ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาบ้า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
 
บรรทัด 44: บรรทัด 44:


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://fishbase.sinica.edu.tw/Summary/speciesSummary.php?ID=4797&genusname=Leptobarbus&speciesname=hoevenii รูปและข้อมูลปลาบ้า]
* [http://fishbase.sinica.edu.tw/Summary/speciesSummary.php?ID=4797&genusname=Leptobarbus&speciesname=hoevenii รูปและข้อมูลปลาบ้า] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20060921020656/http://fishbase.sinica.edu.tw/Summary/SpeciesSummary.php?ID=4797&genusname=Leptobarbus&speciesname=hoevenii |date=2006-09-21 }}


[[หมวดหมู่:ปลาน้ำจืด|บ้า]]
[[หมวดหมู่:ปลาน้ำจืด|บ้า]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:28, 25 กันยายน 2564

ปลาบ้า
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Leptobarbus
สปีชีส์: L.  hoevenii
ชื่อทวินาม
Leptobarbus hoevenii
(Bleeker, 1851)
ชื่อพ้อง
  • Barbus hoevenii Bleeker, 1851
  • Filirasbora rubripinna Fowler, 1937
  • Leptobarbus hoenenii (Bleeker, 1851)
  • Leptobarbus hoeveni (Bleeker, 1851)
  • Leptobarbus rubripinna (Fowler, 1937)
  • Leptobarbus rubripinnus (Fowler, 1937)

ปลาบ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Leptobarbus hoevenii) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนของหลังสีดำปนเทา ท้องสีขาวจาง ครีบหางสีแดงสดหรือชมพู ครีบอื่นสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร อาหารได้แก่ เมล็ดพืช, แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก

ปลาบ้าอาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงหรือลูกกระเบาเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีผู้นำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15–18 ชั่วโมง

ปลาบ้ายังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป เช่น "ปลาอ้ายบ้า", "ปลาพวง" ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาโพง" นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงว่า "ปลาแซมบ้า"[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 265 หน้า. หน้า 100. ISBN 974-00-8701-9

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]