ข้ามไปเนื้อหา

น้ำมันกัญชง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

น้ำมันกัญชง (อังกฤษ: cbd oil, hemp oil) หรือ น้ำมันเมล็ดกัญชง (hempseed oil) เป็นน้ำมันพืชสกัดจากเมล็ดกัญชง โดยที่สกัดเย็นและไม่ทำให้บริสุทธิ์เพิ่มจะมีสีคล้ำจนถึงสีเขียวใส ๆ มีรสชาติออกจะคล้ายถั่ว สียิ่งคล้ำเท่าไร รสชาติก็จะออกคล้าย ๆ หญ้ายิ่งเท่านั้น ไม่ควรสับสนน้ำมันนี้กับน้ำมันกัญชา (สกุล Cannabis) ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอลจากดอกกัญชา ซึ่งนักวิชาการบางท่าน[1] อ้างว่ามีคุณสมบัติทางการแพทย์[2]

รายละเอียด

[แก้]

น้ำมันบริสุทธิ์จะใสและไร้สี จืด และไม่มีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีตามธรรมชาติ มักใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ ในทางอุตสาหกรรม น้ำมันใช้ทำน้ำมันหล่อลื่น สี หมึก เชื้อเพลิง และพลาสติก และยังใช้เพื่อผลิตสบู่ แชมพู และผงซักฟอกอีกด้วย น้ำมันมีอัตราส่วนกรดไขมันจำเป็นโอเมกา-6 ต่อโอเมกา-3 ที่ 3:1[3] สามารถใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตไบโอดีเซลปริมาณมาก ๆ[4]

การผลิต

[แก้]

น้ำมันกัญชงผลิตมาจากกัญชง (Cannabis sativa) พันธุ์ต่าง ๆ ที่มีเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC) น้อย ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่พบในพืชพวกกัญชาโดยในน้ำมันกัญชงจะพบสาร CBD ที่ไม่มีฤทธิ์กระตุ้นต่อจิตและประสาทในจำนวนมากกว่า[5] กระบวนการผลิตปกติจะเริ่มด้วยการทำความสะอาดดอย่างดี (99.99%) ก่อนที่จะบดอัดเมล็ด เพราะส่วนอื่น ๆ ของพืชที่ติดกับเมล็ดอาจมีสาร THC

วิธีการผลิตปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศแคนาดา ได้ลด THC เรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 1998[6] การตรวจหา THC ในตัวอย่างน้ำมันกัญชงแคนาดาแสดงว่า THC มีน้อยกว่าระดับที่ตรวจจับได้ที่ 4 ส่วนในล้านส่วน (ppm) หรือ 4 มก./กก. โดยกฎหมายแคนาดาบังคับให้มีในอาหารน้อยกว่า 4 ppm[7] ยุโรปบางประเทศมีจุดจำกัดที่ 5 ppm หรือตรวจจับไม่ได้เลย แต่บางประเทศก็ไม่มีข้อจำกัดเช่นนี้

สารอาหาร

[แก้]

ประมาณ 49% ของเมล็ดโดยน้ำหนักเป็นน้ำมันที่รับประทานได้[8] 76% จากนั้นเป็นกรดไขมันจำเป็น คือ กรดไขมันโอเมกา-6 รวมทั้งกรดลิโนเลอิก (LA, 54%) และกรดลิโนเลนิกแกมมา (GLA, 3%), กรดไขมันโอเมกา-3 คือกรดลิโนเลนิกอัลฟา (ALA, 17%) นอกเหนือไปจากไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว (5-11%) และ stearidonic acid (2%)[9] น้ำมันเมล็ดกัญชงมีไขมันอิ่มตัว 5-7%[8][9] เมื่อเทียบกับน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารอื่น ๆ น้ำมันกัญชงมีกรดไขมันอิ่มตัวน้อย แต่ก็ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี/กรัมเหมือนน้ำมันอื่น ๆ[9]

น้ำมันกัญชงมีจุดก่อควัน (smoke point) ค่อนข้างต่ำ จึงไม่เหมาะสำหรับใช้ผัด/ทอด ดังนั้น จึงใช้โดยหลักเพื่อรับประทานหรือเป็นอาหารเสริม

