สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าพระคุณ |
ชื่ออื่น | เจ้าพระคุณสมเด็จหลวงปู่ช่วง |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2468 (96 ปี) |
มรณภาพ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | เปรียญธรรม 9 ประโยค, นักธรรมชั้นเอก |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 |
พรรษา | 76 |
ตำแหน่ง | อดีตเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ,อดีตประธานสมัชชามหาคณิสสรคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย,อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช,อดีตประธานกรรมการมหาเถรสมาคม |
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ นามเดิม ช่วง นามสกุล สุดประเสริฐ ฉายา วรปุญฺโญ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2468 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564) เป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏฝ่ายมหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ,อดีตประธานสมัชชามหาคณิสสรคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย,อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และอดีตประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
ประวัติ
ชาติภูมิ
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ มีนามเดิมว่า ช่วง นามสกุลสุดประเสริฐ เกิดเมื่อวันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2468 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู บ้านเลขที่ 32 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โยมบิดาและโยมมารดาชื่อ นายมิ่งและนางสำเภา นามสกุลสุดประเสริฐ
บรรพชา และอุปสมบท
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 14 ปี จึงได้บรรพชาเมื่อวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ณ วัดสังฆราชา เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยมีพระครูศีลาภิรัต (ทอง) วัดลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เป็นอุปัชฌาย์
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พระครูบริหารบรมธาตุ (ป่วน เกสโร) วัดนางชี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสมณธรรมสมาทาน เป็นกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่า “วรปุญฺโญ”
การศึกษา/วิทยฐานะ
- พ.ศ. 2480 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนประชาบาล วัดสังฆราชา เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2484 นักธรรมชั้นโท วัดสังฆราชา เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2490 นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2492 เปรียญธรรม 7 ประโยค สำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2497 เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
การปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์
- พ.ศ. 2495 เป็นเลขานุการสังฆนายก สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ)
- พ.ศ. 2499 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ (พระอารามหลวง)
- พ.ศ. 2500 เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2507 เป็นรองเจ้าคณะภาค 3
- พ.ศ. 2508 เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ (พระอารามหลวง)
- พ.ศ. 2508-2516 เป็นเจ้าคณะภาค 3 รวม 2 สมัย
- พ.ศ. 2517-2528 เป็นเจ้าคณะภาค 17 รวม 3 สมัย
- พ.ศ. 2528-2537 เป็นเจ้าคณะภาค 7
- พ.ศ. 2532-2562 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
- พ.ศ. 2533-2548 เป็นกรรมการ พ.ศ.ป.
- พ.ศ. 2533-2564 เป็นกรรมการ ศ.ต.ภ.
- พ.ศ. 2537-2558 เป็นเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
- พ.ศ. 2548-2556 เป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
- พ.ศ. 2556-2557 เป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
- พ.ศ. 2556 -2560 เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
- พ.ศ. 2557-2560 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[1][2]
- พ.ศ. 2556-2564 ประธานสมัชชามหาคณิสสรคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
งานด้านการศึกษา
- พ.ศ. 2487-2492 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดปากน้ำ
- พ.ศ. 2489 เป็นกรรมการตรวจประโยคธรรมสนามหลวง
- พ.ศ. 2491 เป็นกรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง
- พ.ศ. 2493-2497 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตร
- พ.ศ. 2498 เป็นผู้นำประโยคบาลีสนามหลวง ไปทำการเปิดสอบในจังหวัดต่าง ๆ เป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน
- พ.ศ. 2499 เป็นอาจารย์ใหญ่สำนักเรียนวัดปากน้ำ
- พ.ศ. 2508 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดปากน้ำ
- พ.ศ. 2528-2537 เป็นผู้อำนวยการตรวจธรรมสนามหลวงชั้นตรี ภาค 7
- พ.ศ. 2532 เป็นรองแม่กองบาลีสนามหลวง รูปที่ 1
- พ.ศ. 2537-2557 เป็นแม่กองบาลีสนามหลวง
- พ.ศ. 2538 เป็นกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์
งานด้านการเผยแผ่ในประเทศ
- พ.ศ. 2537 เป็นรองแม่กองงานพระธรรมทูต รูปที่ 2
- เป็นรองประธานคณะพระธรรมจาริก รูปที่ 1
- พ.ศ. 2537 เป็นประธานคณะพระธรรมจาริก
- แม่กองงานพระธรรมทูต
การดำรงตำแหน่งผูปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช โดยได้เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2556 หลังจากที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สิ้นพระชนม์ จนถึงปี 2560 หลังจากที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
งานด้านเผยแผ่ในต่างประเทศ/ศาสนวิเทศ
- พ.ศ. 2527 ได้เริ่มสร้างวัดไทยในสหรัฐอเมริกา ตั้งชื่อวัดว่า “วัดมงคลเทพมุนี” เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่เผยแผ่และปฏิบัติธรรมของชาวไทยและชาวต่างชาติมาถึงปัจจุบัน สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 50 ล้านบาท
- พ.ศ. 2540 ได้ริเริ่มก่อสร้างวัดไทยแห่งแรกในประเทศญี่ปุ่นตั้งชื่อว่า “วัดปากน้ำญี่ปุ่น” เมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นที่เผยแผ่และปฏิบัติธรรมของชาวไทยและชาวญี่ปุ่นภายในวัดมีเสนาสนะบริบูรณ์ และได้สร้างอุโบสถสถาปัตยกรรมไทย ประกอบพิธีผูกสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ 9-10 เมษายน พ.ศ. 2548 สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 300 ล้านบาท
- พ.ศ. 2545 ได้ริเริ่มก่อสร้างวัดไทยในประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งชื่อว่า “วัดปากน้ำนิวซีแลนด์” เมืองทัวรังง่า ประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อเป็นที่เผยแผ่และปฏิบัติธรรมของชาวไทยและชาวนิวซีแลนด์ ปัจจุบันกำลังดำเนินการสร้างอุโบสถ และเสนาสนะ สิ้นค่าก่อสร้าง ประมาณ 60 ล้านบาท
งานด้านสาธารณูปการ
- พ.ศ. 2508 เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ได้ดำเนินการที่เป็นประโยชน์แก่พระภิกษุ สามเณร แม่ชี ผู้อาศัยอยู่ในวัด และเป็นการอำนวยความสะดวกแก่สาธุชนที่มาทำบุญที่วัดปากน้ำ ในเรื่องหลัก 6 ประการ คือ
- บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะเก่า
- ก่อสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุใหม่
- อนุรักษ์โบราณวัตถุ รักษาให้อยู่ในสภาพดี
- จัดซื้อที่ดินเพื่อขยายอาณาเขตของวัด
- สร้างถนนกึ่งสะพานเป็นทางเข้าวัด
- จัดทำระบบไฟฟ้าและน้ำประปาทั่วทั้งวัด
รวมค่าก่อสร้างภายในวัดเป็นจำนวนเงินประมาณทั้งสิ้น 400,000,000 บาท (สี่ร้อยล้านบาทถ้วน)
งานบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
- พ.ศ. 2524 ได้ก่อตั้ง “มูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำ” เพื่อนำดอกผลของมูลนิธิใช้ในการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ และได้ชักชวนสาธุชนร่วมสมทบทุนในโอกาสต่าง ๆ มาถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) รวมค่าบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์นอกวัด เป็นเงินจำนวนประมาณทั้งสิ้น 230,000,000 บาท (สองร้อยสามสิบล้านบาทถ้วน)
ประมวลค่าก่อสร้างทั้งสิ้นมีดังนี้ ค่าก่อสร้างภายในวัด เป็นเงินจำนวน 400,000,000 บาท ค่าก่อสร้างภายนอกวัด เป็นเงินจำนวน 230,000,000 บาท รวมทั้งสิ้นประมาณ เป็นเงินจำนวน 630,000,000 บาท (หกร้อยสามสิบล้านบาทถ้วน) พ.ศ. 2529 ได้จัดถวายทุนแก่สำนักศาสนศึกษา 72 แห่งทั่วประเทศ สำนักละ 1 แสนบาท เพื่อนำไปตั้งเป็นทุนมูลนิธิเพื่อการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในนามพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) รวมปัจจัยทั้งสิ้น 7,200,000 บาท (เจ็ดล้านสองแสนบาทถ้วน)
งานสาธารณูปการสงเคราะห์
