พราหมณ์กัมพูสวยัมภูวะ
พราหมณ์กัมพู สวยัมภูวะ | |
---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ | |
ครองราชย์ | ราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 |
ถัดไป | พระเจ้าศรุตวรมัน |
ประสูติ | กลิงคะ , อินเดีย |
คู่อภิเษก | พระนางเมรา |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์วรมัน (ราชสกุลกัมพุช) |
ราชวงศ์ | สุริยวงศ์ |
ศาสนา | ศาสนาพราหมณ์ฮินดู |
พราหมณ์กัมพูสวยัมภูวะ (เขมร: កម្វុស្វយម្ភុវ อักษรโรมัน: Kambu Svyambhuva หรือ Kambusvyambhuva) พราหมณ์กัมพูสวยัมภูวะ หรือกามพู สวายัมภูวะ
ประวัติ
[แก้]พราหมณ์กัมพูสวยัมภูวะเป็นบรรพบุรุษของเผ่ากัมพุชและกษัตริย์แห่งอริยะเทศ[1] พระองค์ได้รับการยกย่องและมีรายชื่ออยู่ท่ามกลางปราชญ์ นักรบ และผู้พิชิตชาวฮินดู ร่วมกับพระพรหมฤๅษีอคัสตยะ, พระเจ้านรสิงหวรมันที่ 1, พระเจ้าราเชนทรโจฬะที่ 1, พระเจ้าอโศกมหาราช, พระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ และคนอื่นๆในโศฺลก (สันสกฤต: श्लोक โรมัน: śloka หรือ shloka) ที่ 22 ของเพลงสวดจากวรรณคดีเอกัตมตาสโตตระ (สันสกฤต: स्तोत्र โรมัน: stotra) ในคัมภีร์พระเวท[2]
นักวิชาการอย่างศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ได้อ้างถึงคำจารึกของตำนานราชวงศ์กัมพูชาในศตวรรษที่ 10 ซึ่งพราหมณ์ฤาษีกัมพูสวยัมภูวะและนางอัปสร (สันสกฤต: अप्सराः อปฺสราะ, พหูพจน์ अप्सरसः อปฺสรสะ; บาลี: อจฺฉรา) ชื่อเมรา[3]ร่วมกันก่อตั้งราชวงศ์สุริยะของกัมพูชา (กัมพู-เมรา) ซึ่งเริ่มต้นด้วยพระเจ้าศรุตวรมันผู้ปกครองอาณาจักรเจนละและพระเจ้าเศรษฐวรมันพระโอรส ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เสนออีกว่าตำนานกัมพูสวยัมภูวะมีต้นกำเนิดในอินเดียตอนใต้ โดยเป็นรุ่นหนึ่งของตำนานการสร้างราชวงศ์กาญจีปัลลวะ[4][5] มีการอ้างว่าชื่อ กัมพูสวยัมภูวะ เป็นชื่อพ้องของ กัมโพช เป็นหัวหน้าพราหมณ์ที่ได้แต่งงานกับพระนางเมราซึ่งได้รับจากพระศิวะ[6] คำว่า กัมพู ถูกระบุว่ากร่อนเสียงมาจากภาษาสันสกฤตมาตรฐานคำว่า กัมโพช[7] นักวิชาการชาวอังกฤษอย่าง C. Lassen, S. Levi, Michael Witzel, J. Charpentier, A. Hoffman, A. B. Keith, A. A. Macdonell, H. W. Bailey และอีกหลายคนได้ย้อนรอยชื่อชาติพันธุ์คำว่า กัมโพชา พบอยู่ในชื่อราชวงศ์คำว่า กัมพูชาเดชาห์ (สันสกฤต: कम्बुजदेशः โรมัน: Kambujadeshah) ในจารึกภาษาเปอร์เซียโบราณ (Parskar Gryhamsutram) สะกดคำว่า กัมโพชา โดยทั่วไปเป็น กัมพุชา[8] มาร์กันเดยาปุราณะ (8.1-6) เช่นเดียวกับในศรีมัทเทวีภควัทปุราณะ (5.28.1-12) ฯลฯ กล่าวถึง กัมโพชา ว่าเป็นเผ่ากัมพู จารึกของพระเจ้าอโศกพระบรมราชโองการที่ 5 และ 13 ตั้งอยู่ที่เปศวาร์ เขียนคำว่า กัมโพช เป็น กัมโพย หรือ กัมโพ งานเขียนของชาวมุสลิมจำนวนมากในยุคกลางสะกดชื่อเผ่า กัมโพช เป็น กัมพู หรือไม่ก็ กัมโพ ในตำราและจารึกภาษาสันสกฤตและบาลีโบราณจะเห็นได้ชัดว่าศัพท์ กัมพู/กัมโพ เป็นรูปแบบที่กร่อนเสียงของ กัมพุช/กัมโพช และเกี่ยวข้องกับคำว่า กัมโพชา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sailendra Nath Sen (1999). Ancient Indian History and Civilization. ISBN 9788122411980. สืบค้นเมื่อ January 14, 2018.
- ↑ "Ekaatmataa Stotra" (PDF). HSS Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-01-16. สืบค้นเมื่อ January 15, 2018.
- ↑ Kenneth T. So. "Preah Khan Reach and The Genealogy of Khmer Kings" (PDF). Cambosastra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-08. สืบค้นเมื่อ March 2, 2017.
- ↑ George Coedès (1968). The Indianized States of South-East Asia. ISBN 9780824803681. สืบค้นเมื่อ January 14, 2018.
- ↑ Miriam T. Stark (2006). "9 Textualized Places, Pre-Angkorian Khmers and Historicized Archaeology by Miriam T. Stark - Cambodia's Origins and the Khok Thlok Story" (PDF). University of Hawaii. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 23, 2015. สืบค้นเมื่อ January 14, 2018.
- ↑ Indianised States of Southeast Asia, 1968, p 66, 47, George Coedes
- ↑ Ancient Kamboja, People and the Country, 1981, pp 359-60, Dr J. L. Kamboj.
- ↑ Parskar Gryhamsutram 2.1.23
ก่อนหน้า | พราหมณ์กัมพูสวยัมภูวะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ก่อตั้งรัฐใหม่ | พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ) (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 1) |
พระเจ้าศรุตวรมัน |