ข้ามไปเนื้อหา

วัดห้วยมงคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดห้วยมงคล
แผนที่
ที่ตั้งตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูปภัสรวรพินิจ (ไพโรจน์ ปภัสสโร)
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดห้วยมงคล เป็นวัดในตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ประวัติ

[แก้]

วัดห้วยมงคล เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก แต่เดิมใช้ชื่อว่า “วัดห้วยคต” ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านห้วยคต ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามใหม่จากห้วยคต เป็นห้วยมงคล เนื่องจากครั้งที่เสด็จมายังวัดนี้ได้มีดำริให้สร้างถนนใหม่ จากถนนดินเป็นถนนลาดยาง โดยพระราชทานนามให้เช่นเดียวกับชื่อวัด

ต่อมาพระพิศาลสิทธิคุณ หรือท่านเจ้าคุณไพโรจน์ ปภัสสโร เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคลองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นพระนักพัฒนาที่มีศีลจารวัตที่ดีงามเป็นที่เคารพของคนในชุมชนบ้านห้วยมงคล และพลเอกวิเศษ คงอุทัยกุลรองสมุหราชองครักษ์ได้มีดำริที่จะสร้าง “หลวงพ่อทวด” องค์ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ รวมทั้งเผยแพร่และสืบทอดพระพุทธศาสนาอีกทั้งให้เป็นที่เคารพสักการบูชาและเป็นที่พึ่งทางใจของเหล่าพุทธศาสนิกชน [1]

ด้วยเรื่องราวปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อทวด พุทธศาสนิกชนในภาคใต้ให้ความเคารพเลื่อมใสมาเป็นเวลานาน และรู้จักกันเป็นอย่างดี จึงก่อเกิดการร่วมมือร่วมใจจากหลายองค์กรทั้งทางภาครัฐและเอกชนในการสร้างประติมากรรมองค์จำลองหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร เททองหล่อองค์หลวงพ่อทวด เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2547 และพระราชทานพระราชานุญาตให้คณะกรรมการจัดสร้างอัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ขึ้นประดิษฐานที่หน้าองค์รูปหล่อองค์หลวงพ่อทวดโดยรูปหล่อ หลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลกมีขนาด หน้าตักกว้าง 9.9 เมตร สูง 11.5 เมตร บนฐานสูง 3 ชั้น ชั้นล่างกว้าง 70 เมตร ยาว 70 เมตร [2] โดยภายใต้ฐานยังเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ไว้เพื่อปฏบัติศาสนกิจในวันสำคัญทางศาสนา

นอกจากนี้ที่วัดห้วยมงคลแห่งนี้ยังมีหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดแกละสลักจากได้ตะเคียนทองขนาดใหญ่อายุกว่าพันปี ที่ฝังอยู่ในทรายใต้แม่น้ำยม จังหวัดแพร่ลึกกว่า 10 เมตร ชาวบ้านเชื่อกันว่าต้นไม้ที่มีแก่นสูง 1 คืบขึ้นไปจะมีรุกขเทวดาสถิตอยู่เพื่อดูแลปกป้องคุ้มครองคนที่มาสักการบูชา เมื่อนำต้นตะเคียนทองมาทำรูปเคารพ เช่นแกะเป็นหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดจึงมีอนุภาพและความศักดิ์สิทธิ์เป็นทวีสิทธิ์ ดลบันดาลให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขความเจริญปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ[3]

สถานที่ตั้ง

[แก้]

บ้านเลขที่118 ถนนหัวหิน-ห้วยมงคล หมู่ 6 ถนนห้วยมงคล ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 77110 [4]

รายการอ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.huahinpocketguide.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538655963&Ntype=6
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-24. สืบค้นเมื่อ 2013-05-12.
  3. เอกสารการสร้างวัดห้วยมงคล ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  4. http://profile.yellowpages.co.th/385043827777771