เปรียบเทียบกับน้ำมันพืชอื่น ๆ

[แก้]
น้ำมันพืช[10][11]
ประเภท การ
แปรรูป
กรดไขมัน
อิ่มตัว
กรดไขมันไม่อิ่มตัว
มีพันธะคู่เดี่ยว
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ จุดก่อควัน
มีพันธะเดียว
รวม[10]
กรดโอเลอิก
(ω-9)
มีหลายพันธะ
รวม[10]
กรดลิโนเลนิก
(ω-3)
กรดลิโนเลอิก
(ω-6)
อาโวคาโด[12] 11.6 70.6 13.5 1 12.5 249 องศาเซลเซียส (480 องศาฟาเรนไฮต์)[13]
คาโนลา[14] 7.4 63.3 61.8 28.1 9.1 18.6 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[15]
มะพร้าว[16] 82.5 6.3 6 1.7 175 องศาเซลเซียส (347 องศาฟาเรนไฮต์)[15]
ข้าวโพด[17] 12.9 27.6 27.3 54.7 1 58

232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[18]

เมล็ดฝ้าย[19] 25.9 17.8 19 51.9 1 54 216 องศาเซลเซียส (420 องศาฟาเรนไฮต์)[18]
เมล็ดแฟลกซ์[20] 9.0 18.4 18 67.8 53 13

107 องศาเซลเซียส (225 องศาฟาเรนไฮต์)

เมล็ดองุ่น 10.5 14.3 14.3 74.7 - 74.7 216 องศาเซลเซียส (421 องศาฟาเรนไฮต์)[21]
น้ำมันกัญชง[22] 7.0 9.0 9.0 82.0 22.0 54.0 166 องศาเซลเซียส (330 องศาฟาเรนไฮต์)[23]
มะกอก[24] 13.8 73.0 71.3 10.5 0.7 9.8 193 องศาเซลเซียส (380 องศาฟาเรนไฮต์)[15]
ปาล์ม[25] 49.3 37.0 40 9.3 0.2 9.1 235 องศาเซลเซียส (455 องศาฟาเรนไฮต์)
ถั่วลิสง[26] 20.3 48.1 46.5 31.5 31.4 232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[18]
คำฝอย[27] 7.5 75.2 75.2 12.8 0 12.8 212 องศาเซลเซียส (414 องศาฟาเรนไฮต์)[15]
ถั่วเหลือง[28] 15.6 22.8 22.6 57.7 7 51 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[18]
เมล็ดทานตะวัน (มาตรฐาน, 65% ไลโนเลอิก)[29] 10.3 19.5 19.5 65.7 0 65.7
เมล็ดทานตะวัน (<60% ไลโนเลอิก)[30] 10.1 45.4 45.3 40.1 0.2 39.8

227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[18]

เมล็ดทานตะวัน (>70% โอเลอิก)[31] 9.9 83.7 82.6 3.8 0.2 3.6

227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[18]

เมล็ดฝ้าย[32] ไฮโดรจีเนต 93.6 1.5 0.6 0.3
ปาล์ม[33] ไฮโดรจีเนต 88.2 5.7 0
ถั่วเหลือง[34] ไฮโดรจีเนตบางส่วน 14.9 43.0 42.5 37.6 2.6 34.9
ค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของน้ำหนักไขมันรวม

ใช้เคลือบ/ขัดเงาไม้

[แก้]

น้ำมันกัญชงเป็นน้ำมันชักแห้ง (drying oil) คือสามารถกลายเป็นพอลิเมอร์ที่แข็ง เพราะคุณสมบัตินี้ จึงสามารถใช้โดยตนเองหรือผสมกับน้ำมัน เรซิน และตัวทำละลายอื่น ๆ เป็นตัวเคลือบหรือตัวชักเงาไม้ เป็นสารประสานสีในสีน้ำมัน เป็นสารทำให้ยืดหยุ่น (plasticizer) และทำให้แข็งในพัตตี คือสามารถใช้คล้ายกับน้ำมันลินซีดและน้ำมันตังอิ๊ว (tung oil)[35]

คลังภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "THC, Laboratory/Animal/Preclinical Studies, Anti-tumor Effects". National Cancer Institute at the National Institutes of Health. April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-03.
  2. "Hemp-Oil Medicine". High Times. November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-12. สืบค้นเมื่อ 2013-12-07.
  3. Callaway, J. C. (2004). "Hempseed as a nutritional resource: An overview". Euphytica. 140: 65–72. doi:10.1007/s10681-004-4811-6. สืบค้นเมื่อ 2014-01-20.
  4. Das, Agua (1997-11-16). "Hemp Oil Fuels & How to Make Them". HempFarm.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-29. สืบค้นเมื่อ 2006-11-18.
  5. "ทำความรู้จักกับน้ำมันกัญชงให้มากขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง". น้ำมันกัญชงและน้ำมันกัญชารักษาโรค.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. Holler, JM และคณะ (2008). "delta-9-Tetrahydrocannabinol Content of Commercially Available Hemp Products". Journal of Analytical Toxicology. 32: 428–432.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. "Cannabis Hemp THC in the Food-Cosmetic Supply". drugwatch.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-21. สืบค้นเมื่อ 2018-12-20.
  8. 8.0 8.1 "Basic Report: 12012, Seeds, hemp seed, hulled". USDA National Nutrient Database. April 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-22. สืบค้นเมื่อ 2019-02-22.
  9. 9.0 9.1 9.2 Sanders, Tom; Lewis, Fioa (2009-02-26). "King's College Review of Nutritional Attributes of Cold Pressed Hemp Seed Oil" (PDF). Nutritional Sciences Division, King’s College, London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-26.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 10.2 "US National Nutrient Database, Release 28". United States Department of Agriculture. May 2016. All values in this column are from the USDA Nutrient database unless otherwise cited.
  11. "Fats and fatty acids contents per 100 g (click for "more details") example: avocado oil; user can search for other oils". Nutritiondata.com, Conde Nast for the USDA National Nutrient Database, Standard Release 21. 2014. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017. Values from Nutritiondata.com (SR 21) may need to be reconciled with most recent release from the USDA SR 28 as of Sept 2017.
  12. "Avocado oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  13. What is unrefined, extra virgin cold-pressed avocado oil?, The American Oil Chemists’ Society
  14. "Canola oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Katragadda, H. R.; Fullana, A. S.; Sidhu, S.; Carbonell-Barrachina, Á. A. (2010). "Emissions of volatile aldehydes from heated cooking oils". Food Chemistry. 120: 59. doi:10.1016/j.foodchem.2009.09.070.
  16. "Coconut oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  17. "Corn oil, industrial and retail, all purpose salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 Wolke, Robert L. (16 May 2007). "Where There's Smoke, There's a Fryer". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
  19. "Cottonseed oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  20. "Linseed/Flaxseed oil, cold pressed, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  21. Garavaglia J, Markoski MM, Oliveira A, Marcadenti A (2016). "Grape Seed Oil Compounds: Biological and Chemical Actions for Health". Nutr Metab Insights. 9: 59–64. doi:10.4137/NMI.S32910. PMC 4988453. PMID 27559299.
  22. "Efficacy of dietary hempseed oil in patients with atopic dermatitis". Journal of Dermatological Treatment. 2005. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
  23. https://www.veghealth.com/nutrition-tables/Smoke-Points-of-Oils-table.pdf
  24. "Olive oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  25. "Palm oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  26. "Oil, peanut". FoodData Central. usda.gov.
  27. "Safflower oil, salad or cooking, high oleic, primary commerce, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  28. "Soybean oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  29. "Sunflower oil, 65% linoleic, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
  30. "Sunflower oil, less than 60% of total fats as linoleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  31. "Sunflower oil, high oleic - 70% or more as oleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  32. "Cottonseed oil, industrial, fully hydrogenated, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  33. "Palm oil, industrial, fully hydrogenated, filling fat, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  34. "Soybean oil, salad or cooking, (partially hydrogenated), fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  35. "Badger Wood Oil - Why Hemp?". badger-canoe-paddles.blogspot.ca. 2011-06-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-13. สืบค้นเมื่อ 2018-04-30.