซึ่งเป็นสวนมะพร้าว รวมทั้งก่อนถึงบริเวณหน่วยพิทักษ์น้ำตกขาอ่อน ยังมีจุดชมวิวทิวทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านมรสวบ และอ่างเก็บน้ำบ้านหนองบอน ตลอดสองข้างทางขึ้นสู่น้ำตกขาอ่อน เป็นป่าไผ่และต้นไม้น้อยใหญ่ที่ขึ้นปกคลุมผืนป่าจนร่มรื่น น้ำตกมีด้วยกัน 9 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามที่แตกต่างกันไป ระหว่างทางมีพืชพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นอยู่ริมลำธาร ไม่ว่าจะเป็นมอส เฟิร์นข้าหลวง เฟิร์นเจ้างู ในช่วงปลายฝนต้นหนาว การเดินทางขึ้นไปยังน้ำตกแต่ละชั้นของน้ำตกขาอ่อนไม่ยากเย็นมากนัก แต่ละชั้นยังมีจุดนั่งพักผ่อนเพื่อดื่มด่ำกับธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำตกชั้นที่ 5 ซึ่งมีความโดดเด่นเนื่องจากจะมีความเย็นเปรียบเสมือนห้องแอร์ธรรมชาติ ไม่เพียงเท่านั้น ระหว่างทางยังมีผีเสื้อแมลงปีกสวยบินวนเวียนอยู่เป็นจำนวนมาก
ศาสนสถาน
[แก้]- วัดเขากะจิ
- วัดเขาน้อย
- วัดเขาโบสถ์
- วัดนาผักขวง
- วัดห้วยทรายขาว
- วัดเขาตะล่อม
- วัดเขาถ้ำม้าร้อง
- วัดชะม่วง
- วัดทุ่งมะพร้าว
- วัดหินกอง
- วัดเกาะยายฉิม
- วัดสุวรรณาราม
- วัดเขาถ้ำคีรีวง
- วัดชัยภูมิ
- วัดดอนยาง
- วัดทางสาย
- วัดธงชัยธรรมจักร
- วัดมรสวบ
- วัดรักดีคีรีวัน
- วัดหนองมงคล
- วัดหนองจันทร์
- วัดหนองโปร่ง
- วัดทองมงคล
- วัดธรรมรัตน์
- วัดโป่งโก
- วัดดอนสำราญ
- วัดบ่อทองหลาง
- วัดพรหมรังษี (เขาอิติสุคโต ๓)
- วัดวังน้ำเขียว
การเดินทาง
[แก้]- ทางถนน
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)
- รถโดยสารของบริษัทบางสะพานทัวร์ (กรุงเทพ-บางสะพาน) ให้บริการตั้งแต่ 06.00 น.- 24.00 น. (รถออกทุก 1 ชั่วโมง) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง
- ทางรถไฟ: การรถไฟแห่งประเทศไทย – สายใต้
- สถานีรถไฟบางสะพานใหญ่ มีขบวนรถไฟจอดให้บริการเกือบทุกขบวน ยกเว้นรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ขบวนเดียว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศ ตั้งเมืองปราณบุรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔๑ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๑๐๖๒
- ↑ ประกาศ เปลี่ยนนามเมืองปราณบุรี เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประกาศในราชกิจจานุเบกษษา เล่มที่ ๓๒ ตอนที่ ๐ ก วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ หน้าที่ ๑๗๖
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อำเภอบางสะพาน