ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สันนิบาตชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suisse (คุย | ส่วนร่วม)
Suisse (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 63: บรรทัด 63:
* [[ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ]] ซึ่งต่อมากลายเป็น[[ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ]]ของสหประชาชาชาติ ทำหน้าที่พิจารณาคดีและตัดสินข้อพิพาทระหว่างประเทศ
* [[ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ]] ซึ่งต่อมากลายเป็น[[ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ]]ของสหประชาชาชาติ ทำหน้าที่พิจารณาคดีและตัดสินข้อพิพาทระหว่างประเทศ
* [[องค์การแรงงานระหว่างประเทศ]] มีผลงานโดดเด่นได้แก่ การรณรงค์ให้ทำงานแปดชั่วโมงต่อวัน การรณรงค์คัดค้านแรงงานเด็ก และสนับสนุนสิทธิของผู้หญิงในสถานที่ทำงาน
* [[องค์การแรงงานระหว่างประเทศ]] มีผลงานโดดเด่นได้แก่ การรณรงค์ให้ทำงานแปดชั่วโมงต่อวัน การรณรงค์คัดค้านแรงงานเด็ก และสนับสนุนสิทธิของผู้หญิงในสถานที่ทำงาน

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}


{{องค์การสหประชาชาติ}}
{{องค์การสหประชาชาติ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:24, 26 พฤศจิกายน 2554

สันนิบาตชาติ

League of Nations (อังกฤษ)
Société des Nations (ฝรั่งเศส)
Sociedad de Naciones (สเปน)
เครื่องหมายของLeague of Nations
เครื่องหมาย
แผนที่ประเทศสมาชิกสันนิบาต
แผนที่ประเทศสมาชิกสันนิบาต
สำนักงานใหญ่เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
ภาษาทางการอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน
การปกครององค์การระหว่างประเทศ
• เลขาธิการคนที่ 1
Sir James Eric Drummond
• เลขาธิการคนที่ 2
Joseph Aveno
• เลขาธิการคนที่ 3
Seán Lester
การก่อตั้ง
28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 (พ.ศ. 2462)
• ประชุมครั้งแรก
16 มกราคม ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463)
• สิ้นสภาพ
20 เมษายน ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490)

สันนิบาตชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1919 จากการประชุมสันติภาพที่ปารีส ของประเทศผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพื่อป้องกันสงครามและความขัดแย้งในอนาคต โดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยการเจรจาและการทูต รวมทั้งพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น สิทธิแรงงาน ทาส ยาเสพติด การค้าอาวุธ ซึ่งนับเป็นองค์การระหว่างประเทศองค์การแรกที่มีภารกิจในด้านนี้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากสันนิบาตไม่มีกองกำลังของตัวเอง จึงต้องพึ่งพาชาติมหาอำนาจในการดำเนินการตามคำสั่ง สันนิบาตชาติจึงล้มเหลวในการป้องกันสงครามโลกครั้งที่สอง และเมื่อสงครามจบถูกยุบไปและแทนที่ด้วยสหประชาชาติกระทั่งปัจจุบัน

ที่มา

การ์ดที่ระลึกในโอกาสก่อตั้งสันนิบาต คนในรูปคือประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ผู้เสนอให้ก่อตั้งองค์การนี้ขึ้น

แนวความคิดของประชาคมนานาชาติที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติมีมานานแล้ว ในปี ค.ศ. 1795 อิมมานูเอล คานต์ เสนอให้มีการก่อตั้งองค์การที่จะไกล่เกลี่ยของพิพาทและรักษาสันติภาพระหว่างประเทศในงานเขียนของเขา Perpetual Peace: A Philosophical Sketch[1] โดยเขาย้ำว่าแนวทางนี้ไม่ใช่การให้มีรัฐบาลปกครองโลก แต่ให้รัฐบาลของแต่ละประเทศเคารพพลเมืองของตน และต้อนรับชาวต่างประเทศในลักษณะที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน สันติภาพระหว่างประเทศก็จะเกิดขึ้น[2]

ต่อมาเมื่อเกิดสงครามนโปเลียนในศตวรรษที่ 19 ก็มีความพยายามร่วมมือกันเพื่อให้ยุโรปมีความมั่นคงยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เกิดอนุสัญญาเจนีวาขึ้นเพื่อมนุษยธรรมระหว่างสงคราม และอนุสัญญาเฮกซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์ของสงครามและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ และในปี ค.ศ. 1889 นักรณรงค์สันติภาพได้ก่อตั้งสมัชชาสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union: IPU) ขึ้นเพื่อสนับสนุนการเจรจาและการทูตในการแก้ไขข้อพิพาท[3]

