ปราก

พิกัด: 50°05′15″N 14°25′17″E / 50.08750°N 14.42139°E / 50.08750; 14.42139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราก

Praha
เมืองหลวงปราก
Hlavní město Praha
ตามเข็มจากด้านบน: ภาพทิวทัศน์มองเห็นปราสาทปราก, Malá Strana และ สะพานชาลส์; ย่าน Pankrác; มุมมองจากถนนใน Malá Strana; จัตุรัสเมืองเก่า; หอประตูของสะพานชาลส์; โรงละครแห่งชาติ
ตราราชการของปราก
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
"Praga Caput Rei publicae" (ละติน)[1]
"ปราก ประมุขแห่งสาธารณรัฐ"
คำขวัญอื่น ๆ ในอดีต  
แผนที่
ปรากตั้งอยู่ในประเทศเช็กเกีย
ปราก
ปราก
ที่ตั้งในประเทศเช็กเกีย
ปรากตั้งอยู่ในยุโรป
ปราก
ปราก
ที่ตั้งในทวีปยุโรป
พิกัด: 50°05′15″N 14°25′17″E / 50.08750°N 14.42139°E / 50.08750; 14.42139
ประเทศธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย
ก่อตั้งคริสต์ศตวรรษที่ 5
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีZdeněk Hřib (ไพเรตส์)
พื้นที่[3]
 • เมืองหลวง496 ตร.กม. (192 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง298 ตร.กม. (115 ตร.ไมล์)
ความสูงจุดสูงสุด399 เมตร (1,309 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด172 เมตร (564 ฟุต)
ประชากร
 (2022-01-01)[5]
 • เมืองหลวง1,275,406 คน
 • ความหนาแน่น2,600 คน/ตร.กม. (6,700 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2,709,418[4] คน
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
รหัสไปรษณีย์100 00 – 199 00
รหัส ISO 3166CZ-10
ทะเบียนพาหนะA, AA – AZ
จีอาร์พี (เฉลี่ย)[6]2019
 – รวม60 พันล้านยูโร
 – ต่อหัว46,400 ยูโร
เอชดีไอ (2019)0.968[7]สูงมาก · อันดับที่ 1
เว็บไซต์www.praha.eu

ปราก (อังกฤษ: Prague, ออกเสียง: /prɑːɡ/) หรือ ปราฮา (เช็ก: Praha, ออกเสียง: [ˈpraɦa] ( ฟังเสียง); เยอรมัน: Prag; ละติน: Praga) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดในประเทศเช็กเกีย และเป็นเมืองใหญ่สุดอันดับที่ 13 ของสหภาพยุโรป[8] อดีตราชธานีของโบฮีเมีย ตั้งอยู่บนแม่น้ำเวิลตาวา และมีประชากร 1.3 ล้านคน ส่วนหากรวมเขตนครหลวงเข้าไปแล้วจะมีประชากรราว 2.7 ล้านคน[4]

ปรากเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของยุโรปกลางที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์อันรุ่มรวย เมืองตั้งขึ้นในยุคโรมาเนสก์ และเฟื่องฟูมากในสมัยกอธิก, เรนเนสซองส์ และ บาโรก ในประวัติศาสตร์ ปรากเคยเป็นราชธานีของอาณาจักรโบฮีเมีย และสถานที่พำนักหลักของจักรพรรดิบางพระองค์ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เช่น ชาลส์ที่ 4 (ครองราชย์ 1346–1378)[9] ปรากเคยเป็นเมืองสำคัญต่อราชวงศ์ฮาพส์บวร์คและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รวมถึงเป็นสถานที่สำคัญต่อการเกิดการปฏิวัติโบฮีเมียและโปรเตสแตนต์, สงครามสามสิบปี และอดีตเมืองหลวงของรัฐเช็กโกสโลวาเกียในยุคสงครามโลกทั้งสองครั้งจนถึงสมัยภายใต้ปกครองของคอมมิวนิสต์[10]

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของปรากได้แก่ปราสาทปราก, สะพานชาร์ลส์, จัตุรัสเมืองเก่ากับนาฬิกาดาราศาสตร์ปราก, ย่านชาวยิว, เขา Petřín และ Vyšehrad นับตั้งแต่ปี 1992 ย่านประวัติศาสตร์กลางเมืองปรากได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Václav Vojtíšek, Znak Hlavního Města Prahy / Les Armoires de la Ville de Prague เก็บถาวร 17 เมษายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1928), cited after nakedtourguideprague.com เก็บถาวร 9 ตุลาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2015).
  2. Milan Ducháček, Václav Chaloupecký: Hledání československých dějin (2014), cited after abicko.avcr.cz เก็บถาวร 16 เมษายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. "Demographia World Urban Areas" (PDF). Demographia.com. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 18 November 2013.
  4. 4.0 4.1 "Population on 1 January by five-year age group, sex and metropolitan regions". Eurostat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2020. สืบค้นเมื่อ 21 February 2020.
  5. "Population of Municipalities – 1 January 2022". Czech Statistical Office. 2022-04-29.
  6. "GDP Report". ec.europa.eu. 28 February 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2021. สืบค้นเมื่อ 13 March 2021.
  7. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 10 August 2018.
  8. "Czech Republic Facts". World InfoZone. สืบค้นเมื่อ 14 April 2011.[แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ]
  9. "Czech Republic". Worldatlas.com. สืบค้นเมื่อ 4 December 2011.
  10. "Short History of Bohemia, Moravia and then Czechoslovakia and Czech Republic". hedgie.eu. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2016. สืบค้นเมื่อ 7 April 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]