มณฑลเจียงซี
มณฑลเจียงซี 江西省 | |
---|---|
การถอดเสียงชื่อมณฑล | |
• ภาษาจีน | เจียงซีเฉิ่ง (江西省 Jiāngxī Shěng) |
• อักษรย่อ | JX / กั้น (赣 (Gàn; ภาษาจีนกั้น: Kōm) |
• ภาษาจีนกั้น | Kongsi |
• พินอินภาษาแคะ | Gong1 Si1 Sen3 |
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเจียงซี | |
พิกัด: 27°18′N 116°00′E / 27.3°N 116.0°E | |
ตั้งชื่อจาก | ย่อมาจาก 江南西 เจียงหนานชี แปลว่า ตะวันตกของเจียงหนาน |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | หนานชาง |
จำนวนเขตการปกครอง | 11 จังหวัด, 99 อำเภอ, 1549 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | หลิว ฉี 刘奇 |
• ผู้ว่าการ | อี้ เลี่ยนหง 易炼红 |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 166,919 ตร.กม. (64,448 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 18 |
ความสูงจุดสูงสุด | 2,158 เมตร (7,080 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2013)[1] | |
• ทั้งหมด | 45,200,000 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 13 |
• ความหนาแน่น | 270 คน/ตร.กม. (700 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 16 |
ประชากรศาสตร์ | |
• องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ | ฮั่น – 99.7% เชอ – 0.2% |
• ภาษาและภาษาถิ่น | ภาษาจีนกั้น, ภาษาแคะ, ภาษาจีนฮุยโจว, ภาษาอู๋, ภาษาจีนกลางใต้แม่น้ำแยงซี |
รหัส ISO 3166 | CN-JX |
GDP (ค.ศ. 2017)[2] | 2.08 ล้านล้านเหรินหมินปี้ 308.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 16) |
• ต่อหัว | 45,187 เหรินหมินปี้ 6,693 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 20) |
HDI (ค.ศ. 2018) | 0.727[3] (สูง) (อันดับที่ 23) |
เว็บไซต์ | http://www.jiangxi.gov.cn/ |
มณฑลเจียงซี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
"เจียงซี" เขียนด้วยตัวอักษรจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 江西 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Gan | Kong si | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไปรษณีย์ | Kiangsi | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "เจียง[หนาน]ตะวันตก" | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
เจียงซี (จีน: ; พินอิน: Jiāngxī)[4] หรือเดิมไทยเรียกว่า เกียงซี[5] เป็นมณฑลหนึ่งในภาคตะวันออกของสาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือ หนานชาง มีพื้นที่ทอดยาวจากแม่น้ำแยงซีทางทิศเหนือไปยังพื้นที่เนินเขาทางทิศใต้และตะวันออก มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับมณฑลอานฮุย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับมณฑลเจ้อเจียง ทิศตะวันออกติดกับมณฑลฝูเจี้ยน ทิศใต้ติดกับมณฑลกวางตุ้ง ทิศตะวันตกติดกับมณฑลหูหนาน และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับมณฑลหูเป่ย์[6]
คำว่า "เจียงซี" มาจากชื่อมณฑลที่อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ถังในปี 733 ซึ่งก็คือ เจียงหนานซีเต้า (江南西道; "มณฑลเจียงหนานตะวันตก")[7] ชื่อย่อของมณฑลคือ "กั้น" (赣) มาจากชื่อของแม่น้ำกั้น ซึ่งไหลจากทิศใต้ไปทิศเหนือบรรจบกับแม่น้ำแยงซี เจียงซียังเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กั้นผัวต้าเตอ (贛鄱大地) แปลว่า "ดินแดนกั้นและผัวอันยิ่งใหญ่"
หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ชิง เจียงซีกลายเป็นหนึ่งในฐานทัพในช่วงแรกสุดของคอมมิวนิสต์ และชาวนาจำนวนมากได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมการปฏิวัติของประชาชนที่ก่อตัวมากขึ้น การก่อการกำเริบหนานชางเกิดขึ้นในเจียงซีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1927 ในช่วงสงครามกลางเมืองจีน ต่อมาผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ได้ซ่อนตัวอยู่บริเวณภูเขาทางตอนใต้และตะวันตกของเจียงซี เพื่อหลบซ่อนจากพรรคก๊กมินตั๋งที่พยายามจะกำจัดคอมมิวนิสต์ ต่อมาในปี 1931 รัฐบาลสาธารณรัฐโซเวียตของจีน (Chinese Soviet Republic) ได้ก่อตั้งขึ้นในเมืองรุ่ยจิน ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "เมืองหลวงเก่าสีแดง" (红色故都) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "เมืองหลวงสีแดง" ต่อมาในปี 1935 หลังจากการปิดล้อมโดยกองกำลังชาตินิยม คอมมิวนิสต์ได้บุกเข้ามาและเริ่มการเดินทัพทางไกลไปยังเมืองหยานอัน
พื้นที่ครึ่งหนึ่งทางทิศใต้ของเจียงซีเป็นเนินเขาและภูเขาสลับกับหุบเขา ภูเขาและเทือกเขาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ภูเขาหลู ภูเขาจิ่งกัง และภูเขาซานชิง ส่วนครึ่งหนึ่งทางทิศเหนือมีระดับความสูงที่ต่ำกว่า และมีแม่น้ำกั้นไหลผ่านมณฑล
