ประสาท พงษ์ศิวาภัย
นายกองเอก ประสาท พงษ์ศิวาภัย (เกิด 18 กันยายน พ.ศ. 2489) ประธานกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คู่สมรส นางวารุณี พงษ์ศิวาภัย
นายประสาท จบการศึกษาจาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2512 และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2517 ปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2536 และอบรมที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 ปี พ.ศ. 2542 [1]
นายประสาท รับราชการกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม, จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดพิจิตร รองอธิบดีกรมการปกครอง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย
ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ได้รับพระราชทานโปรดเกล้ายศ กองอาสารักษาดินแดน เป็น นายกองเอก[2]
ก่อนหน้านี้ นายประสาท พงษ์ศิวาภัย ลงสมัครคัดเลือก เป็น ป.ป.ช. และคาดหวังว่าจะได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมวุฒิสภา ต่อมาได้รับแต่งตั้งจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นกรรมการ ป.ป.ช. ในปี พ.ศ. 2549[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ฐานข้อมูลประวัติ ประสาท พงษ์ศิวาภัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-10. สืบค้นเมื่อ 2006-09-25.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
- ↑ ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๔ กันยายน ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๘, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓๘๓, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2489
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
- ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์