ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาอู๋

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอู๋
吳/吴(ฮงิ่ว)
ประเทศที่มีการพูด จีน
ภูมิภาคนครเซี่ยงไฮ้ พื้นที่ส่วนมากของมณฑลเจ้อเจียง ตอนใต้ของมณฑลเจียงซู ฯลฯ
จำนวนผู้พูด77 ล้านคน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-1zh
ISO 639-2chi (B)
zho (T)
ISO 639-3wuu
การกระจายตัวของผู้พูดภาษาจีนสำเนียงต่างๆ

ภาษาอู๋[1] หรือ ภาษาง่อ[2] (ภาษาอู๋:ฮงิ่ว) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาจีน ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลเจียงซี นครเซี่ยงไฮ้ ทางใต้ของเจียงซู และบางส่วนในอันฮุย เจียงซีและ ฝูเจี้ยน มีผู้พูด 87 ล้านคน (เมื่อปี พ.ศ. 2534) โครงสร้างประโยคส่วนใหญ่เป็นแบบ ประธาน-กรรม-กริยา โดยมีโครงสร้างประโยคเช่นนี้มากกว่าภาษาจีนกลาง และภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาอู๋มีหลายสำเนียง โดยสำเนียงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือสำเนียงเซี่ยงไฮ้หรือภาษาเซี่ยงไฮ้

ชื่อ

[แก้]

จำนวนผู้พูดโดยเฉลี่ยของสำเนียงอู๋จะอ้างถึงสำเนียงของตนและเพิ่มชื่อถิ่นที่อยู่ของตนเข้าไป คำที่ใช้เรียกภาษาอู๋มีหลายคำดังนี้

  • ภาษาอู๋ (吳語 Wúyǔ) และ สำเนียงอู๋ (吳語方言 Wúyǔ fāngyán) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการ
  • ภาษาเซี่ยงไฮ้ (上海話/上海閒話 Shànghǎihuà/Shànghǎixiánhuà) เป็นชื่อที่นิยมใช้โดยทั่วไป เนื่องจากเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่มีผู้รู้จักมากที่สุดในพื้นที่ที่มีการใช้ภาษาอู๋ การใช้ภาษาเซี่ยงไฮ้ในการบ่งบอกถึงกลุ่มภาษาจะใช้มากนอกประเทศจีน หรือใช้ในการแนะนำบริเวณที่มีการใช้ภาษานี้ แต่นักภาษาศาสตร์จะใช้เมื่อกล่าวถึงสำเนียงเซี่ยงไฮ้เท่านั้น
  • ภาษาอู๋เยว่ (吳越語 Wúyuèyǔ) เป็นชื่อโบราณ ปัจจุบันใช้น้อยลง แต่เดิมเป็นชื่อที่ใช้หมายถึงภาษาอู๋ แต่สำหรับนักวิชาการที่ศึกษาสำเนียงต่างๆของภาษาจีน คำว่าอู๋ จะหมายถึงอาณาจักรอู๋ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเจ้อเจียง คำว่าเยว่หมายถึงภาษาที่ใช้ในอาณาจักรเยว่โบราณ ซึ่งได้แก่บริเวณเจียงซูทางใต้ของเจ้อเจียง ปัจจุบันนิยมใช้อู๋ใต้และอู๋เหนือมากกว่า
  • ภาษาเจียงหนาน (江南話 Jiāngnánhuà ) หมายถึงภาษาที่ใช้ทางใต้ของแม่น้ำแยงซี(แม่น้ำฉางเจียง)
  • ภาษาเจียงเจ๋อ (江浙話 Jiāngzhéhuà) หมายถึงภาษาที่ใช้ในเจียงซู และเจ๋อเจียง

ประวัติ

[แก้]

ภาษาอู๋สมัยใหม่เป็นภาษาที่ใช้โดยชาวอู๋และชาวเยว่ที่มีศูนย์กลางอยู่ทางใต้ของเจียงซูและทางเหนือของเจ๋อเจียง คำในภาษาญี่ปุ่นที่หมายถึงภาษาจีน (呉音 goon?) การออกเสียงตัวคันจินี้มาจากบริเวณที่พูดภาษาอู๋ในปัจจุบัน

ภาษาอู๋สืบทอดมาจากภาษาจีนยุคกลาง ภาษาอู๋จัดเป็นสำเนียงที่แยกตัวออกในช่วงต้นๆและยังคงมีลักษณะของภาษาในยุคโบราณอยู่มาก แต่ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนเหนือหรือแมนดารินระหว่างพัฒนาการ ซึ่งเป็นเพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับภาคเหนือ และในบริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่ได้รับการศึกษาสูง ระหว่างการลุกฮือของ อู๋ ฮู และหายนภัยของหยงเจี๋ย ทำให้มีชาวจีนทางเหนือเข้ามาตั้งหลักแหล่งมาก ส่วนใหญ่มาจากเจียงซูและซานตง มีส่วนน้อยมาจากที่ราบภาคกลาง ทำให้เกิดภาษาอู๋สมัยใหม่ขึ้น ในช่วงเวลาระหว่างราชวงศ์หมิงและยุคสาธารณรัฐตอนต้นเป็นช่วงลักษณะของภาษาอู๋สมัยใหม่ได้ก่อตัวขึ้นมา สำเนียงซูโจวเป็นสำเนียงที่ได้รับอิทธิพลมากที่สุดและมักใช้อ้างอิงเป็นตัวอย่างของภาษาอู๋

