ลักษณะ (ศาสนาพุทธ)
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
ลักษณะ (ลกฺขณํ) แปลว่า เครื่องทำสัญลักษณ์, เครื่องกำหนด, เครื่องบันทึก, เครื่องทำจุดสังเกต, ตราประทับ เปรียบได้กับภาษาอังกฤษในคำว่า marker
คำว่าลักษณะนี้ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาใช้เรียกทั้งบัญญัติและปรมัตถ์ โดยมีหลักการแบ่งเป็นหลักอยู่ ดังนี้
- ถ้าเป็นปรมัตถธรรม มีสภาวะอยู่จริง เรียกว่า ปัจจัตตลักษณะ หรือ วิเสสลักษณะ เช่น การรับรู้เป็นลักษณะของจิต เพราะทำให้เราสามารถกำหนดเจาะจงลงไปได้ว่า "นี้เป็นจิต ไม่ใช่ดิน" เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าลักษณะแบบนี้ก็คือตัวสภาวะนั้น ๆ นั่นเอง เพราะสามารถกำหนดหมายลงไปได้ด้วยตัวเอง เช่น จิตก็คือการรับรู้-การรับรู้ก็คือจิต เป็นต้น ฉะนั้น ท่านจึงตั้งชื่อว่า ปัจจัตตลักษณะ (ปฏิ+อัตต+ลักขณะ) แปลว่า เอกลักษณ์, เอกลักษณ์เฉพาะตัว, สัญลักษณ์ส่วนตัว, ตราส่วนตัว
- ถ้าไม่ใช่ปรมัตถธรรม ไม่มีสภาวะอยู่จริง เรียกว่า "บัญญัติ" เช่น อนิจจลักษณะ เป็นลักษณะของขันธ์ 5 เพราะทำให้เราสามารถกำหนดเจาะจงลงไปได้ว่า "สิ่งนี้เป็นตัวอนิจจัง (ขันธ์) ไม่ใช่นิพพาน", เช่นเดียวกัน นิจจลักษณะก็เป็นลักษณะของนิพพาน เพราะทำให้เราทราบได้ว่า "สิ่งนี้เป็นนิพพาน ไม่ใช่ขันธ์", คำว่า "จักขุปสาท" เป็นลักษณะของตัวจักขุปสาท เพราะทำให้เราระลึกถึงจักขุปสาทนั้นได้ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าลักษณะแบบนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ทราบถึงตัวสภาวะได้ (เช่น คำว่า "จักขุปสาท") หรือไม่ก็สามารถจะทำให้ทราบถึงบัญญัติที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสภาวะได้ (เช่น อนิจจลักษณะ) เป็นต้น อนึ่ง ไตรลักษณ์ ก็จัดเข้าในลักษณะประเภทที่ 2 นี้ด้วย เพราะท่านระบุไว้ว่าเป็นบัญญัติ[1]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ อภิ.ธ.อ.มกุฏ 75/-/620", บาลีอยู่ใน "โลกุตฺตรกุสลวณฺณนา - -34- อฏฺฐสาลินี ธมฺมสงฺคณี-อฏฺฐกถา (พุทฺธโฆส) - อภิ.อฏฺ. 1 ข้อ ๓๕๐"