ข้ามไปเนื้อหา

ลัทธิบาบี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลัทธิบาบี[1] (อังกฤษ: Babism) หรือ อัลบาบียะฮ์ (เปอร์เซีย: بابیه, Babiyye) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่พระบาบก่อตั้งขึ้นในประเทศอิหร่าน เขาประกาศตัวว่าเป็นทายาทของกาซิม รัชติ ผู้นำทางศาสนาคนหนึ่ง หลังจากนั้นเขาได้อ้างว่าตนเองเป็นประตูสู่อิหม่ามมะฮ์ดี อิหม่ามคนที่ 12 ตามความเชื่อของมุสลิมชีอะฮ์ ต่อมาเขากลับอ้างว่าเป็นอิหม่ามมะฮ์ดีเสียเอง และในท้ายที่สุดอ้างตนเป็นผู้เผยพระวจนะ ความเคลื่อนไหวของเขาและสาวกเรียกว่าขบวนการบาบี (Bábí)

บาบถูกจำคุกระหว่าง พ.ศ. 2390 – 2391 ที่เมืองมากู ระหว่างนี้ เขาได้เขียนคัมภีร์บายันที่ถือเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของขบวนการ บาบปฏิเสธอัลกุรอานและคัมภีร์อื่น ๆ ก่อนหน้านี้ และให้เมืองชิราชเป็นศูนย์กลางของศาสนาแทนมักกะฮ์ ผู้เลื่อมใสลัทธินี้ใช้การรบและความรุนแรงเพื่อนำไปสู่จุดหมาย ทำลายระเบียบทางสังคมดั้งเดิมของอิหร่านเพื่อเริ่มศักราชของศาสนาใหม่ จึงถูกทางรัฐบาลปราบปรามอย่างรุนแรงตั้งแต่ พ.ศ. 2391 – 2393 บาบเองถูกจับและประหารชีวิตเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2393

หลังจากนั้น ขบวนการบาบีได้หลบลงใต้ดิน และขยายตัวต่อไปอย่างเงียบ ๆ ต่อมาได้แตกออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มอาซาลี ที่ยังยืนหยัดกับลัทธิบาบีเดิม และกลุ่มที่ดำเนินรอยตามพระบะฮาอุลลอฮ์ ผู้ก่อตั้งศาสนาบาไฮซึ่งเน้นการไม่ใช้ความรุนแรง

อ้างอิง

[แก้]
  1. สาคร ช่วยประสิทธิ์. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 327