ในช่วงหลังจากกบฏไท่ผิงจนสิ้นสุดราชวงศ์ชิง บริเวณที่พูดภาษาอู๋ถูกทำลายด้วยสงคราม เซี่ยงไฮ้เป็นบริเวณที่มีผู้อพยพจากส่วนอื่นๆที่ใช้ภาษาอู๋เข้ามามาก ทำให้มีผลต่อสำเนียงเซี่ยงไฮ้ เช่นมีการนำอิทธิพลของสำเนียงหนิงโปเข้ามา และจากการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วทำให้กลายเป็นบริเวณที่เป็นศูนย์กลาง สำเนียงเซี่ยงไฮ้จึงมีความสำคัญมากกว่าสำเนียงซูโจว

ป้ายเชิญชวนให้ใช้ภาษาจีนกลาง

หลังจากก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการสนับสนุนให้ใช้ภาษาจีนกลางอย่างมากในบริเวณที่ใช้ภาษาอู๋ ภาษาอู๋ไม่มีการใช้ในสื่อต่างๆและโรงเรียน หน่วยงานทางราชการต้องใช้ภาษาจีนกลางด้วยอิทธิพลของผู้อพยพเข้าที่ไม่ได้ใช้ภาษาอู๋ การที่สื่อต่างๆใช้ภาษาจีนกลาง ทำให้เด็กที่เติบโตขึ้นมาคุ้นเคยกับภาษาจีนกลางมากกว่าภาษาอู๋ มีประชาชนจำนวนมากที่ต้องการอนุรักษ์ภาษานี้ มีรายการโทรทัศน์ที่ใช้ภาษาอู๋อีกครั้งแต่ก็ยังมีขอบเขตจำกัด

สำเนียง

[แก้]

แบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลักคือภาษาอู๋เหนือและอู๋ใต้ ซึ่งเข้าใจกันได้เพียงบางส่วน ตามที่จำแนกโดย Yan (2006)[3] สำเนียงของภาษาอู๋มี 6 สำเนียงคือ

  • ไท่หู ใช้พูดทางใต้ของมณฑลเจียงซู ทางใต้ของหนานตง จิงเจียงและตันหยาง เซี่ยงไฮ้ และทางเหนือของเจ้อเจียง เป็นกลุ่มของสำเนียงที่ใหญ่ที่สุดของภาษาอู๋ ภาษาจีนเซี่ยงไฮ้อยู่ในกลุ่มนี้
  • ไทโจว (台州)ใช้พูดในบริเวณไทโจว มณฑลเจ้อเจียง เป็นสำเนียงทางใต้ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับสำเนียงไท่หูที่จัดเป็นสำเนียงทางเหนือ และสามารถเข้าใจกันได้
  • โอวเจียง(甌江/瓯江)/ตงโอว(東甌片/东瓯片) ใช้พูดบริเวณเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง เป็นสำเนียงที่ต่างจากสำเนียงอื่นๆของภาษาอู๋มาก
  • อู้โจว (婺州) ใช้พูดในบริเวณจินหัว มณฑลเจ้อเจียง สามารถเข้าใจกันได้กับสำเนียงไท่หูในระดับหนึ่ง แต่ในระดับที่น้อยกว่าสำเนียงไทโจว
  • ชู่ฉวี(處衢/处衢) ใช้พูดในบริเวณฉวีโจว ลี่สุ่ย มณฑลเจ้อเจียง และบางส่วนของมณฑลเจียงซี
  • ฉวนโจว(宣州) ใช้พูดในมณฑลอันฮุย เป็นสำเนียงที่ใช้พูดน้อยลงหลังเหตุการณ์กบฏไท่ผิง และถูกแทนที่ด้วยผู้อพยพเข้ามาใหม่ที่พูดภาษาจีนกลาง

การออกเสียง

[แก้]

ภาษาอู๋เป็นสำเนียงที่ยังคงรักษาการออกเสียงก้อง เสียงเสียดแทรก จากภาษาจีนยุคกลางไว้ได้ และยังรักษาเสียงวรรณยุกต์แบบภาษาจีนยุคกลางไว้ได้อีกด้วย โดยสำเนียงเซี่ยงไฮ้มีเสียงวรรณยุกต์ลดลง

ไวยากรณ์

[แก้]

ระบบสรรพนามของภาษาอู๋มีความซับซ้อนเมื่อใช้เป็นสรรพนามแสดงบุคคลหรือตำแหน่ง สรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์แบ่งเป็นรวมผู้ฟังและไม่รวมผู้ฟัง สรรพนามแสดงตำแหน่งในภาษาอู๋มีถึง 6 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งใกล้ 3 คำ ตำแหน่งไกล 3 คำ การเรียงประโยคในภาษาอู๋เป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม เช่นเดียวกับภาษาจีนกลาง แต่ก็พบการเรียงประโยคแบบ ประธาน-กรรม-กริยา หรือ กรรม-ประธาน-กริยาอยู่บ้าง เสียงวรรณยุกต์มีความซับซ้อน ในบางครั้งการแยกกรรมตรงและกรรมรองออกจากกัน จะต่างเพียงการใช้เสียงก้องและเสียงไม่ก้องเท่านั้น

คำศัพท์

[แก้]

ภาษาอู๋ยังคงรักษาคำศัพท์โบราณจากภาษาจีนคลาสสิก ภาษาจีนยุคกลางและภาษาจีนโบราณได้เช่นเดียวกับสำเนียงของภาษาจีนทางใต้อื่นๆ ภาษาอู๋นิยมใช้คำศัพท์จากภาษาจีนโบราณ

อ้างอิง

[แก้]
  1. เสียงอ่านภาษาจีนกลาง: [ʔûːɥ̀]
  2. แม่แบบ:IPA-nan
  3. Yan, M.M. (2006). Introduction to Chinese Dialectology. Munich: Lincom Europa