ข้ามไปเนื้อหา

สถานีรถไฟบ้านปิน

พิกัด: 18°05′46″N 99°52′01″E / 18.096051°N 99.867053°E / 18.096051; 99.867053
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟบ้านปิน
สถานีรถไฟชั้น 2
สถานีรถไฟถ่ายจากทางทิศใต้ของสถานี
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง203 บ้านใหม่ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สาย
ชานชาลา2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลา2
ที่จอดรถลานจอดรถหน้าสถานี
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1172 (บป.)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ15 มิถุนายน พ.ศ. 2457 (110 ปี)
ผู้โดยสาร
ไม่ต่ำกว่า 50 คน /วัน[ต้องการอ้างอิง]
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
ห้วยแม่ต้า สายเหนือ ผาคัน
มุ่งหน้า เชียงใหม่
บ้านปิน
Ban Pin
กิโลเมตรที่ 563.86
ห้วยแม่ต้า
Huai Mae Ta
−9.44 กม.
ผาคัน
Pha Khan
+14.60 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟบ้านปิน (อังกฤษ: Ban Pin Railway Station) เป็นสถานีรถไฟระดับสองบนเส้นทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ–เชียงใหม่) ตั้งอยู่ในตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 563.86 กิโลเมตร สถานีบ้านปินตั้งอยู่ระหว่างที่หยุดรถไฟห้วยแม่ต้ากับสถานีรถไฟผาคัน โดยช่วงระหว่างสถานีบ้านปินกับสถานีผาคัน เป็นที่ตั้งของอุโมงค์ห้วยแม่ลานซึ่งมีความยาว 130.20 เมตร อยู่ห่างจากสถานีบ้านปินไปประมาณ 11 กิโลเมตร

สถานีบ้านปินก่อสร้างและเปิดเดินรถในสมัยรัชกาลที่ 6 อาคารสถานีมีรูปแบบสถาปัตยกรรมบาวาเรียนผสมอับสถาปัตยกรรมไทยอันเป็นเอกลักษณ์ ตัวสถานีมีทางรถไฟ 5 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 3 ทาง ทางตัน 1 ทาง และมี 2 ชานชาลา ย่านสถานีมีหอประแจและหอเติมน้ำสำหรับรถจักรไอน้ำซึ่งปัจจุบันเลิกใช้งานแล้ว นอกจากนี้ยังเคยมีโรงซ่อมรถซึ่งใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 แต่ปัจจุบันถูกรื้อถอนแล้ว

สถานีรถไฟบ้านปินเป็นสถานีหนึ่งในโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย - เชียงใหม่

แต่เดิม ระหว่างสถานีรถไฟบ้านปินกับสถานีรถไฟผาคันเคยมีที่หยุดรถห้วยแม่ลาน ที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ที่บริเวณปากอุโมงค์ห้วยแม่ลานทางทิศเหนือ(ฝั่งสถานีผาคัน) ซึ่งในปัจจุบันได้ถูกยุบยกเลิกไปแล้ว[1]

ประวัติ

[แก้]

สถานีรถไฟบ้านปินก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และเปิดเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2457 โดยเส้นทางช่วงห้วยแม่ต้า-บ้านปิน ซึ่งมีระยะทาง 13 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายเหนือ มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมัน เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง

สถาปัตยกรรม

[แก้]

อาคารสถานีรถไฟบ้านปินมีสถาปัตยกรรมแบบบาวาเรียนทิมเบอร์เฟรมเฮาส์หรือแบบโครงไม้ ซึ่งได้รับความนิยมในแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ผสมกับสถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างเรือนปั้นหยา สีของอาคารเป็นสีเหลืองส้ม

อาคารสถานีเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนเป็นไม้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีการผสมผสานศิลปะตะวันตก และพื้นถิ่นล้านนาเช่นเดียวกับอาคารสถานีรถไฟนครลำปางผังพื้นอาคารเป็นรูปตัวที (T) พื้นที่ใช้สอยชั้นล่างเป็นที่ทำงานของนายสถานี พื้นที่จำหน่ายตั๋ว และห้องอาณัติสัญญาณ โดยมีโถงพักคอยชั้นเดียวแยกตัวออกจากอาคารด้านช่องจำหน่ายตั๋ว ด้านหลังของห้องทำงานนายสถานีมีห้องน้ำสำหรับเจ้าหน้าที่ และมีบันไดไม้สำหรับขึ้นลงตั้งอยู่ ส่วนชั้นบนมีห้องน้ำ ห้องพักของนายสถานี และห้องนั่งเล่น สำหรับหลังคาของอาคารส่วนที่เป็น 2 ชั้น เป็นหลังคาจั่ว ส่วนหลังคาของโถงพักคอยเป็นหลังคาปั้นหยา ทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ประตูและหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตู หน้าต่าง และหน้าช่องจำหน่ายตั๋วประดับด้วยไม้ฉลุลายสวยงาม จุดเด่นของอาคาร คือ ผนังภายนอกชั้นสองตกแต่งด้วยไม้คาดในแนวตั้งและแนวทแยงภายในโครงสร้างไม้กรอบสี่เหลี่ยม[2]

ตารางเดินรถ

[แก้]
ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564

เที่ยวไป

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง บ้านปิน ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ดพ13 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.05 04.53 เชียงใหม่ 08.40
ด51 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.30 07.56 เชียงใหม่ 12.10
ท407 นครสวรรค์ 05.00 10.50 เชียงใหม่ 14.35
ดพ7 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05 15.57 เชียงใหม่ 19.30
ร109 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.15 15.34 เชียงใหม่ 04.05
ดพ9 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.40 ไม่จอดสถานนี้ เชียงใหม่ 07.15
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เทียวกลับ

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง บ้านปิน ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร102 เชียงใหม่ 06.30 10.11 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25
ดพ8 เชียงใหม่ 08.50 12.09 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.55
ท408 เชียงใหม่ 09.30 13.42 นครสวรรค์ 19.55
ด52 เชียงใหม่ 15.30 19.48 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.10
ดพ14 เชียงใหม่ 17.00 21.50 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10
ดพ10 เชียงใหม่ 18.00 ไม่จอดสถานีนี้ กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.50
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. บันทึกจาก Black express สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564
  2. "สถานีรถไฟบ้านปิน" สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564
  • จาก "เที่ยวเก๋าไหม ไป "ลอง" กัน": สถานีรถไฟบ้านปิน ประตูสู่เมืองลอง. อ.ส.ท. กุมภาพันธ์ 2561. pp. 26–39.
  • ถ้าวันหนึ่ง ฉันจะนั่งรถไฟ. กองโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยวศูนย์ประชาสัมพันธ์. p. 124-127.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

18°05′46″N 99°52′01″E / 18.096051°N 99.867053°E / 18.096051; 99.867053