- พ.ศ. 2532 ได้ดำเนินการก่อสร้างมหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อนและพระเจดีย์ถวายเป็นธรรมานุสรณ์ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และรัชมังคลาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ค่าก่อสร้าง จำนวน 200,000,000 บาท (สองร้อยล้านบาทถ้วน)
- พ.ศ. 2534 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสมุดพระพุทธศาสนา มหาสิรินาถ ในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ณ พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ค่าก่อสร้าง 200,000,000 บาท (สองร้อยล้านบาทถ้วน)
- พ.ศ. 2542 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนแล้วเสร็จเรียบร้อย และมอบให้มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ค่าก่อสร้าง จำนวน 75,000,000 บาท (เจ็ดสิบห้าล้านบาทถ้วน)
- 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ได้เริ่มก่อสร้างพระเจดีย์มหารัชมงคล ขนาดความสูง 80 เมตร กว้าง 50 เมตร ยาว 50 เมตร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ณ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร งบประมาณ 300,000,000 บาท (สามร้อยล้านบาทถ้วน)
งานพิเศษ
- พ.ศ. 2498 เป็นองค์สังคีติการกคณะสงฆ์ไทย ไปร่วมประชุมปฏิบัติงานสังคายนาพระไตรปิฎกภาษาบาลี
- พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน เป็นประธานมูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำ ม.ส.จ.
- พ.ศ. 2534 - ประธานคณะอนุกรรมการจัดหาทุนสร้างพุทธมณฑลฝ่ายสงฆ์
- กรรมาธิการแห่งสังคีติการกสงฆ์ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก ฉบับเฉลิมพระเกียรติ
- กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์ ฝ่ายบรรพชิต
- คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายจัดหาทุนก่อสร้างวัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล
- เป็นประธานในพิธีมอบสัญญาบัตรพัดยศแก่พระครูสัญญาบัตรที่ได้รับพระราชทานตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์
- เป็นประธานในพิธีทรงตั้งเปรียญธรรม 3 ประโยค
- เป็นประธานในพิธีประสาทปริญญาบัตร แก่มหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ไทย ทั้ง 2 แห่ง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สมณศักดิ์
สมณศักดิ์ไทย
- พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี[3]
- พ.ศ. 2505 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชเวที ตรีปิฎกภูสิต ธรรมบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- พ.ศ. 2510 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวรเวที นรสีห์ธรรมานุนายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมธีรราชมหามุนี ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณ วิศาลปริยัติกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระธรรมปัญญาบดี ศรีวิสุทธิคุณ สุนทรวรนายก ดิลกธรรมนุสิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- พ.ศ. 2538 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ไพศาลหิตานุหิตวิธาน ปฏิภาณสุธรรมภาณี ศรีสังฆโสภณ วิมลศีลาจารย์นิวิฐ ตรีปิฏกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[8]
สมณศักดิ์ต่างประเทศ
- พ.ศ. 2520 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศบังกลาเทศ ที่ พระศาสนธชมหาปัญญาสาระ
- พ.ศ. 2524 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา ฝ่ายอมรปุรนิกาย ที่ พระชินวรสาสนโสภณเตปิฏกวิสารทคณะปาโมกขาจริยะ
- พ.ศ. 2525 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา สยามนิกาย ฝ่ายอัสสคิริยะ ที่ พระสาสนโชติกสัทธัมมวิสารทวิมลกิตติสิริ
- พ.ศ. 2525 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา สยามนิกาย ฝ่ายมัลลวัตตะ ที่ พระธรรมกิตติสิรเตปิฏกวิสารโท
- พ.ศ. 2526 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา ฝ่ายรามัญวงศ์ ที่ พระติปิฏกปัณฑิตธัมมกิติสสิริยติสังฆปติ
- พ.ศ. 2526 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ของประเทศศรีลังกา สยามวงศ์ ฝ่ายโกฎเฏ ที่ พระอุบาลีวังสาลังการะอุปัชฌายะธรรมธีรมหามุนีเถระ
- พ.ศ. 2538 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา ฝ่ายอมรปุรนิกาย ที่ พระเถรวาทะวังสาลังการะสยามเทสะสาสนธชะ
- พ.ศ. 2557 ได้รับสมณศักดิ์จากรัฐบาลประเทศพม่า ที่ พระอัคคมหาสัทธัมมโชติกธชะ[9]
- พ.ศ. 2558 ได้รับสมณศักดิ์จากรัฐบาลประเทศพม่า ที่ อัครมหาบัณฑิต[10]
เกียรติคุณ
- พ.ศ. 2532 ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2543 ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย ประเทศศรีลังกา
- พ.ศ. 2546 ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสังฆสภาอินเดีย ประเทศอินเดีย
มรณภาพ
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) มรณภาพด้วยอาการสงบในช่วงเช้าของวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 สิริอายุ 96 ปี พรรษา 76 ทั้งนี้ หลังจากอาพาธและเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อฟอกไตมาเป็นระยะเวลา 5 ปี ก่อนที่ตลอดปีที่ผ่านมาจะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ ก่อนมรณภาพไม่มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวานหรือความดัน[11]
อ้างอิง
- สูจิบัตร อายุวัฒนมงคล 80 ปี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
- ประวัติย่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญมหาเถร ป.ธ. 9)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศมติมหาเถรสมาคม เรื่องแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 131, ตอนพิเศษ 28 ง, 11 กุมภาพันธ์ 2557, หน้า 1
- ↑ "ได้รับแต่งตั้ง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-27. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 74, ตอนที่ 6 ฉบับพิเศษ, 12 มกราคม พ.ศ. 2500, หน้า 10
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 80, ตอนที่ 3 ฉบับพิเศษ, 4 มกราคม พ.ศ. 2506, หน้า 7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 84, ตอนที่ 128 ฉบับพิเศษ, 30 ธันวาคม พ.ศ. 2510, หน้า 2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 90, ตอนที่ 117 ฉบับพิเศษ, 13 ธันวาคม พ.ศ. 2538, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 105, ตอน 35 ฉบับพิเศษ, 4 มีนาคม พ.ศ. 2531, หน้า 8-11
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 112, ตอนพิเศษ 47 ง, 13 ธันวาคม พ.ศ. 2538, หน้า 1
- ↑ พม่าถวายสมณศักดิ์สมเด็จวัดปากน้ำ, เดลินิวส์
- ↑ "เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำประเทศไทย เป็นตัวแทนถวายสมณศักดิ์แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. 27 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ สุดอาลัย ‘สมเด็จช่วง’ มรณภาพแล้ว สิริอายุ 96 ปี มติชนออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564
ก่อนหน้า | สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) | ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (3 มกราคม พ.ศ. 2557 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560) |
สิ้นสุดตำแหน่ง | ||
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) | ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 3 มกราคม พ.ศ. 2557) |
สิ้นสุดตำแหน่ง | ||
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) | ประธานสมัชชามหาคณิสรคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย (พ.ศ. 2556 – 2564) |
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) | ||
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) | ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม (พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2560) |
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช | ||
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต) |
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ (พ.ศ. 2537 – 2558) |
พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ) | ||
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต) |
แม่กองบาลีสนามหลวง (พ.ศ. 2537 – 2557) |
พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2468
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2564
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
- สมเด็จพระราชาคณะ
- พระธรรมปัญญาบดี
- พระธรรมธีรราชมหามุนี
- เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
- เจ้าคณะภาค 3
- เจ้าคณะภาค 7
- เจ้าคณะภาค 17
- เจ้าอาวาส
- เปรียญธรรม 9 ประโยค
- กรรมการมหาเถรสมาคม
- อัครมหาบัณฑิต
- แม่กองบาลีสนามหลวง
- แม่กองงานพระธรรมทูต
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- บุคคลจากอำเภอบางพลี
- ภิกษุจากจังหวัดสมุทรปราการ