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีกลุ่มอำนาจใหญ่สองกลุ่มในยุโรปที่ขัดแย้งกัน และเป็นสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งมีทหารเสียชีวิต 8.5 ล้านนาย ผู้บาดเจ็บ 21 ล้านคน และพลเรือนเสียชีวิต 10 ล้านคน สงครามนี้ได้ส่งผลกระทบในทุกด้านของชีวิต และทำให้เกิดกระแสต่อต้านสงครามทั่วโลก จนเกิดวลีเรียกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งว่า "สงครามเพื่อที่จะหยุดสงครามทั้งหมด" และมีการสืบสวนถึงสาเหตุอย่างถี่ถ้วน ซึ่งพบว่าเกิดจาก การแข่งขันทางอาวุธ พันธมิตร การทูตลับ และเสรีภาพในการเข้าร่วมสงครามของรัฐต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตน จึงมีการเสนอให้มีิองค์การระหว่างประเทศที่จะทำหน้าที่หยุดสงครามในอนาคตด้วยการลดอาวุธ การทูตอย่างเปิดเผย การตัดสินข้อพิพาท ความร่วมมือระหว่างชาติ การควบคุมสิทธิในการเข้าร่วมสงคราม และการลงโทษประเทศที่ทำผิดกฎ

บุคคลสำคัญที่มีส่วนทำให้สันนิบาตชาติเป็นความจริงขึ้นมาคือประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันแห่งสหรัฐอเมริกา การตั้งสันนิบาตชาติเป็นหนึ่งในหลักการสิบสี่ข้อของวิลสัน ซึ่งข้อ 14 ระบุว่า การรวมตัวกันของประชาชาติควรจะถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้พันธะที่แน่นอนเพื่อจุดประสงค์ที่สามารถให้ความช่วยเหลือกันได้กับทุกฝ่าย และให้การรับรองแก่รัฐที่มีขนาดเล็กกว่าเทียบเท่ากับตนเอง โดยการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้นมา[4] โดยในระหว่างการประชุมสันติภาพที่ปารีส ซึ่งมีสามประเทศใหญ่ผู้ชนะสงครามเข้าร่วมคือ อเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร แนวความคิดการก่อตั้งสันนิบาตชาติของวิลสันได้รับการยอมรับ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาแวร์ซายส์

กติกาสันนิบาตชาติถูกร่างขึ้นโดยคณะกรรมการพิเศษ โดยมี 44 ประเทศที่เซ็นยอมรับกติกานี้ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ดีแม้วิลสันจะประสบผลสำเร็จในการผลักดันให้สันนิบาตชาติเป็นจริงขึ้นมา ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีเดียวกัน แต่รัฐสภาอเมริกากลับมีมติไม่ยอมให้ประเทศอเมริกาเข้าร่วมสันนิบาต เนื่องจากเกรงว่าจะมีข้อผูกมัดตามมา ซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้สันนิบาตล่มในเวลาต่อมา

สันนิบาตชาติเปิดประชุมคณะมนตรีหกวันหลังจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์มีผลบังคับใช้ ต่อมาสำนักงานใหญ่ถูกย้ายไปกรุงเจนีวา และมีการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1920

ตราสัญลักษณ์

มีตราสัญลักษณ์กึ่งทางการเกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นดาวห้าเหลี่ยมสองดวงในรูปห้าเหลี่ยมสีน้ำเงิน สื่อความหมายถึงทวีปในโลก 5 ทวีป และเผ่าพันธุ์ 5 เผ่า (ขาว เหลือง น้ำตาล ดำ แดง) ตามที่เชื่อกันในสมัยนั้น ด้านบนเป็นชื่อภาษาอังกฤษ (League of Nations) ส่วนด้านล่างเป็นภาษาฝรั่งเศส ("Société des Nations")[5]

โครงสร้าง

องค์กรที่สำคัญมี 3 องค์กรคือ:

  • สมัชชา (Assembly) เป็นที่ประชุมใหญ่ขององค์การ ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทั้งหมด มีหน้าที่พิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลก
  • คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่ควบคุมสมัชชา ประกอบด้วยสมาชิกถาวร 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น และสมาชิกประเภทไม่ถาวรที่มาจากการเลือกตั้งอีก 4 ประเทศ ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ทั้งนี้มติของคณะมนตรีซึ่งเป็นมติสูงสุด จะต้องเป็นฉันทามติเท่านั้นจึงสามารถบังคับใช้ได้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้สันนิบาตล่มเมื่อญี่ปุ่นและอิตาลีกลับกลายเป็นผู้คุกคามสันติภาพเสียเองในเวลาต่อมา
  • สำนักงานเลขาธิการ (Secretary-General) เลขาธิการที่ได้รับเลือกมีหน้าที่จัดทำรายงาน รักษาเอกสาร อำนวยการวิจัย และประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ

และมีหลายหน่วยงานและคณะกรรมการ (commission) อื่น ๆ อีก ซึ่งบางองค์การเมื่อมีการยุบสันนิบาตชาติก็ได้ถ่ายโอนไปยังสังกัดของสหประชาชาติ

อ้างอิง

  1. คานต์, อิมมานูเอล. "Perpetual Peace: A Philosophical Sketch". Mount Holyoke College. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011. (อังกฤษ)
  2. คานต์, อิมมานูแอล (1795). "Perpetual Peace". สมาคมรัฐธรรมนูญ. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011. (อังกฤษ)
  3. "ก่อนจะเป็น "สันนิบาตชาติ"". สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011. (อังกฤษ)
  4. วิลสัน, วูดโรว์ (8 มกราคม 1918). "หลักการสิบสี่ข้อของประธานาธิบดีวิลสัน". The Avalon Project. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011. (อังกฤษ)
  5. "ภาษาและตราสัญลักษณ์". สหประชาชาติ. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011.


แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA