ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอบางปะหัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
แก้ไขจำนวนประชากร
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
| province = พระนครศรีอยุธยา
| province = พระนครศรีอยุธยา
| area = 121.9
| area = 121.9
| population = 41,899
| population = 52,899
| population_as_of = 2561
| population_as_of = 2561
| density = 343.71
| density = 433.95
| postal_code = 13220
| postal_code = 13220
| geocode = 1407
| geocode = 1407

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:10, 31 สิงหาคม 2562

อำเภอบางปะหัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Pahan
คำขวัญ: 
งอบสวยวิจิตร อิฐทนทาน
มันเทศหอมหวาน งามตระการ
บ้านทรงไทย เมืองชัยพระเจ้าตาก
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอบางปะหัน
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอบางปะหัน
พิกัด: 14°27′45″N 100°32′41″E / 14.46250°N 100.54472°E / 14.46250; 100.54472
ประเทศ ไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด121.9 ตร.กม. (47.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)
 • ทั้งหมด52,899 คน
 • ความหนาแน่น433.95 คน/ตร.กม. (1,123.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 13220
รหัสภูมิศาสตร์1407
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางปะหัน เลขที่ 139 หมู่ที่ 6 ตำบลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13220
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางปะหัน เป็นอำเภอหนึ่ง ใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอนครใน ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอบางปะหันตั้งอยู่ทางเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบางปะหันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 17 ตำบล 94 หมู่บ้าน ได้แก่

คำว่า “ บางปะหัน ”   มีประวัติว่า ในอดีตพวกลาวเวียงจันทร์อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณนี้  

และได้สร้างเสากังหันขึ้นในหมู่บ้านคนจึงเรียกหมู่บ้านว่า “ บ้านกังหัน ”  หรือ “ บ้านจังหัน ” 

ต่อมาเพี้ยนเป็น   “ บ้านบางปะหัน ” ซึ่งอำเภอได้ใช้ชื่อตามชื่อหมู่บ้าน

จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น  อำเภอบางปะหัน

1. บางปะหัน (Bang Pahan) 7 หมู่บ้าน 10. ทับน้ำ (Thap Nam) 5 หมู่บ้าน
2. ขยาย (Khayai) 6 หมู่บ้าน 11. บ้านม้า (Ban Ma) 4 หมู่บ้าน
3. บางเดื่อ (Bang Duea) 6 หมู่บ้าน 12. ขวัญเมือง (Khwan Mueang) 5 หมู่บ้าน
4. เสาธง (Sao Thong) 5 หมู่บ้าน 13. บ้านลี่ (Ban Li) 5 หมู่บ้าน
5. ทางกลาง (Thang Klang) 4 หมู่บ้าน 14. โพธิ์สามต้น (Pho Sam Ton) 8 หมู่บ้าน
6. บางเพลิง (Bang Phloeng) 3 หมู่บ้าน 15. พุทเลา (Phutlao) 12 หมู่บ้าน
7. หันสัง (Hansang) 7 หมู่บ้าน 16. ตาลเอน (Tan En) 3 หมู่บ้าน
8. บางนางร้า (Bang Nang Ra) 5 หมู่บ้าน 17. บ้านขล้อ (Ban Khlo) 5 หมู่บ้าน
9. ตานิม (Ta Nim) 4 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบางปะหันประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบางปะหัน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางปะหัน บางส่วนของตำบลบางนางร้า และตำบลขวัญเมืองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางปะหัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปะหัน (นอกเขตเทศบาลตำบลบางปะหัน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเดื่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสาธงและตำบลทางกลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหันสัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหันสังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตานิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตานิมทั้งตำบลและตำบลบางนางร้า (นอกเขตเทศบาลตำบลบางปะหัน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทับน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับน้ำและตำบลบ้านม้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านลี่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์สามต้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขยายและตำบลโพธิ์สามต้นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพุทเลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพุทเลาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขล้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเพลิง ตำบลตาลเอน และตำบลบ้านขล้อทั้งตำบล

สถานศึกษา

  • โรงเรียนบางปะหัน สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดกลางเป็นโรงเรียนประจำอำเภอบางปะหัน

สถานที่ท่องเที่ยว

  • วัดไก่ ตั้งอยู่ที่ตำบลหันสัง จากตัวเมืองไปประมาณ 25 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 จะเห็นทางเข้าวัดอยู่ทางขวามือ (ปากทางเข้าจะมีป้ายสัญลักษณ์เป็นรูปลิง) วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาต่อมากลายเป็นวัดร้างภายหลังจากการเสียกรุงแก่พม่า ประมาณปีพ.ศ. 2535 มีพระสงฆ์มาบูรณะและตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น และในปีพ.ศ. 2540 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเป็นวัด และให้ชื่อว่า “วัดไก่” เนื่องจากมีไก่โดนโรคระบาดตายไปจำนวนมาก ส่วนฝูงลิงป่าที่อาศัยอยู่ที่วัดนี้ไม่มีใครบอกว่าอยู่มาตั้งแต่เมื่อใดเป็น ลิงแสม หรือลิงกัง มีอยู่เป็นจำนวนมากแต่เป็นลิงที่มีนิสัยน่ารัก เชื่องไม่ดุร้าย
  • วัดตาลเอน สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๑๕ เป็นวัดที่มีฝูงค้างคาวแม่ไก่และนกน้ำนานาชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเช่น นกกาน้ำ นกเป็ดน้ำ นกกระยาง เป็นต้น แวดล้อมด้วยบรรยากาศร่มรื่นและธรรมชาติอันเงียบสงบ ด้านหลังของวัดติดกับคลองชลประทานมีฝูงปลาน้ำจืดอาศัยอยู่นานาชนิด การเดินทางไปวัดตาลเอนสามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย ไปจนถึงแยกอำเภอบางปะหันแล้วเลี้ยวขวา จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 3196 (สายบางปะหัน-บ้านแพรก-ลพบุรี) อีกประมาณ 5 กิโลเมตร ปากทางเข้าวัดจะอยู่ทางขวามือและเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 20 กิโลเมตร

อ้างอิง

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460

แหล่งข้อมูลอื่น