ถึงแม้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของเจียงซีจะเป็นชาวจีนฮั่น แต่ก็มีความหลากหลายทางภาษา เจียงซีถือเป็นศูนย์กลางของภาษาจีนกั้น และภาษาจีนแคะ ซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษากั้นและมีพูดกันในระดับหนึ่ง เจียงซีอุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุ โดยเป็นมณฑลชั้นนำของจีนในด้านแหล่งสะสมแร่ ซึ่งได้แก่ ทองแดง ทังสเตน ทองคำ เงิน ยูเรเนียม ทอเรียม แทนทาลัม และไนโอเบียม
ภูมิศาสตร์
[แก้]มีลักษณะสำคัญเป็นภูเขา 36% และทิวเขาเล็กทอดยาวต่อกัน 42% ที่เหลือเป็นที่ราบและแม่น้ำ
มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนตลอดปีเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,341 - 1,940 มิลลิเมตร โดยทางใต้ ตะวันออก และเขตภูเขาจะมีฝนตกชุกมากกว่าทางเหนือ ตะวันตก
เขตการปกครอง
[แก้]มณฑลเจียงซีแบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัด 11 แห่ง ทั้งหมดมีฐานะเป็นนครระดับจังหวัด
เขตการปกครองของมณฑลเจียงซี | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อ | อักษรจีน | พินอิน | ภาษากั้นในอักษรโรมัน | |||||
นครหนานชาง | 南昌市 | Nánchāng Shì | lan31 chɔŋ11 si32 | |||||
นครจิ่งเต๋อเจิ้น | 景德镇市 | Jǐngdézhèn Shì | ćin2 tɛt41 cǝn31 si32 | |||||
นครผิงเซียง | 萍乡市 | Píngxiāng Shì | phin12 śiɔŋ11 si32 | |||||
นครจิ่วเจียง | 九江市 | Jiǔjiāng Shì | ćiu2 kɔŋ11 si32 | |||||
นครซินยฺหวี | 新余市 | Xīnyú Shì | śin11 y31 si32 | |||||
นครยิงถัน | 鹰潭市 | Yīngtán Shì | in11 ? si32 | |||||
นครกั้นโจว | 赣州市 | Gànzhōu Shì | ? cǝu11 si32 | |||||
นครจี๋อัน | 吉安市 | Jí'ān Shì | ćit41 ŋɔn11 si32 | |||||
นครอี๋ชุน | 宜春市 | Yíchūn Shì | ńi31 chun11 si32 | |||||
นครฝู่โจว | 抚州市 | Fǔzhōu Shì | ? cǝu11 si32 | |||||
นครชั่งเหรา | 上饶市 | Shàngráo Shì | sɔŋ32 ? si32 |
นครระดับจังหวัดเหล่านี้แบ่งย่อยเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ ทั้งหมด 100 แห่ง (ประกอบด้วย 23 เขต, 11 นครระดับอำเภอ, และ 66 อำเภอ) และแบ่งย่อยอีกเป็นระดับตำบลทั้งหมด 1,548 แห่ง (ประกอบด้วย 770 เมือง, 651 ตำบล, 7 ตำบลชาติพันธุ์, และ 120 แขวง)
เศรษฐกิจ
[แก้]เจียงซีมีการทำฟาร์มที่พัฒนาไปไกล นับเป็นผู้ผลิตพืชประเภทข้าวรายหลักแห่งหนึ่งของประเทศ และมีพืชเศรษฐกิจได้แก่ เรพซีด (เมล็ดให้น้ำมันจำพวกมัสตาร์ด) อ้อย ฝ้าย
เจียงซีเป็นแหล่งผลิตแร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ ทังสเตน ถ่านหิน เหล็ก ตะกั่ว สังกะสี ไนโอเบียม หินเกลือ และดินสำหรับปั้นหม้อเป็นต้น เครื่องถ้วยชามของจิ่งเต๋อเจิ้น ซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนานด้านเครื่องเคลือบดินเผาก็เป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลกด้วย
ประชากร
[แก้]มีประชากร 42,840,000 คน ความหนาแน่น 257/ก.ม. จีดีพี 349.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 8160 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น
คมนาคม
[แก้]มณฑลเจียงซีมีระบบการคมนาคมที่สะดวกสบาย ทั้งทางบกและทางน้ำ การขนส่งระบบราง มีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อมณฑลใกล้เคียง อาทิ เจ้อเจียง อันฮุย ฯลฯ ระยะทางกว่า 2,241 กิโลเมตร มีสถานีรองรับผู้โดยสาร 200 สถานี เจียงซีมีชุมทางเส้นทางหลวงอยู่ในเมืองสำคัญ อาทิ หนันชาง กั้นโจว จี๋อัน อู๋โจว อี๋ชุน ฯลฯ เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเส้นทางหลวง ที่มีความยาวรวมกว่า 37,318 กิโลเมตร ทั้งนี้เป็นเส้นทางทันสมัยถึง 30.48%
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
- ↑ 江西省2017年国民经济和社会发展统计公报 (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Jiangxi. 2018-03-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
- ↑ "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
- ↑ "Encyclopaedia Britannica". สืบค้นเมื่อ 19 September 2017.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
- ↑ "www.ctoptravel.com". www.ctoptravel.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-16. สืบค้นเมื่อ 2012-12-24.
- ↑ Origin of the Names of China's Provinces เก็บถาวร 2016-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, People's Daily Online.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์มณฑลเจียงซี เก็บถาวร 2009-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ภาษาจีน)
- "แผนที่ของมณฑลเจียงซีพร้อมคำอธิบาย" จากปี 1573 ถึง 1620
- ข้อมูลทางเศรษฐกิจของมณฑลเจียงซี ที่องค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง